DSpace Repository

การพัฒนารายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิไล วงศ์สืบชาติ
dc.contributor.author ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว
dc.date.accessioned 2018-08-28T08:12:50Z
dc.date.available 2018-08-28T08:12:50Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59355
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 en_US
dc.description.abstract การเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยและการเปลี่ยนระบบการผลิตและการออกอากาศของสื่อโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิทัลของประเทศไทยทำให้สามารถใช้สื่อโทรทัศน์เพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และบทบาทของสื่อโทรทัศน์ในการเผยแพร่ความรู้สำหรับผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความต้องการและพฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาแนวทางในการกำหนดนโยบายการผลิตรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้แนวคิด “การสูงวัยเชิงรุก” เป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ดังนี้ 1) สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง และวิพากษ์รายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุจำนวน 15 ตอนโดยสุ่มแบบง่ายจากรายการโทรทัศน์ 5 รายการที่ออกอากาศในช่วงปี พ.ศ.2557-2558 2) สำรวจความต้องการและพฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ โดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามกับผู้สูงอายุตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน ที่สุ่มแบบง่ายหลายขั้นตอน และ 3) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 11 คน เพื่อทราบแนวทางในการกำหนดนโยบายเพื่อผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเทศไทยมีสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล 48 สถานีทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์ทั้งระบบมีสถานีรวมทั้งสิ้น 768 สถานี ในจำนวนนี้มีรายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุโดยตรงน้อยมาก คือ มี 5 รายการจาก 4 สถานี 2) รายการที่มีอยู่มีบทบาทส่งเสริมแนวคิดการสูงวัยเชิงรุก แต่ขาดมิติด้านความลึก และภาพลักษณ์ของผู้สูงอายุที่ปรากฏในแต่ละรายการแตกต่างกันตามนโยบายของเจ้าของปัจจัยการผลิต โดยมีวยาคติต่อผู้สูงอายุในหลายลักษณะ 3) ผู้สูงอายุตัวอย่างรู้จักและรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุในสัดส่วนที่ต่ำ เพราะไม่รู้ว่ามีรายการดังกล่าว แต่ส่วนใหญ่ต้องการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุทุกวัน โดยเฉพาะรายการที่เกี่ยวกับสุขภาพ และต้องการมีส่วนร่วมในรายการ ขณะเดียวกันก็ให้ความสนใจกับการเชื่อมโยงรายการเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น สื่อสังคม เพื่อความสะดวกในการรับชมและในการมีส่วนร่วมในรายการ และ 4) ผู้ให้ข้อมูลหลักเห็นว่าการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุต้องกำหนดเป็นวาระเร่งด่วน โดยให้บรรจุไว้ในผังรายการของทุกสถานีโทรทัศน์ และนอกจากจะมีเนื้อหาการสูงวัยเชิงรุก ต้องมีเนื้อหาที่เชิดชูคุณค่าของผู้สูงอายุ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของประชากรทุกรุ่นวัย งานวิจัยนี้ยังมีข้อเสนอแนะและเสนอแนวทางการผลิตรายการโทรทัศน์ต้นแบบ เพื่อให้สื่อโทรทัศน์ของไทยมีทั้งบทบาทนำและเสริมย้ำการสูงวัยเชิงรุก เพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ไว้ด้วย en_US
dc.description.abstractalternative Thailand’s shift towards an aging society and the transition of the country’s content production and television broadcasting towards digitalization will enable the utilization of the television media more effectively. The objectives of this study are 1) to examine conditions and roles of television broadcast in disseminating knowledge to older persons; 2) to study needs and behaviors of older persons in watching television programs which directed towards them; and 3) to investigate directions of policy-making for producing television programs that are suitable for older persons by implementing “active aging" concept in order to collect the following quantitative and qualitative data. 1) Surveying relevant documents and criticizing 15 episodes of television programs which were randomly selected from five television programs aired during 2014 and 2015. 2) Exploring needs and behaviors of older persons in watching senior-targeted television programs through a survey interviewing 420 older persons in Bangkok which were gathered by random selection. 3) Conducting in-depth interviews with 11 key informants in order to gauge the direction of policy-making regarding the productions of television programs targeted at older persons. The study shows following results: 1) The television industry in Thailand has a total of 768 television broadcasting stations, out of these, 48 are digital television broadcasting stations. Among these stations, television programs targeted at older persons are scarce. There are only five such television programs from four stations. 2) The existing television programs promote the active aging concept, but they are inadequate in presenting its dimensions in depth. However, the image of older persons shows on various television programs vary depending on media owners, and also reflect ageism. 3) Proportion of the respondents who know of the targeted programs is low because they do not know that such programs exist. However, most of the respondents want to watch television programs which target towards older persons every day, especially those related to health and also want to participate in interactive programs. Many respondents are also interested in connecting television programs with innovative technologies, such as social media, to facilitate older persons in watching such television programs and in making their response to the programs. 4) The key informants believe that the production of television content for older persons should be given high priority in the programs run by each television channel. The programs should also include content that raises the value of older persons in order to promote peaceful coexistence among all age groups. This research also proposes a direction for the production of television programs along with model prototypes for Thai television networks to implement the concept of active aging for the purpose of building a complete knowledge base to welcome the completed aged society. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.551
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ
dc.subject รายการโทรทัศน์
dc.subject Older people
dc.subject Television programs
dc.title การพัฒนารายการโทรทัศน์สำหรับผู้สูงอายุเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ en_US
dc.title.alternative The development of television programs for older persons and completed aged society en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Wilai.W@Chula.ac.th,Wilai.W@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.551


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record