DSpace Repository

การศึกษาปริจเฉทการสนทนาระหว่างจิตแพทย์และผู้ป่วยนอกในการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor เทพี จรัสจรุงเกียรติ
dc.contributor.author สกาวเดือน ซาธรรม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-09-14T05:05:47Z
dc.date.available 2018-09-14T05:05:47Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59434
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริจเฉทการสนทนาระหว่างจิตแพทย์และผู้ป่วยนอกในการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้น โดยมีจุดประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษา 1) โครงสร้างและองค์ประกอบในปริจเฉทการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้นตามแนวคิดสนทนาวิเคราะห์ 2) กลวิธีทางภาษาในปริจเฉทการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้นของจิตแพทย์ ผู้ป่วยนอก และญาติผู้ป่วย 3) ปัจจัยที่จิตแพทย์คำนึงถึงในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยนอกและญาติผู้ป่วยในปริจเฉทการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้น ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเก็บข้อมูลการบันทึกเสียงและถอดเสียงเป็นตัวอักษรตามแนวคิดสนทนาวิเคราะห์ในสถานการณ์การตรวจรักษาโรคทางจิตเวชของจิตแพทย์ 10 คน จากโรงพยาบาลทางจิตเวช 5 แห่งในประเทศไทย ได้ขออนุญาตบันทึกเสียงกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน เกณฑ์การคัดเข้าของจิตแพทย์ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ กลุ่มข้อมูลผู้ป่วยนอกและญาติผู้ป่วยมีเกณฑ์การคัดเข้าด้วยความสมัครใจเช่นกันโดยจิตแพทย์ระบุอาการของโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และภาวะเครียด อายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 60 ปี ไม่จำกัดเพศหรือสถานภาพ โดยสมมติชื่อ-สกุล สถานที่ วันเวลา รวมทั้งสิ้น 84 สถานการณ์ ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างหลักในการสนทนาประกอบด้วย การเปิดการสนทนา การดำเนินการสนทนา และการปิดการสนทนา ขั้นตอนการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้นในผู้ป่วยนอกรายใหม่จะประกอบด้วย 10 ขั้นตอน คือ การเปิดการสนทนา การนำเข้าสู่วัตถุประสงค์ การสอบถามอาการสำคัญและการซักประวัติ การสอบถามรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับอาการสำคัญหรือการตรวจสภาพจิต การสอบถามสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค การแจ้งการวินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษาและการใช้ยา การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม การนัดหมาย การปิดการสนทนา จุดเด่นอยู่ที่การแจ้งผลการวินิจฉัยแยกโรคเพราะจะพบในโครงสร้างการสนทนากับผู้ป่วยรายใหม่เท่านั้น ขั้นตอนการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้นในผู้ป่วยนอกรายเก่าที่อาการดีขึ้นจะประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ การเปิดการสนทนา การนำเข้าสู่วัตถุประสงค์ การสอบถามอาการสำคัญและการซักประวัติ การสอบถามรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับอาการสำคัญหรือการตรวจสภาพจิต การให้ผู้ป่วยประเมินตนเองและสอบถามผลข้างเคียงจากการใช้ยา การทบทวนวิธีการรักษาและการปรับยา การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม การนัดหมาย และการปิดการสนทนา ขั้นตอนการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้นในผู้ป่วยนอกรายเก่าที่อาการไม่ดีขึ้นจะประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คล้ายกับผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแต่มีความแตกต่างที่ขั้นตอนการสอบถามสาเหตุที่อาการไม่ดีขึ้นและการสอบถามชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โครงสร้างในการสนทนากับผู้ป่วยรายเก่าจะรวดเร็วกว่าผู้ป่วยรายใหม่ บางสถานการณ์ผู้ป่วยรายเก่าเป็นฝ่ายที่สามารถเปิดและปิดการสนทนาได้ คู่วัจนกรรมในการสนทนาพบ 7 รูปแบบ คือ การทักทาย-การตอบรับคำทักทาย การถาม-การตอบ การอธิบาย-การตอบรับการอธิบาย การแนะนำ-การตอบรับการแนะนำ การสั่ง-การตอบรับคำสั่ง การเจรจาต่อรอง-การตอบรับ/ปฏิเสธการเจรจาต่อรอง และการกล่าวลา-การตอบการกล่าวลา โดยพบคู่วัจนกรรมการถาม-การตอบมากที่สุด จุดเด่นคือคู่วัจนกรรมการต่อรอง-การตอบรับการต่อรอง วัตถุประสงค์ในการใช้กลวิธีทางภาษาของจิตแพทย์ประกอบด้วย กลวิธีที่ใช้เพื่อสอบถามและยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ให้ข้อมูลกับผู้ป่วยหรือญาติ ให้ผู้ป่วยหรือญาติปฏิบัติตาม ให้ผู้ป่วยหรือญาติคลายความวิตกกังวล สร้างความเป็นกันเองกับผู้ป่วยหรือญาติ จุดเด่นของกลวิธีทางภาษาของจิตแพทย์ คือ การกล่าวซ้ำ การย้ำคำถามเดิม วัตถุประสงค์ในการใช้กลวิธีทางภาษาของผู้ป่วยประกอบด้วย กลวิธีที่ใช้เพื่อให้ข้อมูลประเด็นหลัก ยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ปิดบังข้อมูล ป้องกันตนเอง สร้างความเป็นกันเอง โน้มน้าวใจให้จิตแพทย์ยินยอม จุดเด่นของกลวิธีทางภาษาของผู้ป่วย คือ กลวิธีการขยายความ การใช้เรื่องเล่า และการกล่าวซ้ำ วัตถุประสงค์ในการใช้กลวิธีทางภาษาของญาติประกอบด้วย กลวิธีที่ใช้เพื่อให้ข้อมูลประเด็นหลัก สอบถามและยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ปิดปังข้อมูล ป้องกันตนเอง สร้างความเป็นกันเอง โน้มน้าวใจให้จิตแพทย์ยินยอม ดำเนินการสนทนาให้ต่อเนื่อง และต้องการให้ผู้ร่วมการสนทนาปฏิบัติตาม จุดเด่นของกลวิธีทางภาษาของญาติ คือ การขยายความและการใช้เรื่องเล่า ปัจจัยที่จิตแพทย์คำนึงถึงในการปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยนอกและญาติผู้ป่วยในปริจเฉทการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้นสรุปว่า พบทั้งหมด 4 ปัจจัย คือ อาการของโรค อายุ สถานภาพ และเพศ ปัจจัยสำคัญประการแรกที่จิตแพทย์คำนึงถึงคืออาการของโรคเพราะมีผลต่อการตรวจรักษาและการวินิจฉัยผู้ป่วย
dc.description.abstractalternative This research aims to study the conversational discourse between psychiatrists and out-patients in primary psychiatric consultation. The research proposes were to study 1) structure and elements of conversational discourse on primary psychiatric consultation based on conversation analysis(CA), 2) language strategy in conversational discourse in primary psychiatric consultation of psychiatrists, out-patients, and patients relatives, 3) factors that considered by psychiatrists in the interaction with out-patients and patients’ relatives in primary psychiatric consultation. Research data was collected from voice records and transcribed based on CA in 84 situations of 10 psychiatrists from 5 psychiatric hospitals in Thailand, the criteria for psychiatrist admission depends on volunteering. The voice recording was permitted by related persons by written notice and was approved by ethnic committee in human research. For out-patients and relatives were selected by volunteering with anxiety disorder, depression, and stress disorder identified, their age from 20 years up to 60 years with no specified gender or marital status. All of the participants’ name, family name, place, date, and time were made up. The research result found out that the core structure of conversation included conversation starting, proceeding, and closing. The primary psychiatric consultation for new out-patients consisted of 10 steps included starting conversation, asking for purpose of visiting, inquiring on symptoms and medical records, inquiring on related information on symptoms or metal checking, inquiring on causes or factors of disease, disease diagnosis, treatment and medicine planning, let a patient make an inquiry, appointment making, and farewell or conversation ending. The prominent point was a step of disease diagnosis because it will be found in conversation structure with new out-patients only. For the primary psychiatric consultation for old out-patients who have improved symptoms consisted of 9 steps included starting conversation, purpose of visiting mentioning, inquiring on symptoms and medical records, inquiring on major symptoms related information or metal checking, making a self-evaluation and inquiring on medicine side-effect by patient, treatment reviewing and medicine adjustment, let a patient make an inquiry, appointment making, and farewell or conversation ending. The primary psychiatric consultation for old out-patients who has no improved symptoms also consisted of 9 steps almost similar to improved patients but the difference was inquiring upon causes of unimproved symptoms and daily life of patients. The conversation structure of old patients will be proceeded faster than new patients. Moreover, conversation between psychiatrists and patients could be started by old patients. The research had found 7 of adjacency pairs included greeting and responding, asking and answering, explanation and responding, advising and responding, ordering and responding, negotiation and accepting / declination, and farewell and responding. The research found that highest amount adjacency pair was greeting and responding and the dominant adjacency pair was negotiation and accepting. The language strategies of psychiatrists on purposely meeting were used for correct information inquiring and confirming, information providing for patients or relatives to make them follow or relief and being friendly with patients or relatives. The prominent of psychiatrists’ language strategies included repetition, return questioning and questions repeating. For the language strategies of patients on meeting were used for main idea providing, correct information confirming, information minimizing, self-protection, being friendly and psychiatrists convincing for a permission. The prominent of patients’ language strategies included information expansion, storytelling and repetition. The language strategies of patients’ relatives on meeting were used for main idea providing, correct information inquiring and confirming, information minimizing, self-protection, being friendly and psychiatrists convincing for a permission, conversation continuity, and needed conversation participants to follow. The prominent of patients’ relatives’ language strategies included information expanding and storytelling. Factors which perceived by psychiatrists for interaction with out-patients and relatives consisted 4 variables included symptoms, age, status and gender, the key factor that psychiatrists had to consider first was symptoms because this could affect on patients’ diagnosis and treatment.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1155
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ผู้ป่วยจิตเวช
dc.subject การสัมภาษณ์ทางจิตเวชศาสตร์
dc.subject Psychotherapy patients
dc.subject Interviewing in psychiatry
dc.title การศึกษาปริจเฉทการสนทนาระหว่างจิตแพทย์และผู้ป่วยนอกในการตรวจรักษาโรคทางจิตเวชเบื้องต้น
dc.title.alternative A study of conversational discourse between psychiatrists and out-patients in primary psychiatric consultation
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ภาษาไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Tepee.J@Chula.ac.th,tepeesecret@hotmail.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.1155


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record