Abstract:
1. ศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการประยุกต์ตัวแบบ ที่ใช้การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิโดยไม่แยกองค์ประกอบในการพยากรณ์ และตัวแบบที่ใช้การแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลง อัตราการหมุนของสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิ และการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไรในการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบที่ใช้การแยกการเปลี่ยนแปลง อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิ เป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไร ในการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไร และตัวแบบที่ใช้การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทน ต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิโดยไม่แยกองค์ประกอบในการพยากรณ์ และ 3. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบที่ใช้การแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทน ต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุน ของสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิ และการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไรในการพยากรณ์ความสามารถ ในการทำกำไรและตัวแบบที่ใช้การแยกกำไรเป็นกำไรส่วนเป็นเงินสด และกำไรส่วนที่คงค้างในการพยากรณ์ การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยแบบเชิงพหุ (Multiple regression analysis) เพื่อทดสอบถึงการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไร ของตัวแปรที่อยู่ในตัวแบบการพยากรณ์ และใช้ค่า Vuong (1989) Z-statistic เพื่อเปรียบเทียบตัวแบบต่างๆ ผลการศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2541-2546 พบว่า ทั้งตัวแบบที่ใช้การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิโดยไม่แยกองค์ประกอบ และตัวแบบที่ใช้การแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไร สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไรได้ แสดงวาคุณภาพข้อมูลที่ได้จากงบการเงินของประเทศไทยมีความใกล้เคียงกับต่างประเทศ นอกจากนี้ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า การแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไร จะช่วยทำให้การพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิโดยไม่แยกองค์ประกอบในการพยากรณ์ จึงเป็นการสนับสนุนว่า การแยกการเปลี่ยนอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิจะให้ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินของกิจการได้ชัดเจนกว่าการไม่แยกองค์ประกอบ และตัวแบบที่แยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไรจะทำให้การพยากรณ์มีความถูกต้องมากขึ้น เมื่อเทียบกับตัวแบบที่แยกกำไรเป็นกำไรส่วนที่เป็นเงินสดและกำไรส่วนที่คงค้าง แสดงว่าการแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไร จะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไรมากกว่าการใช้การแยกกำไรในปีปัจจุบันเป็นกำไรส่วนที่เป็นเงินสดและกำไรส่วนที่คงค้างในการพยากรณ์