DSpace Repository

การใช้ตัวแบบของ Fairfield และ Yohn เพื่อพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไร : กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอมอร ใจเก่งกิจ
dc.contributor.author ศิริพร สุพิทยากุล, 2522-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2006-06-29T07:39:25Z
dc.date.available 2006-06-29T07:39:25Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741763743
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/595
dc.description วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract 1. ศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการประยุกต์ตัวแบบ ที่ใช้การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิโดยไม่แยกองค์ประกอบในการพยากรณ์ และตัวแบบที่ใช้การแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลง อัตราการหมุนของสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิ และการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไรในการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบที่ใช้การแยกการเปลี่ยนแปลง อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิ เป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไร ในการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไร และตัวแบบที่ใช้การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทน ต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิโดยไม่แยกองค์ประกอบในการพยากรณ์ และ 3. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบที่ใช้การแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทน ต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุน ของสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิ และการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไรในการพยากรณ์ความสามารถ ในการทำกำไรและตัวแบบที่ใช้การแยกกำไรเป็นกำไรส่วนเป็นเงินสด และกำไรส่วนที่คงค้างในการพยากรณ์ การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยแบบเชิงพหุ (Multiple regression analysis) เพื่อทดสอบถึงการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไร ของตัวแปรที่อยู่ในตัวแบบการพยากรณ์ และใช้ค่า Vuong (1989) Z-statistic เพื่อเปรียบเทียบตัวแบบต่างๆ ผลการศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2541-2546 พบว่า ทั้งตัวแบบที่ใช้การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิโดยไม่แยกองค์ประกอบ และตัวแบบที่ใช้การแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไร สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไรได้ แสดงวาคุณภาพข้อมูลที่ได้จากงบการเงินของประเทศไทยมีความใกล้เคียงกับต่างประเทศ นอกจากนี้ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า การแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไร จะช่วยทำให้การพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น เมื่อเทียบกับการใช้การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในการดำเนินงานสุทธิโดยไม่แยกองค์ประกอบในการพยากรณ์ จึงเป็นการสนับสนุนว่า การแยกการเปลี่ยนอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิจะให้ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินของกิจการได้ชัดเจนกว่าการไม่แยกองค์ประกอบ และตัวแบบที่แยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไรจะทำให้การพยากรณ์มีความถูกต้องมากขึ้น เมื่อเทียบกับตัวแบบที่แยกกำไรเป็นกำไรส่วนที่เป็นเงินสดและกำไรส่วนที่คงค้าง แสดงว่าการแยกการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนของสินทรัพย์ในการดำเนินงานสุทธิและการเปลี่ยนแปลงอัตรากำไร จะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไรมากกว่าการใช้การแยกกำไรในปีปัจจุบันเป็นกำไรส่วนที่เป็นเงินสดและกำไรส่วนที่คงค้างในการพยากรณ์ en
dc.description.abstractalternative To 1. study whether a) the change in return on net operating asset model and b) two components of the change in return on net operating asset, the change in net operating assed turnover and the change in profit margin model can forecast profitability of listed companies in the Stock Exchange of Thailand 2. compare the efficiency of the model that employs the change in return on net operating asset and the model that employs the change in net operating asset turnover and the change in profit margin in forecasting profitability of Thai listed companies. 3. compare the efficiency of the model that employs the change in net operating asset turnover and the change in profit margin and the model that employs cash flow and accrual in forecasting profitability of Thai listed companies. This study applies multiple regression analysis to test variables in the forecasting models and uses Vuong (1989) Z-statistic to compare the models. The results show that, for companies listed on the Stock Exchange of Thailand during 1998-2003, both of the change in return on net operating asset model and the change in net operating asset turnover and the change in profit margin model can be applied to forecast profitability and that the quality of financial statements of Thai companies are close to those of US. Companies. The results also indicate that disaggregating the change in return on net operating asset into the change in net operating asset turnover and the change in profit margin is useful in forecasting profitability. In addition, this study suggests that the model which disaggregated the change in return on net operating asset into the change in net operating asset turnover and the change in profit margin is more efficient in profitability forecasting than model which disaggregates profit into cash flow and accrual in forecasting profitability. That is, disaggregating the change in return on net operating asset into the change in net operating asset turnover and the change in profit margin provides additional information to cash flow and accrual for forecasting profitability. en
dc.format.extent 669043 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.823
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject พยากรณ์ธุรกิจ en
dc.subject การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน en
dc.subject อัตราผลตอบแทน en
dc.subject กำไร en
dc.subject บริษัทมหาชน--ไทย en
dc.title การใช้ตัวแบบของ Fairfield และ Yohn เพื่อพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไร : กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย en
dc.title.alternative Using Fairfield and Yohn models to forecast profitability : a case study of listed comanies in the Stock Exchange of Thailand en
dc.type Thesis en
dc.degree.name บัญชีมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การบัญชี en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor fcomajk@phoenix.acc.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2004.823


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record