dc.contributor.advisor |
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ |
|
dc.contributor.author |
กุสุมา ทองเนียม |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-09-14T05:07:47Z |
|
dc.date.available |
2018-09-14T05:07:47Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59547 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
|
dc.description.abstract |
มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาประเภททางไวยากรณ์เพื่อทดสอบสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ซึ่งกล่าวว่าผู้พูดภาษาที่มีประเภททางไวยากรณ์แตกต่างกันย่อมมีความคิดแตกต่างกันด้วย แต่งานด้านนี้ส่วนใหญ่มักทดสอบกับผู้พูดภาษาเดียว โดยมิได้คำนึงถึงผู้พูดสองภาษา เกี่ยวกับสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ ถึงแม้วอร์ฟมิได้กล่าวถึงผู้พูดสองภาษาโดยตรง แต่ก็พูดเป็นนัยไว้ว่าคนที่พูดได้หลายภาษามากเท่าใดก็จะมีความเป็นกลางในความคิดมากเท่านั้น ทำให้ผู้วิจัยสงสัยว่าประเภททางไวยากรณ์ที่อยู่ในตัวผู้พูดสองภาษามีอิทธิพลต่อความคิดของเขาอย่างไร นอกจากนี้ ผลงานในอดีตที่เกี่ยวกับเพศทางไวยากรณ์ในภาษารัสเซียแทบไม่มีเลย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการมีและไม่มีเพศทางไวยากรณ์ของคำนามกับพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทของผู้พูดภาษารัสเซีย ผู้พูดภาษาอังกฤษ และผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษ และเปรียบเทียบพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทของผู้พูดทั้ง 3 กลุ่มเพื่อทดสอบสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ ผู้วิจัยมีสมมติฐานว่า ผู้พูดภาษารัสเซียซึ่งเป็นภาษาที่คำนามมีเพศทางไวยากรณ์มีพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทตามเกณฑ์เพศทางไวยากรณ์มากกว่าผู้พูดภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่คำนามไม่มีเพศทางไวยากรณ์ และผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษมีพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทตามเกณฑ์เพศทางไวยากรณ์น้อยกว่าผู้พูดภาษารัสเซียภาษาเดียวแต่มากกว่าผู้พูดภาษาอังกฤษภาษาเดียว ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์มาจากการทดสอบพฤติกรรมทางปริชานด้านการจำแนกประเภทสรรพสิ่ง โดยให้ผู้พูดภาษารัสเซีย 39 คน ผู้พูดภาษาอังกฤษ 30 คน และผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษ 54 คน ดูภาพสัตว์หรือสิ่งของชุดละ 3 ภาพและตัดสินว่าภาพใดไม่เข้าพวกกับภาพอื่นเพื่อที่จะทดสอบว่าผู้พูดแต่ละกลุ่มใช้เพศทางไวยากรณ์หรือลักษณะของสรรพสิ่งเป็นเกณฑ์ในการจำแนกประเภท ผลการทดลองพบว่าผู้พูดภาษารัสเซียจำแนกประเภทสรรพสิ่งตามเกณฑ์เพศทางไวยากรณ์มากกว่าผู้พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานภาษาสัมพัทธ์ ส่วนผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษจำแนกประเภทสรรพสิ่งตามเกณฑ์เพศทางไวยากรณ์น้อยกว่าผู้พูดภาษารัสเซียภาษาเดียว แต่ไม่แตกต่างจากผู้พูดภาษาอังกฤษภาษาเดียวแสดงให้เห็นอิทธิพลของภาวะสองภาษา ซึ่งมีปัจจัยสำคัญคือความเชี่ยวชาญในภาษาที่สองในระดับสูง |
|
dc.description.abstractalternative |
There are a lot of research works that study grammatical categories in order to test the Linguistic Relativity Hypothesis, which states that speakers of languages with different grammatical categories have different ways of thinking. However, those studies mostly test monolingual speakers and seem to overlook bilingual speakers. Concerning the Linguistic Relativity Hypothesis, Whorf said that the more languages a person speaks, the more impartial in thought he would become. This makes me curious to see how a bilingual’s grammatical categories influence his/her thought. Besides, very few past studies focus on grammatical gender in Russian language. Therefore, the present study aims to examine the relationship between grammatical gender of nouns and cognitive behavior in object categorization of Russian speakers, English speakers, and Russian-English bilinguals in order to test the Linguistic Relativity Hypothesis. It is hypothesized that speakers of Russian, a gendered language, categorize objects according to grammatical gender more than speakers of English, which is a genderless language and that Russian-English bilinguals categorize objects according to grammatical gender less than Russian speakers, but more than English speakers. The data was taken from an object categorization experiment, in which the participants consisting of 39 Russian speakers, 30 English speakers, and 54 Russian-English bilinguals, were asked to select one of the 3 pictures in each set that is different from the other two. The results show that Russian speakers categorized objects by grammatical gender more than English speakers, which supports the Linguistic Relativity Hypothesis. As for Russian-English bilinguals, they categorized objects by grammatical gender less than Russian speakers, but there was no difference when compared to English speakers. The results show the influence of bilingualism with second language proficiency on the bilinguals’ cognition. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1161 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ไวยากรณ์ปริชาน |
|
dc.subject |
ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ |
|
dc.subject |
ภาษารัสเซีย |
|
dc.subject |
ภาษาอังกฤษ |
|
dc.subject |
Cognitive grammar |
|
dc.subject |
Comparative linguistics |
|
dc.subject |
Russian language |
|
dc.subject |
English language |
|
dc.title |
อิทธิพลของเพศทางไวยากรณ์ต่อระบบปริชานของผู้พูดสองภาษารัสเซีย-อังกฤษเปรียบเทียบกับผู้พูดภาษารัสเซียและผู้พูดภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียว |
|
dc.title.alternative |
THE EFFECT OF GRAMMATICAL GENDER ON COGNITION OF RUSSIAN-ENGLISH BILINGUALS COMPARED WITH RUSSIAN MONOLINGUALS AND ENGLISH MONOLINGUALS |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ภาษาศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Amara.Pr@Chula.ac.th,amaraprasithrathsint@gmail.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2017.1161 |
|