dc.contributor.advisor |
นวลฉวี หงษ์ประสงค์ |
|
dc.contributor.author |
อิชยา เค้ามงคลกิจ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2008-02-26T03:50:37Z |
|
dc.date.available |
2008-02-26T03:50:37Z |
|
dc.date.issued |
2543 |
|
dc.identifier.isbn |
9743461981 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5978 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
en |
dc.description.abstract |
ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกหลังจากการใช้น้ำยาบ้วนปากลิสเตอรินฉีดล้างภายในร่องลึกปริทันต์ร่วมกับการบ้วนปากเสริมการขูดเหงือกช่วงล่าง เปรียบเทียบกับการขูดเหงือกช่วงล่างร่วมกับการฉีดล้างภายในร่องลึกปริทันต์ด้วยน้ำกลั่น และการขูดเหงือกช่วงล่างเพียงอย่างเดียว โดยศึกษาผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ จำนวน 36 คน ในช่วงเวลา 12 สัปดาห์ ผู้ป่วยได้รับการรักษาแตกต่างกัน โดยการสุ่มจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการแบ่งชั้นตามระดับคะแนนดัชนีคราบจุลินทรีย์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ขูดเหงือกช่วงล่างร่วมกับการฉีดล้างภายในร่องลึกปริทันต์ และบ้วนปากด้วยลิสเตอริน และกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ขูดเหงือกช่วงล่างร่วมกับการฉีดล้างภายในร่องลึกปริทันต์ด้วยน้ำกลั่น และกลุ่มขูดเหงือกช่วงล่างเพียงอย่างเดียว การฉีดล้างทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ และการบ้วนปากทำวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเวลา 12 สัปดาห์ โดยก่อนให้การรักษาผู้ป่วยจะได้รับการขูดหินน้ำลาย เกลารากฟัน และสอนวิธีดูแลอนามัยช่องปากแล้วนัดผู้ป่วยเข้าสู่การวิจัยอีก 1 เดือนถัดไปโดยถือเป็นสัปดาห์ที่ 0 ก่อนการรักษาในสัปดาห์ที่ 0 และหลังการรักษาในสัปดาห์ที่ 6 และ 12 จะวัดค่าทางคลินิก ได้แก่ ดัชนีเหงือกอักเสบ ดัชนีคราบจุลินทรีย์ และอาการเลือดออก รวมทั้งความลึกของร่องลึกปริทันต์ และระดับการยึดติดของอวัยวะปริทันต์ที่ได้จากการวัด ซึ่งวัดด้วยฟลอริดาโพรบ และฟลอริดาดิสก์โพรบร่วมกับชิ้นปิดฟันด้านบดเคี้ยว ผลการวิจัย พบว่าทุกกลุ่มการรักษาสามารถทำให้ลักษณะทางคลินิกดีขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรักษา โดยผลการรักษาที่สัปดาห์ที่ 12 กลุ่มทดลองที่ใช้ลิสเตอริน กลุ่มควบคุมที่ใช้น้ำกลั่น และกลุ่มควบคุมที่ขูดเหงือกช่วงล่างเพียงอย่างเดียวสามารถลดความลึกของร่องลึกปริทันต์ได้ 1.24, 0.71 และ 0.61 มิลลิเมตร และเพิ่มระดับการยึดติดของอวัยวะปริทันต์ได้ 0.51, 0.24 และ 0.23 มิลลิเมตร ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการรักษากลุ่มทดลองจะลดดัชนีคราบจุลินทรีย์ ลดความลึกของร่องลึกปริทันต์ และเพิ่มระดับการหดตัวของเหงือกได้มากกว่ากลุ่มควบคุมทั้งสองอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในสัปดาห์ที่ 6 และ 12 ส่วนดัชนีเหงือกอักเสบ และอาการเลือดออกในกลุ่มทดลองจะลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญในสัปดาห์ที่ 12 และถึงแม้ว่ากลุ่มลิสเตอรินจะเพิ่มระดับการยึดติดของอวัยวะปริทันต์ได้มากกว่ากลุ่มควบคุมทั้งสองแต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นการใช้ ลิสเตอรีนไม่ได้ช่วยเพิ่มระดับการยึดของอวัยวะปริทันต์มากกว่าการขูดเหงือกช่วงล่างเพียงอย่างเดียว การลดลงของร่องลึกปริทันต์ของกลุ่มทดลองน่าจะมาจากการหดตัวของเหงือกเป็นส่วนใหญ่ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้ลิสเตอรีนฉีดล้างภายในร่องลึกปริทันต์ร่วมกับการบ้วนปากเสริมการขูดเหงือกช่วงล่างในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ ถึงแม้ว่าไม่สามารถทำให้มีการเพิ่มระดับการยึดติดของอวัยวะปริทันต์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่สามารถทำให้ลักษณะทางคลินิกดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมจึงอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ นำไปใช้เสริมการรักษาโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ได้ แต่ควรคำนึงถึงการหดตัวของเหงือกที่มากกว่ากลุ่มควบคุม และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเช่น การติดสี และอาการชาชั่วคราวที่ลิ้น |
en |
dc.description.abstractalternative |
Evaluates the clinical effects of intra-pocket irrigation combined with rinsing with Listerine Antiseptic as an adjunct to subgingival curettage (SGC+Listerine) in comparison with subgingival curettage with sterile water irrigation (SGC+W) or subgingival curettage (SGC) alone. Thirty-six adult periodontitis patients completed a 12-week controlled, double-blind study. Subjects with different plaque index scores were divided by stratified random sampling into three groups: SGC+Listerine (test group), SGC+W and SGC alone (control groups). The irrigation (Listerine or water) was done once a week for 4 weeks, while rinsing with Listerine was done twice a day for 12 weeks only in test group. All patients obtained scaling, root planing and oral hygiene instruction and then 1 month later were subjected to a baseline study (week 0). At baseline, week 6 and week 12, gingival index, plaque index and bleeding on probing were recorded. Moreover, probing pocket depth and probing attachment level were also measured by Florida probe and Florida disk probe with occlusal stent. The results showed statistically significant improvement in clinical parameters in all groups compared to baseline. At week 12, the means of pocket depth reduction in SGC+Listerine group, SGC+W group and SGC group were 1.24, 0.71, and 0.61 mm and the means of attachment gain were 0.51, 0.24 and 0.23 mm respectively. The test group showed a significant difference in plaque index, pocket depth and gingival shrinkage compared to both control groups at week 6 and 12, while gingival index and bleeding on probing in test group appeared to have significant reduction only at week 12. Although test group showed more progress of attachment level than control groups, no significant differences (p>0.05) among 3 groups were seen. Thus Listerine could not improve attachment level more than subgingival curettage alone. Reduction in pocket depth in test group might occur as a result of gingival shrinkage. These findings indicate that the use of intra-pocket irrigation combined with rinsing with Listerine Antiseptic as an adjunct to subgingival curettage in adult periodontitis patients could improve clinical periodontal status more than control groups. Intra-pocket irrigation combined with rinsing with Listerine Antiseptic may be an alternative choice for adult periodontitis treatment, however the gingival shrinkage affected by the treatment and side effects (e.g., staining and temporary loss of tonque sensation) should be taken into consideration. |
en |
dc.format.extent |
1178282 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.387 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
โรคปริทันต์อักเสบ -- การรักษา |
en |
dc.subject |
น้ำยาบ้วนปาก |
en |
dc.subject |
การขูดเหงือกช่วงล่าง |
en |
dc.title |
ผลทางคลินิกของการใช้น้ำยาบ้วนปากลิสเตอรินฉีดล้างภายในร่องลึกปริทันต์ร่วมกับการบ้วนปากเสริมการขูดเหงือกช่วงล่างในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่ |
en |
dc.title.alternative |
Clinical effects of the intra-pocket irrigation combined with rinsing with listerine antiseptic as an adjunct to subgingival curettage in adult periodontitis |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
ปริทันตศาสตร์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Noulchavee H.@chula.ac.th. |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2000.387 |
|