DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนกับความซึมเศร้าและความวิตกกังวลในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น โดยมีคุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความสามารถในการฟื้นพลังเป็นตัวแปรกำกับ

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรรณระพี สุทธิวรรณ
dc.contributor.author ณัฐพล ชัยกิตติพรเลิศ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2018-09-14T05:21:01Z
dc.date.available 2018-09-14T05:21:01Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59835
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
dc.description.abstract งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มวัยรุ่นตอนต้นในเรื่องความสัมพันธ์ของการถูกล้อเลียนที่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้าและความวิตกกังวล โดยมีคุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความสามารถในการฟื้นพลังเป็นตัวแปรกำกับ โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีอายุระหว่าง 13 – 15 ปี การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 433 คน ผู้วิจัยตรวจสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านและตัวแปรกำกับ ด้วยการทดสอบตัวแปรส่งผ่านอย่างมีเงื่อนไข (moderated mediation) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การถูกล้อเลียน และความซึมเศร้าและความวิตกกังวล (B = .02, p < .05) 2. การยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนไม่ได้เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่าง การถูกล้อเลียน และความซึมเศร้าและความวิตกกังวล แต่การล้อเลียน สัมพันธ์ทางบวกกับการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงอย่างเดียว (B = .13, p < .05) 3. ความสามารถในการฟื้นพลัง เป็นตัวแปรกำกับระหว่าง คุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและความซึมเศร้าและความวิตกกังวล (B = -.13, p < .05) และ 4. การถูกล้อเลียนสามารถอธิบายความซึมเศร้าและความวิตกกังวลของวัยรุ่นได้โดยตรง เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรส่งผ่านทั้ง 2 ตัวแปร (B = .36, p < .05) ผลการวิจัยสามารถนำไปปรับใช้ในการออกแบบโปรแกรมเพื่อจัดการกับปัญหาการล้อเลียน โดยเสริมสร้างให้เด็กมีความสามารถในการฟื้นพลังมากขึ้น โดยผู้วิจัยได้อภิปรายถึงแนวทางการป้องกันต่าง ๆ เพื่อให้เด็กที่่ถูกล้อเลียนสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้าและความวิตกกังวลตามมา
dc.description.abstractalternative This study aimed to examine mediated roles of friendship quality and peer acceptance in associations between teasing, depression and anxiety with resilience as a moderator in early adolescent. The participants in this study were 433 students aged between 13 - 15 years. The results using mediated moderation analysis were shown that 1. friendship quality could mediate the association between teasing, depression and anxiety. (B = .02, p < .05) 2. Peer acceptance could not mediate the relation between teasing, depression and anxiety. On the other hand, teasing directly associated with peer acceptance directly (B = .13, p < .05) 3. resilience could moderated the relation between friendship quality, depression and anxiety (B = -.13, p < .05). 4. Teasing could explain depression and anxiety directly when control the effect of both mediator roles (B = .36, p < .05). This result suggested that promoting of resilience in adolescents could help teased adolescents handle their situations properly. Ways to buffer teased adolescents from negative outcomes were discussed.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.801
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ความซึมเศร้าในวัยรุ่น
dc.subject ความวิตกกังวลในวัยรุ่น
dc.subject ความสามารถในการฟื้นพลังในวัยรุ่น
dc.subject Depression in adolescence
dc.subject Anxiety in adolescence
dc.subject Resilience (Personality trait) in adolescence
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างการล้อเลียนกับความซึมเศร้าและความวิตกกังวลในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น โดยมีคุณภาพความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทและการยอมรับจากเพื่อนในชั้นเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และมีความสามารถในการฟื้นพลังเป็นตัวแปรกำกับ
dc.title.alternative ASSOCIATIONS AMONG TEASING, DEPRESSION, AND ANXIETY: THE MEDIATED ROLES OF FRIENDSHIP QUALITY AND PEER ACCEPTANCE WITH RESILIENCE AS A MODERATOR
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Panrapee.S@Chula.ac.th,cpanrapee@yahoo.com
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2017.801


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record