Abstract:
การสำรวจแมลงวันหัวเขียวใน 6 จังหวัดของประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร, พิษณุโลก, เชียงใหม่, ตาก, ชุมพร และบุรีรัมย์ การศึกษาทางสัณฐานวิทยาพบเป็นแมลงวันหัวเขียว ชนิด Chrysomya megacephala, Chrysomya rufifacies และ Lucilia cuprina และการศึกษาทางอณูชีววิทยาของยีน cytochrome oxidase ช่วยยืนยันว่าเป็น 3 species นี้ นอกจากนี้การใช้เทคนิค Reaction-Restriction Fragment Length Polymorphism (PCR-RFLP) ยังสามารถช่วยจำแนกแมลงวันหัวเขียวทั้ง 3 ชนิดนี้ได้ PCR ให้ผลผลิต 1324 เบส ในแมลงวันหัวเขียวทั้ง 3 ชนิด การย่อยผลิตภัณฑ์ PCR ด้วย Taqᵅ I and VspI ให้รูปแบบที่จำเพาะในแมลงวันหัวเขียวแต่ละชนิด ประโยชน์ของการใช้เทคนิค PCR-RFLP นี้นอกจากจะช่วยในการสำรวจแมลงวันหัวเขียวง่ายขึ้นแล้วยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางนิติกีฎวิทยาอีกด้วย ได้แก่การนำมาใช้ประมาณเวลาตาย (post mortem interval (PMI) ส่วน Lucillia sericata ไม่สามารถพบได้จากการศึกษาครั้งนี้ อย่างไรก็ตามได้ทำการทดลองเลี้ยงแมลงวันหัวเขียว Chrysomya megacephala ด้วยอาหารเทียม พบว่าหนอนแมลงวัน Chrysomya megacephala สามารถเจริญในอาหารเทียมได้และไม่พบแบคทีเรียเจริญในอาหารเทียมนี้ และหนอนแมลงวันหัวเขียวสามารถเจริญจนเข้าสู่ระยะดักแด้ได้ แสดงว่าอาหารเทียมที่ใช้ในการทดลองนี้เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงหนอนแมลงวันหัวเขียว