Abstract:
โครงการศึกษาประเมินศักยภาพช่องทางการค้าการขนส่งชายแดนไทย–พม่า มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพช่องทางการค้าการขนส่งชายแดนไทย–พม่า การประเมินประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ การประเมินปัจจัยสนับสนุน ซึ่งเป็นการประเมินปัจจัยสภาพแวดล้อมช่องทางการค้า และการประเมินศักยภาพการค้า ซึ่งเป็นการประเมินปัจจัยด้านการตอบสนองทางการค้า ซึ่งสามารถประเมินได้ครบทั้ง 2 ส่วน เพียง 10 ช่องทางเท่านั้น ส่วนอีก 8 ช่องทางไม่สามารถประเมินศักยภาพการค้าได้ เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ ผลการประเมินช่องทางการค้าทั้งหมด 18 ช่องทาง พบว่าช่องทางการค้าประเภทจุดผ่านแดนถาวรส่วนใหญ่มีปัจจัยสนับสนุนและการตอบสนองต่อการค้าค่อนข้างสูง โดยจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้้าสาย ส้าหรับช่องทางการค้าประเภทจุดผ่อนปรนทั้งปัจจัยสนับสนุนและการตอบสนองทางการค้าอยู่ในระดับต่้า มีเพียงจุดผ่อนปรนด่านพระเจดีย์สามองค์เท่านั้นที่มีปัจจัยสนับสนุนและการตอบสนองการค้าอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเปรียบเทียบจ้านวนจุดผ่านแดนถาวรตามแนวชายแดนไทย–พม่ากับความยาวเส้นแบ่งเขตแดนถือว่ามีจ้านวนน้อยมาก กล่าวคือ ตลอดแนวเส้นแบ่งเขตแดนไทย–พม่ามีความยาวถึง 2,401 กิโลเมตรมีจุดผ่านแดนถาวรเพียง 5 จุด ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการค้าชายแดนไทย–พม่ามีปริมาณเพื่อขึ้นร้อยละ 15 ต่อปี จ้านวนจุดผ่านแดนถาวรที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับการค้าชายแดนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ ดังนั้นจึงควรพัฒนาจุดผ่อนปรนที่มีศักยภาพ ได้แก่ จุดผ่อนปรนด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี และจุดผ่อนปรนช่องทางกิ่วผาวอก จังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรเพื่อรองรับการค้าชายแดนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยยังคงความเป็นคู่ค้าที่ส้าคัญของพม่า