DSpace Repository

โครงการวิจัยการยืดอายุการเก็บข้าวกล้องโดยการเคลือบด้วยไคโตซาน

Show simple item record

dc.contributor.author ดุลยพงศ์ วงศ์แสวง
dc.contributor.author ชญานิษฐ์ จำปี
dc.contributor.author วรีภรณ์ รัตนิสสัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-10-08T08:33:36Z
dc.date.available 2018-10-08T08:33:36Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60434
dc.description.abstract ได้ฉายรังสีแกมมาไคโตซานในสถานะของแข็งที่ความแรงรังสี 10, 30, 50, 70 และ 90 kGy ทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ของไคโตซานโดยการตรวจสอบหมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิค FTIR ผลที่ได้คือไคโตซานไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักหลังการฉายรังสีแกมมา ทำการวัดน้ำหนักโมเลกุลไคโตซานด้วยเทคนิค GPC การเตรียมสารละลายไคโตซานเพื่อเคลือบข้าวกล้องทำโดยนำผงไคโตซานที่ฉายรังสีแล้วมาละลายในกรดอะซิติก 2% (v/v) ให้ได้ความเข้มข้น 0.5, 1, 2 และ 5% (w/v) หลังจากนั้นปรับค่า pH ให้เป็น 5.6 ด้วย 6 M NaOH ทำการเคลือบข้าวกล้องด้วยการฉีดพ่นและทดสอบในตู้อะครีลิคที่ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ที่ 80% และที่อุณหภูมิห้อง ผลที่ได้คือที่ความเข้มข้น 5% (w/v) และที่ปริมาณรังสี 90 kGy สามารถยืดอายุการเก็บรักษาข้าวกล้องได้นานที่สุด โดยสามารถยืดอายุการเก็บรักษาจาก 22 วัน (ไม่ได้เคลือบ) ออกไปได้ถึงประมาณ 33 วัน เมื่อทำการทดสอบที่อุณหภูมิ 35 - 45oC และที่ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 90% พบว่ายิ่งค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น เชื้อราก็จะขึ้นได้ไวขึ้น เช่นที่ความชื้นสัมพัทธ์ 90% เชื้อราจะขึ้นภายใน 4 – 7 วัน เมื่อทดลองเคลือบข้าวกล้องด้วยไคโตซานที่ความเข้มข้น 5% (w/v) และที่ปริมาณรังสี 90 kGy และนำมาบรรจุในถุงพลาสติกใสเพื่อจำลองการเก็บตามสภาวะปกติของชาวบ้าน เมื่อเวลาผ่านไปถึง 4 เดือนก็ยังไม่สามารถสังเกตเห็นเชื้อราขึ้นทั้งข้าวกล้องที่ไม่ได้เคลือบและที่เคลือบ ดังนั้นการเคลือบข้าวกล้องด้วยไคโตซานอาจจะไม่ให้ประโยชน์ในสภาวะการเก็บที่มีความชื้นต่ำ อย่างไรก็ตามหากต้องเก็บรักษาข้าวกล้องในสภาวะแวดล้อมที่มีความชื้นสูง เช่นในโกดังในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม การเคลือบข้าวกล้องด้วยไคโตซานอย่างเหมาะสมนี้จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้เป็นอย่างดี en_US
dc.description.abstractalternative Chitosan was gamma-ray irradiated with the doses of 10, 30, 50, 70 and 90 kGy, after which characteristic functional groups were analyzed for using FTIR technique. Results indicated no alteration in the main structure of irradiated chitosan. Molecular weight of chitosan was measured using GPC technique. Chitosan solutions for coating brown rice were prepared by dissolving irradiated chitosan powder in 2% (v/v) acetic acid to obtain concentrations of 0.5, 1, 2 and 5% (w/v), and the pH was adjusted to 5.6 using 6 M NaOH. Chitosan was sprayed onto brown rice, which was placed in an acrylic enclosure at room temperature with controlled relative humidity at 80%. Results indicated that at 5% (w/v) concentration and 90 kGy of irradiated dose, chitosan prolonged shelf life of brown rice the most -- from 22 days (uncoated) to ~ 33 days. When tested at 35 - 45oC and 70 - 90% relative humidity, it was found that higher relative humidity resulted in faster fungi growth. For example, at 90% relative humidity, the fungi became visible in 4 - 7 days. When coated with chitosan of 5% (w/v) concentration and irradiation dose of 90 kGy and stored in a clear plastic bag to simulate normal storage condition, no fungi became visible even after 4 months for both coated and uncoated brown rice. Therefore, chitosan coating may not offer benefit in low-humidity storage conditions. However, if brown rice needs to be stored in a high-humidity environment such as in a flooded silo, appropriately coating brown rice with chitosan can effectively prolong the storage lifetime. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2556 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ข้าวกล้อง en_US
dc.subject ข้าว -- การเก็บและรักษา en_US
dc.subject ไคโตแซน en_US
dc.title โครงการวิจัยการยืดอายุการเก็บข้าวกล้องโดยการเคลือบด้วยไคโตซาน en_US
dc.title.alternative Prolonging shelf life of brown rice by coating with chitosan en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Doonyapong.W@Chula.ac.th,doonyapong.w@chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record