Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด และนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ระหว่างกลุ่มที่มีระดับผลการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ หลังเรียน โดยใช้ปัญหาปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จานวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล 2) แบบวัดความสามารถในการคิด สร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล หลัง เรียนและก่อนเรียนไม่แตกต่างกัน คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล หลัง เรียนไม่แตกต่างกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่าง สร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ ได้ คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล หลังเรียนแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูงได้คะแนนสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนปานกลางและต่า แต่นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนปานกลางกับนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่าได้คะแนนไม่แตกต่างกัน 4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ ได้ คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูงได้คะแนนสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่ำ แต่นักเรียนที่มีระดับ ความสามารถทางการเรียนสูงกับนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนปานกลางได้คะแนนไม่แตกต่างกัน และนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนปานกลางได้คะแนนสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความสามารถ ทางการเรียนต่ำ
Description:
[สารบัญ] การคิดอย่างมีเหตุผล -- ความหมายของการคิดอย่างมีเหตุผล -- ประเภทของการคิดอย่างมีเหตุผล -- แนวทางการวัดความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล -- ความคิดสร้างสรรค์ -- ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ -- แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ -- องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ -- การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์กับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ -- แนวทางการวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ -- ปัญหาปลายเปิดในการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ -- ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาปลายเปิด -- ลักษณะของปัญหาปลายเปิด -- การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาปลายเปิดในการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์