dc.contributor.advisor |
กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ |
th |
dc.contributor.advisor |
สมบุญ จารุเกษมทวี |
|
dc.contributor.author |
ธวัชชัย หวังศิริเวช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
en |
dc.date.accessioned |
2018-10-19T04:01:37Z |
|
dc.date.available |
2018-10-19T04:01:37Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60458 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ โดยศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรู้คิดและพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดและการคงอยู่ของความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่สามจำนวน 300 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบมาตรวัดแบบรายงานตนเองจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ ความคิดความเชื่อทางลบที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ การประเมินทางลบที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงคณิตศาสตร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า โมเดลความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ปัจจัยทางความคิดและพฤติกรรมสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ในนักเรียนได้ร้อยละ 84.50 ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมในการลดความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในวัยรุ่นตอนต้นที่มีความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่สามที่มีคะแนนความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์สูงกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 73 ของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยส่วนที่ 1 จำนวน 48 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมจำนวน 6 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผู้เข้าร่วมการวิจัยตอบมาตรวัดก่อนและหลังการทดลองในมาตรวัดความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ ความคิดความเชื่อทางลบที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ การประเมินทางลบที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงคณิตศาสตร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม พบว่า ภายหลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม กลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ และคะแนนของตัวแปรที่ศึกษาส่วนใหญ่ลดลงและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
|
th |
dc.description.abstractalternative |
The present study focused on math anxiety and entailed two key objectives. The first was to develop a model illustrating cognitive and behavioral factors that instigated and perpetuated math anxiety. Participants were three-hundred Grade 9 students who responded to four self-report measures of math anxiety, negative math beliefs, negative math appraisals, and math avoidance. Results from the Structural Equation Modeling Analysis suggested that indices of the model proposed were consistent with empirical data, suggesting model fit. These cognitive and behavioral factors could account for 84.5% of the variance of math anxiety. Secondly, a quasi-experimental study was conducted to examine the efficacy of Cognitive-Behavioral Group Therapy in alleviating math anxiety in junior high school students. Participants were forty-eight Grade 9 students whose Math Anxiety scores were above the 73th percentile of those attending the first study. Twenty-four participants were assigned into the experimental and control groups each. Those in the experimental group attended a 6-session 2-hour weekly CBT group. Prior to and after study participation, participants responded to the measures of math anxiety, negative math beliefs, negative math appraisals, and math avoidance. Results from MANOVAs indicated that, at post treatment, the experimental group’s MA and most of the variables examined decreased significantly from pre-treatment and were lower than those of the control group. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.301 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน -- แง่จิตวิทยา |
|
dc.subject |
ความวิตกกังวลในการเรียนคณิตศาสตร์ |
|
dc.subject |
Mathematics -- Study and teaching -- Psychological aspects |
|
dc.subject |
Math anxiety |
|
dc.subject.classification |
Psychology |
en |
dc.title |
การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์และการทดสอบประสิทธิภาพของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ในวัยรุ่นตอนต้น |
th |
dc.title.alternative |
The development of casual model of math anxiety and cognitive behavioral group therapy efficacy on math anxiety among young adolescents |
|
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Kullaya.D@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Somboon.J@Chula.ac.th |
|
dc.subject.keyword |
MATH ANXIETY |
|
dc.subject.keyword |
CBT |
|
dc.subject.keyword |
ADOLESCENTS |
|
dc.subject.keyword |
SEM |
|
dc.subject.keyword |
THAI |
|
dc.subject.keyword |
GROUP |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2016.301 |
|