Abstract:
ในปัจจุบันพบมีการปนเปื้อนของโลหะหนักลงสู่ระบบนิเวศแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำจืดและน้ำทะเลใน ปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น การปนเปื้อนเหล่านี้นอกจากจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำแล้ว ยังสร้าง สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย มีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงผล และความเป็นพิษของโลหะหนักต่อจุลชีพที่ดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำจืด อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึง ผลกระทบของการปนเปื้อนของโลหะหนักต่อจุลชีพที่อาศัยอยู่ในทะเลยังมีไม่มากนัก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นพิษของโลหะหนัก ได้แก่ แคดเมียม นิกเกิล และสังกะสี ต่อซิลิเอต Euplotes quinquecarinatus สายพันธุ์ที่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลซึ่งสกัดแยกได้จากหาดลูกลม เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของซิลิเอต ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละชั่วรุ่น อัตราการเจริญเติบโต และค่าความเข้มข้นที่ทำให้ซิลิเอตตายไปครึ่งหนึ่ง (LC50) เมื่อซิลิเอตได้รับสารละลาย โลหะหนักที่ผสมในอาหารเพาะเลี้ยงและทิ้งไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากการศึกษาพบว่า สารละลายโลหะ หนักทั้ง 3 ชนิด มีผลต่อรูปร่างของ E. quinquecarinatus โดยทำให้เซลล์เสียสภาพเปลี่ยนรูปร่างเป็นทรง กลมและตายในที่สุด นอกจากนี้ยังมีผลยืดระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละชั่วรุ่นและลดอัตราการเจริญเติบโตของซิลิ เอต เมื่อพิจารณาค่า LC50 พบว่า สังกะสีมีความเป็นพิษต่อเซลล์มากที่สุด รองลงมาคือ แคดเมียมและ นิกเกิล ตามลำดับ โดยมีค่า LC50 เท่ากับ 56, 183 และ 269 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ โดยค่า LC50 ที่ คำนวณได้มีค่าสูงกว่าค่าความเข้มข้นมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษสำหรับโลหะทั้ง 3 ชนิด แสดงให้เห็น ถึงความทนของ Euplotes สายพันธุ์นี้ต่อโลหะหนักและศักยภาพที่เป็นไปได้ในการใช้ซิลิเอตชนิดนี้ เพื่อ การกำจัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำต่อไป