DSpace Repository

การประยุกต์ใช้ความหลากหลายทางชีวภาพของซิลิเอตทะเลหน้าดิน จากหาดลูกลม เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี ในการประเมินความเป็นพิษของโลหะหนักในห้องปฏิบัติการ : รายงานผลการดำเนินงาน

Show simple item record

dc.contributor.author ชิดชัย จันทร์ตั้งสี
dc.contributor.author สุดาสวรรค์ ลิ้มรักษา
dc.contributor.author สุชา เฉยศิริ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-10-30T04:53:30Z
dc.date.available 2018-10-30T04:53:30Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60472
dc.description.abstract ในปัจจุบันพบมีการปนเปื้อนของโลหะหนักลงสู่ระบบนิเวศแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำจืดและน้ำทะเลใน ปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น การปนเปื้อนเหล่านี้นอกจากจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำแล้ว ยังสร้าง สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย มีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นถึงผล และความเป็นพิษของโลหะหนักต่อจุลชีพที่ดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำจืด อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึง ผลกระทบของการปนเปื้อนของโลหะหนักต่อจุลชีพที่อาศัยอยู่ในทะเลยังมีไม่มากนัก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นพิษของโลหะหนัก ได้แก่ แคดเมียม นิกเกิล และสังกะสี ต่อซิลิเอต Euplotes quinquecarinatus สายพันธุ์ที่ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลซึ่งสกัดแยกได้จากหาดลูกลม เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของซิลิเอต ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละชั่วรุ่น อัตราการเจริญเติบโต และค่าความเข้มข้นที่ทำให้ซิลิเอตตายไปครึ่งหนึ่ง (LC50) เมื่อซิลิเอตได้รับสารละลาย โลหะหนักที่ผสมในอาหารเพาะเลี้ยงและทิ้งไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากการศึกษาพบว่า สารละลายโลหะ หนักทั้ง 3 ชนิด มีผลต่อรูปร่างของ E. quinquecarinatus โดยทำให้เซลล์เสียสภาพเปลี่ยนรูปร่างเป็นทรง กลมและตายในที่สุด นอกจากนี้ยังมีผลยืดระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละชั่วรุ่นและลดอัตราการเจริญเติบโตของซิลิ เอต เมื่อพิจารณาค่า LC50 พบว่า สังกะสีมีความเป็นพิษต่อเซลล์มากที่สุด รองลงมาคือ แคดเมียมและ นิกเกิล ตามลำดับ โดยมีค่า LC50 เท่ากับ 56, 183 และ 269 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ โดยค่า LC50 ที่ คำนวณได้มีค่าสูงกว่าค่าความเข้มข้นมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษสำหรับโลหะทั้ง 3 ชนิด แสดงให้เห็น ถึงความทนของ Euplotes สายพันธุ์นี้ต่อโลหะหนักและศักยภาพที่เป็นไปได้ในการใช้ซิลิเอตชนิดนี้ เพื่อ การกำจัดโลหะหนักที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative Contamination of heavy metals into aquatic ecosystems both freshwater and marine has currently been found to be continuously increasing. The contamination has not only resulted in deterioration of water resources but also generated adverse environment to organisms living in such polluted conditions. Many research studies of toxic effects of heavy metals on microbes have usually been focused on those living in freshwater habitats. However, there is little information available on such effects on marine species. The aim of this present study was therefore to assess toxicity of three heavy metals, including cadmium, nickel, and zinc, to a marine ciliate – Euplotes quinquecarinatus – isolated from Look-Lom Beach, Samaesarn Island, Chonburi Province. Morphological alterations, generation time, growth rate, and the 24-h median lethal concentrations (LC50) were examined and documented after the ciliates were inoculated in the culture media mixed with different concentrations of the three metals for 24 h. The results indicated that all three metals have morphological effects on the tested Euplotes quinquecarinatus, causing the cells losing their shape and becoming oval, ultimately leading to mortality. In addition, the prolonged generation time and reduced growth rate were observed in the cells inoculated with heavy metals. Based on the 24-h LC50, Zn (LC50 = 56 mg/l) is the most toxic metal while Cd (183 mg/l) and Ni (269 mg/l) show less toxic effects on this Euplotes species, respectively. The LC50 values for the three metals obtained from this study are much higher than the standard concentrations approved by the Pollution Control Department, suggesting the resistance to heavy metals of this Euplotes isolate and implying the possible potential of using this ciliate for removing heavy metals contaminated in water resources. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 2558 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โลหะหนัก -- การปนเปื้อน en_US
dc.subject ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล -- ไทย -- ชลบุรี en_US
dc.subject ซิลิเอต en_US
dc.subject Ciliate en_US
dc.title การประยุกต์ใช้ความหลากหลายทางชีวภาพของซิลิเอตทะเลหน้าดิน จากหาดลูกลม เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี ในการประเมินความเป็นพิษของโลหะหนักในห้องปฏิบัติการ : รายงานผลการดำเนินงาน en_US
dc.title.alternative Application of Biodiversity of Marine Benthic Ciliates from Look-Lom Beach, Samaesarn Island, Chonburi Province in Assessing Toxicity of Heavy Metals in Laboratory en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Chitchai.C@Chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record