Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ และเพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิค อุปมา /เปรียบเทียบที่มีต่อทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้ระเบียบการออกแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัย กึ่งทดลอง แบบแผนการวิจัยชนิด Randomized Pretest - Posttest Control group design (แผนแบบการวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุมวัดก่อน วัดหลัง ชนิดสุ่ม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยทาการสุ่มห้องเรียน และแยกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ห้องละ 36 คน ใช้สถิติบรรยายและสถิติอนุมานวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการอ่านจับใจความ ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการอ่านจับใจความหลังการทดลองของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้ค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปว่า (1) รูปแบบกระบวนการสอนอ่านแบบแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบประกอบด้วย ส่วนที่เป็นเนื้อหาที่ใช้สอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนแรก คือ เนื้อหา ที่ใช้สอน เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 1.1 สาระ การอ่าน ส่วนที่สอง คือ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบไปด้วยกิจกรรม 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) Survey (S) อ่านอย่างคร่าว ๆ เพื่อหาจุดสาคัญของเรื่อง เป็นการมองภาพรวมของเรื่องทั้งหมด (2) Question (Q) การตั้งคาถามเพื่อจับใจความสาคัญ ขั้นที่ (1) และ (2) จะใช้เทคนิคการสอนแบบอุปมาเปรียบเทียบ โดยนาเสนอสิ่งที่จะใช้อุปมา/เปรียบเทียบกับมโนทัศน์หรือแนวคิดของเรื่องที่อ่านชี้ใหเห็นลักษณะที่มีความสัมพันธกันของอุปมา/เปรียบเทียบ (3) Read (R) การอ่านข้อความในบทหรือตอนนั้น ๆ ซ้าอย่างละเอียด เพื่อทาความเข้าใจในเนื้อหาและตอบคาถามจากเรื่องที่อ่าน (4) Record (R) ให้ผู้เรียนจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้อ่านจากขั้นตอนที่ 3 ตามความเข้าใจของผู้เรียน ขั้นที่ (3) และ (4) จะใช้เทคนิคการสอนแบบอุปมาเปรียบเทียบ เชื่อมโยงสิ่งที่นามาใช้ อุปมา/เปรียบเทียบกับมโนทัศน์หรือแนวคิดของเรื่องที่อ่าน ระบุถึงลักษณะที่มีความเหมือนและแตกต่างกันและเขียนเป็นแผนผังมโนทัศน์ (5) Recite (R) ผู้เรียนเขียนสรุปใจความสาคัญ โดยใช้สานวนภาษาของตนเอง (6) Reflect (R) ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ วิจารณ์บทอ่านและแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเชื่อมโยงความคิดจากบทอ่านกับความรู้เดิมโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้องให้เพื่อนและครูได้รับทราบ ขั้นที่ (5) และ (6) จะใช้เทคนิคการสอนแบบอุปมาเปรียบเทียบ โดยนักเรียนและครูร่วมกันคิดวิเคราะห์ สรุปใจความ จากสิ่งที่นามาอุปมา/เปรียบเทียบเพื่อสร้างเป็นข้อสรุป พร้อมทั้งวิจารณ์ความชัดเจนของสิ่งที่นามาอุปมา/เปรียบเทียบกับสาระสาคัญของเรื่องของบทอ่านและส่วนที่สามแผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบจานวน 8 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.60 ซึ่งอยู่ในระดับดีมากเป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ (2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการอ่านจับใจความของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการอ่านจับใจความของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบสูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05