dc.contributor.author |
สุทธิลักษณ์ ปทุมราช |
|
dc.contributor.author |
สมชัย นิรุตติศาสน์ |
|
dc.contributor.author |
ภาวพันธ์ ภัทรโกศล |
|
dc.contributor.author |
น้ำฝน เข็มทองเจริญ |
|
dc.contributor.author |
อังคาร จารุจารีต |
|
dc.contributor.author |
พงษ์ศักดิ์ สาระภักดี |
|
dc.contributor.author |
สันติ รัตนวารินทร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-10-31T07:25:18Z |
|
dc.date.available |
2018-10-31T07:25:18Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60510 |
|
dc.description.abstract |
ปัจจุบันเทคนิคการตรวจรักษาระดับโมเลกุลโดยการตรวจหาโมเลกุลบ่งชี้ทางชีววิทยา (biomarker) ของเซลล์มะเร็งปากมดลูกด้วยแอนติบอดีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัย มะเร็งปากมดลูกเพื่อใช้ในการตรวจยืนยันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะในการตรวจหาเซลล์มีความผิดปกติในระยะเริ่มต้นซึ่งการพัฒนาเทคนิคนี้มีข้อจำกัดที่สำคัญที่ต้องอาศัยกระบวนการผลิตแอนติบอดีที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ผลผลิตควบคุมได้ยาก และราคาต้นทุนการผลิตสูง ทำให้ไม่สามารถนำเทคนิคดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในงานตรวจรักษาได้อย่างแพร่หลาย อีกทั้งข้อจำกัดเรื่องขนาดของโมเลกุลที่ใหญ่รวมถึงความสามารถในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้โมเลกุลแอนติบอดีไม่ได้รับความนิยมสำหรับประยุกต์ใช้ในการขนส่งโมเลกุลนำสัญญาณสำหรับการตรวจวินิจฉัยหรือขนส่งยาในร่างกายมนุษย์ โครงการนี้จึงทำการพัฒนาเปปไทด์จับจำเพาะต่อรอยโรคมะเร็งปากมดลูกขึ้น โดยใช้ฟาจดิสเพลย์ไลบรารี่ในการสแกนหาเปปไทด์จับจำเพาะต่อโมเลกุลบ่งชี้ทางชีววิทยาของมะเร็งปากมดลูกทูเมอร์สับเพรสเซอร์โปรตีนพีซิกซ์ทีนและโทโพรไอโซเมอร์ทูแอลฟ่า ผลคัดเลือกได้เปปไทด์ที่เมื่อตรวจสอบเปรียบเทียบลำดับเปปไทด์ในฐานข้อมูลพบว่าเปปไทด์ที่ได้ทั้งหมดเป็นเปปไทด์ที่พบค้นพบใหม่และไม่ใช่เปปไทด์ที่เกิดจากความผิดพลาดของกระบวนคัดเลือกพื้นฐานที่มักพบได้ในงานสแกนหาเปปไทด์จับจำเพาะ เมื่อผ่านการทดสอบเปรียบเทียบความสามารถในจับกับโปรตีนเป้าหมายของอนุภาคฟาจแสดงเปปไทด์ที่ได้ทั้งหมดด้วยเทคนิคอีไลซ่าและอิมมูโนฟลูออเรสเซ็นต์ ผลการทดสอบพบว่าเปปไทด์ SHSLLHH สำหรับทูเมอร์สับเพรสเซอร์โปรตีนพีซิกซ์ทีน และเปปไทด์ NERALTL สำหรับโทโพรไอโซเมอร์ทูแอลฟ่า โดยให้ผลความต่างของสัญญาณในเซลล์มะเร็งปากมดลูกมากกว่าเซลล์ไฟโบรบลาสปกติมากกว่าความต่างของสัญญาณที่ได้การย้อมเซลล์ชนิดเดียวกันด้วยอนุภาคฟาจควบคุม 16 และ 21 เท่า ตามลำดับ นอกจากนี้ยังทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ในการนำอนุภาคฟาจจับจำเพาะไปใช้ในการตรวจหารอยโรคมะเร็งปากมดลูกในเบื้องต้นกับตัวอย่างชิ้นเนื้อโดยใช้อนุภาคฟาจจับจำเพาะต่อโปรจีนทูเมอร์สับเพรสเซอร์โปรตีนพีซิกซ์ทีนเป็นต้นแบบเปรียบเทียบกับการใช้แอนติบอดีมาตรฐาน ซึ่งผลปรากฎว่าอนุภาคฟาจสามารถซึมผ่านเข้าเซลล์ได้เมื่อละลายเซลล์ในสารละลายไททรอนเอ็กซ์ตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไปและผลการย้อมตัวอย่างชิ้นเนื้อด้วยอนุภาคฟาจให้ผลสอดคล้องกับการย้อมชิ้นเนื้อด้วยแอนติบอดี และเมื่อใช้เปปไทด์สังเคราะห์สามารถให้สัญญาณตรวจแยกเซลล์มะเร็งได้โดยการย้อมเซลล์สดที่ไม่ผ่านกระบวนการเตรียมใด ๆ โดยใช้เวลาการย้อมตลอดกระบวนการเพียง 5 นาที ซึ่งแสดงถึงโอกาสในการพัฒนาผลผลิตจากโครงการวิจัยไปใช้พัฒนาเทคนิคการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Antibody-based biomarker detection has been widely applied to diagnose and confirm cervical cancer lesions, especially when the lesions are in early stage. However, several limitations such as costly and complicated manufacturing processes and uncontrollable product yield restrain the molecule to be applied as a tracer probe for molecular detections. In addition, molecular size and immunogenicity problems also repress antibody to be used as a contrast agents or therapeutics drugs carrier in in vivo diagnosis and therapeutic applications. This project aims to develop the novel binding peptides for cervical cancer detection. Phage-displayed random peptide library was scanned on cervical cancer biomarkers, tumor suppressor protein p161NK4a and topoisomerase 2 alpha (TOP2A). Binding phages on the biomarker surface was eluted before phage DNA extraction for displayed peptide analysis. The peptide database search engine confirmed that all selected peptides are novel. Binding analysis of the candidate peptides against each biomarker were performed by enzyme-linked immunosorbent assay, immunofluorescence staining, and bioinformatics-based calculation. The results show that peptide SHSLLHH and NERALTL provides the best peptide-protein binding properties against p161NK4a and TOP2A, respectively. Finally, Specific phage binding phage against p161NK4a was used as a modal in the preliminary study of immunohistochemistry staining method in comparison to p161NK4a antibody staining. Immunohistochemistry staining results indicate the possibility of specific binding phage use in cervical cancer detection in tissue samples, when cells were permeabilized in tritron-X 100 solution for 30 minutes at least. Moreover, synthetic peptide could stain the fresh cervical cancer cell and gave the acceptable signal within only 5 minutes of cell staining process. This indicates the possibility of the binding peptide to be used in cervical cancer screening application. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ปากมดลูก -- มะเร็ง |
en_US |
dc.subject |
เซลล์มะเร็ง |
en_US |
dc.title |
โครงการคัดเลือกหาอนุภาคฟาจตรวจจับที่จำเพาะต่อโมเลกุลบ่งชี้ทางชีววิทยาของรอยโรคมะเร็งปากมดลูกโดยใช้คลังของฟาจดิสเพลย์ : โครงการวิจัย เรื่อง : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
en_US |
dc.title.alternative |
Selection of specific binding phage to cervical cancer biomarkers by using phage display library |
en_US |
dc.title.alternative |
โครงการวิจัยเรื่อง โครงการคัดเลือกหาอนุภาคฟาจตรวจจับที่จำเพาะต่อโมเลกุลบ่งชี้ทางชีววิทยาของรอยโรคมะเร็งปากมดลูกโดยใช้คลังของฟาจดิสเพลย์ |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |
dc.email.author |
Suthiluk.P@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.author |
Parvapan.B@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|