dc.contributor.advisor |
อนงค์นาฏ อัศวชีพ |
|
dc.contributor.advisor |
กฤษ อังคนาพร |
|
dc.contributor.advisor |
พรชลิต อัศวชีพ |
|
dc.contributor.author |
หฤทัย สายัณห์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-03T02:23:31Z |
|
dc.date.available |
2018-12-03T02:23:31Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60700 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ Lactobacillus salivarius ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต อัตราการท้องเสีย ปริมาณแบคทีเรียในอุจจาระและลำไส้ สัณฐานวิทยาของลำไส้ และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในลูกสุกรดูดนมที่ถูกกระตุ้นด้วยเชื้อ Escherichia coli F4 โดยทำการศึกษาในลูกสุกรดูดนมอายุ 1 วัน จำนวน 18 ครอก ทำการสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) จำนวน 10 ครอก และกลุ่มที่ 2 (กลุ่มทดลอง) จำนวน 8 ครอก ลูกสุกรในกลุ่มทดลองจะได้รับการป้อน L. salivarius ความเข้มข้น 109 cfu/ml ปริมาตร 5 มิลลิลิตร เป็นเวลา 10 วัน ติดต่อกัน วันที่ 24 ของการทดลอง ทำการสุ่มลูกสุกร (กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง) ครอกละ 1 ตัว เพื่อป้อนเชื้อ E. coli F4 ปริมาตร 5 มิลลิลิตร ความเข้มข้น 108 cfu/ml และในวันที่ 29 ของการทดลอง ทำการการุณยฆาตลูกสุกรที่ป้อนเชื้อ E. coli F4 เก็บตัวอย่างของเหลวในลำไส้และเนื้อเยื่อลำไส้เพื่อวัดค่าทางสัณฐานวิทยา และพารามิเตอร์อื่นๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต อัตราการท้องเสีย ปริมาณของแบคทีเรียในอุจจาระและลำไส้ ค่า pH ของของเหลวในลำไส้ และวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินเอในเยื่อเมือกของลำไส้
ผลการศึกษา พบว่า ลูกสุกรในกลุ่มที่ได้รับ L. salivarius มีอัตราการเจริญเติบโต น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการท้องเสียพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) แต่มีแนวโน้มที่จะมีคะแนนการท้องเสียลดลงในช่วงวันที่ 25-29 ของการทดลอง (p=0.065) ปริมาณแบคทีเรียในอุจจาระพบว่าในวันที่ 10 ของการทดลองกลุ่มที่ได้รับ L. salivarius มีปริมาณของแลคโตบาซิลัสทั้งหมดในอุจจาระสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) มีแนวโน้มที่จะมีอัตราส่วนของปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลัสต่อปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด และแนวโน้มที่จะมีอัตราส่วนของปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลัสต่อปริมาณของเชื้อโคลิฟอร์มทั้งหมดในอุจจาระสูงขึ้นเช่นกัน ในส่วนของเหลวในลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม เจจูนัมส่วนต้น เจจูนัมส่วนท้าย และอิเลียม มีปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดเพิ่มขึ้น (p<0.05) แต่ปริมาณของเชื้อโคลิฟอร์มทั้งหมดและปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลัสทั้งหมดไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ผลทางสัณฐานวิทยาของลำไส้ พบว่าความสูงของวิลไลในลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม เจจูนัมส่วนต้น และเจจูนัมส่วนท้าย และอัตราส่วนของความสูงของวิลไลต่อความลึกของคริปท์ในลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัมของกลุ่มที่ได้รับ L. salivarius เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนค่า pH ของของเหลวในลำไส้ พบว่า ค่า pH ในลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัมมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกันในลำไส้เล็กส่วนอื่นๆ และความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินเอในเยื่อเมือกของลำไส้ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทั้งสองกลุ่มทดลอง (p>0.05) ผลการทดลองสรุปได้ว่า การเสริม L. salivarius สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการเจริญเติบโต มีแนวโน้มในการลดความรุนแรงของการท้องเสีย มีปริมาณของแบคทีเรียแลคโตบาซิลัสในอุจจาระเพิ่มขึ้น มีปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดในลำไส้เพิ่มขึ้น และสามารถปรับปรุงสัณฐานวิทยาของลำไส้ได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this study was to examine the effect of Lactobacillus salivarius on growth performance, diarrhea incidence, fecal and intestinal bacterial counts, intestinal morphology and immune responses of suckling pigs challenged with Escherichia coli F4. Two groups of 1 day old suckling pig from 18 multiparous sows were control group (n=10) and treatment group (n=8). Pigs in treatment group were orally administered with 5 ml. of L. salivarius 109 cfu/ml while piglets in control groups received equal volume of phosphate buffer saline for 10 consecutive days. On day 24, one pig per replicate (both groups) was orally administered with E.coli F4 108 cfu/ml, on day 29, they were euthanized with sodium pentobabital solution for further intestinal morphology analysis. In addition, growth performance, diarrhea incidence, fecal and intestinal bacterial counts and the concentration of immunoglobulin A (IgA) in intestinal mucosa were determined.
The result showed that average daily gain, body weight and weight gain of piglets in the treatment group were improved (p<0.05) , tended to have lower fecal score on day 25-29 (p=0.065). On day 10 of experiment, treatment group had increased total lactobacillus count in feces (p<0.01) and tended to increase total lactobacillus count to total bacteria count ratio and tended to increase total lactobacillus count to total coliform count ratio. Moreover, total bacteria count in duodenum, proximal jejunal, distal jejunal and ileal contents in treatment group were increased (p<0.05) but no significant difference in total coliform count and total lactobacillus count (p>0.05). Villi height and villi/crypt ratio in duodenum, proximal jejunum and distal jejunum from treatment group were increased (p<0.05). The pH of duodenum content in treatment group was significantly decreased (p<0.05), but no significant difference was found in other parts of small intestine. The concentrations of IgA in intestinal mucosa were not different (p>0.05) between groups. In conclusion, L. salivarius supplementation improved growth performance, tended to reduce the severity of diarrhea in piglet, increased total lactobacillus count in feces and total bacteria count in intestinal contents and improved intestinal morphology of piglets. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Agricultural and Biological Sciences |
|
dc.title |
ผลของการเสริม Lactobacillus salivarius ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต อัตราการท้องเสีย ปริมาณแบคทีเรียในอุจจาระและลำไส้ สัณฐานวิทยาของลำไส้ และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในลูกสุกรดูดนมที่ถูกกระตุ้นด้วยเชื้อ Escherichia coli F4 |
|
dc.title.alternative |
Effect of Lactobacillus salivarius on growth performance, diarrhea incidence, fecal and intestinal bacterial counts, intestinal morphology and immune responses of suckling pigs challenged with Escherichia coli F4 |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อาหารสัตว์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Anongnart.S@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Kris.A@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Pornchalit.A@Chula.ac.th |
|
dc.subject.keyword |
DIARRHEA INCIDENCE |
|
dc.subject.keyword |
ESCHERICHIA COLI F4 |
|
dc.subject.keyword |
FECAL MICROORGANISM |
|
dc.subject.keyword |
GROWTH PERFORMANCE |
|
dc.subject.keyword |
IMMUNE RESPONSE |
|
dc.subject.keyword |
INTESTINAL MORPHOLOGY |
|
dc.subject.keyword |
LACTOBACILLUS SALIVARIUS |
|
dc.subject.keyword |
SUCKLING PIG |
|