DSpace Repository

อัตราการเสียชีวิตที่ 1 ปีของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลันแบบเอสทียกในแต่ละระดับของไขมันแอลดีแอล

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุพจน์ ศรีมหาโชตะ
dc.contributor.author โอษิษฐ์ บำบัด
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2018-12-03T02:33:41Z
dc.date.available 2018-12-03T02:33:41Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60771
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับไขมันแอล ดี แอลกับอัตราการเสียชีวิตที่ 1 ปีในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลันแบบเอสทียกในประเทศไทย วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลันแบบเอสทียกจำนวน 1,542 คนตั้งแต่ปี พ.ศ.2542-2558 ที่ได้รับการสวนและเปิดหลอดเลือดหัวใจในโรงพยาบาลตติยภูมิของประเทศไทย แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับไขมันแอลดีแอลตั้งต้น ได้แก่ <70 (กลุ่ม 1), 70-99 (กลุ่ม 2), 100-129 (กลุ่ม 3) และ ≥130  มก./ดล. (กลุ่ม 4) ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ข้อมูลการรักษา และผลการรักษาถูกรวบรวมและวิเคราะห์ ผลการวิจัยหลักได้แก่อัตราการเสียชีวิตที่ 1 ปี ใช้สถิติ T-test, Chi-square และ Survival time analysis ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษา: อัตราการเสียชีวิตที่ 1 ปีในผู้ป่วยกลุ่ม 1-4 คือ 23.0%, 21.2%, 12.3% และ 9.2% ตามลำดับ เมื่อใช้ผู้ป่วยกลุ่ม 4 เป็นฐานในการเปรียบเทียบ Hazard ratio (HR) เท่ากับ 1.91 (95% confidence interval [CI] 1.31-2.80; p<0.001) สำหรับกลุ่ม 1, HR 1.88 (95% CI 1.42-2.49; p<0.001) สำหรับกลุ่ม 2 และ HR 1.21 (95% CI 0.91-1.60; p=0.186) ในการประเมินแบบ multivariate analysis พบว่าปัจจัยที่ใช้ทำนายอัตราตายที่ 1 ปี ได้แก่ การบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าร้อยละ 40 OR 2.01 (95% CI 1.56-2.60; p<0.001), Killip class IV OR 1.76 (95% CI 1.07-2.89; p=0.025), การได้รับการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ OR 1.58 (95% CI 1.12-2.24; p=0.009), การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ OR 1.57 (95% CI 1.09-2.25; p=0.015), ค่าครีเอทินินเกิน 1.5 มก./ดล. OR 1.43 (95% CI 1.06-1.93; p=0.016), หลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น OR 1.40 (95% CI 1.09-2.25; p=0.015) และเพศหญิง HR 1.04 (95% CI 1.03-1.05; p<0.001) ส่วนระดับไขมันแอลดีแอลน้อยกว่า 100 มก./ดล. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.677) สรุปผล: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลันแบบเอสทียกที่มีไขมันแอล ดี แอลต่ำสัมพันธ์กับอัตราตายที่ 1 ปีสูงกว่าผู้ป่วยที่มีไขมันแอล ดี แอลสูง ซึ่งไขมันแอล ดี แอลไม่ใช่ปัจจัยที่ใช้ทำนายอัตราตายที่ 1 ปี เป็นเพียงปัจจัยที่สัมพันธ์กับอัตราตายที่ 1 ปี
dc.description.abstractalternative Methods: This was a retrospective study of 1,542 consecutive patients with ST-elevation myocardial infarction (STEMI) between 1999 – 2015 who was admitted at a tertiary care hospital in Thailand. Every patient underwent primary percutaneous coronary intervention. Patients were classified into 4 groups according to their initial LDL-C level: <70 (group 1), 70-99 (group 2), 100-129 (group 3) and ≥130 mg/dl (group 4). Patient characteristics, treatments and outcomes were gathered. The primary end point was a 1-year all-cause mortality rate. T-test, Chi-square and survival time analysis were used to analyze. Results: The rates of 1-year all-cause mortality were 23.0%, 21.2%, 12.3% and 9.2% in group 1, group 2, group 3 and group 4, respectively.  When compared with group 4, the hazard ratio (HR) was 1.91 (95% confidence interval [CI] 1.31-2.80; p<0.001) for group 1, HR 1.88 (95% CI 1.42-2.49; p<0.001) for group 2 and 1.21 (95% CI 0.91-1.60; p=0.186) for group 3. In multivariate analysis, the predictors of 1-year mortality were left ventricular ejection fraction <40% OR 2.01 (95% CI 1.56-2.60; p<0.001), Killip class IV OR 1.76 (95% CI 1.07-2.89; p=0.025), cardiopulmonary resuscitation OR 1.58 (95% CI 1.12-2.24; p=0.009), heart failure need mechanical ventilator OR 1.57 (95% CI 1.09-2.25; p=0.015), creatinine >1.5 mg/dl OR 1.43 (95% CI 1.06-1.93; p=0.016), triple vessel diseases OR 1.40 (95% CI 1.09-2.25; p=0.015) and female sex HR 1.04 (95% CI 1.03-1.05; p<0.001) but not the LDL-C level (p=0.677) Conclusions: In this single center experience, The lower LDL-C level at time of diagnosis of STEMI was associated with higher 1-year mortality but the effect was not shown after multivariate analysis. This represent LDL-C was not the predictor of 1-year all-cause mortality in STEMI but just associated factor.    
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1261
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject หลอดเลือดโคโรนารีย์ผิดปกติ
dc.subject Coronary heart disease
dc.subject.classification Medicine
dc.title อัตราการเสียชีวิตที่ 1 ปีของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลันแบบเอสทียกในแต่ละระดับของไขมันแอลดีแอล
dc.title.alternative 1 year mortality rate of acute ST-elevation myocardial infarction patients in each of LDL-cholesterol level
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor s_srimahachota@yahoo.co.th
dc.subject.keyword LDL-CHOLESTEROL
dc.subject.keyword STEMI
dc.subject.keyword THAI MORTALITY RATE
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1261


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record