dc.contributor.author |
ไพศาล เทียนไทย |
|
dc.contributor.author |
เกรียงยศ สัจจเจริญพงษ์ |
|
dc.contributor.author |
เผด็จ ธรรมรักษ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร |
|
dc.date.accessioned |
2008-02-29T01:41:12Z |
|
dc.date.available |
2008-02-29T01:41:12Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6103 |
|
dc.description.abstract |
การคัดทิ้งแม่สุกรและสุกรสาวในฟาร์มโดยส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากปัญหาทางระบบสืบพันธุ์สาเหตุของปัญหานี้ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวางในมดลูกและรังไข่ แต่ศึกษากันน้อยมากในท่อน้ำไข่วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ ต้องการทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาที่เกิดขึ้นภายในท่อนำไข่ของสุกรสาวทดแทนที่ถูกคัดทิ้งออกจากฝูงจำนวน 30 ตัว เปรียบเทียบกับแม่สุกรปกติจำนวน 12 ตัว เจาะเลือดและเก็บอวัยวะสืบพันธุ์หลังจากสุกรถูกส่งไปโรงฆ่าสัตว์ ตรวจลักษณะทางพยาธิสภาพและเก็บท่อนำไข่ทั้งสองข้างโดยแบ่งเป็นรอยต่อของปีกมดลูกและท่อนำไข่ (UTJ) อิสมัส แอมพูลล่าเพื่อนำไปศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยาและจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด ซึ่งสุกรสาวทดแทนที่ใช้ในการศึกษานี้มีปัญหาผสมไม่ติด 9 ตัว และปัญหาไม่เป็นสัด 21 ตัว ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ (64%) พบในสุกรกลุ่มที่ผสมไม่ติด ปัญหาที่เกิดขึ้นคือถุงน้ำข้างรังไข่และภาวะน้ำขังภายในท่อนำไข่ ร่วมกับความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ ระดับของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนซึ่งตรวจด้วยวิธี Chemiluminescent Microparticle immunoassay (CMIA) ของสุกรสาวส่วนใหญ่สอดคล้องกับลักษณะการปรากฏของรังไข่ในระยะฟอลลิคูล่าและระยะลูเทียล รวมทั้งการปรากฏของรังไข่ที่มีสภาพคล้ายกับรังไข่ของสุกรในช่วงอายุก่อนการเจริญพันธุ์ เมื่อศึกษาลักษณะของเยื่อบุท่อนำไข่ด้วยกล้องจุลทรรศน์แสงสว่างหลังการย้อมด้วย H&E พบลักษณะเซลล์คัดหลั่งและเซลล์ที่มีซีเลียของเยื่อบุท่อมีความคล้ายคลึงกับสุกรกลุ่มปกติ แต่สุกรสาวจำนวน 7 ตัวพบความผิดปกติเสียหายเช่น การลอกหลุดของเยื่อบุ การขยายของหลอดเลือด การเกิดถุงน้ำในเยื่อบุและชั้นใต้เยื่อบุได้อย่างชัดเจน ส่วนการปรากฏของ nucleated และ cytoplasmic protrusions บนผิวเยื่อบุ การสะสมของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเยื่อบุและการย้อมด้วย PAS ในการศึกษานี้ พบความแปรปรวนที่เกิดขึ้นและไม่พบความแตกต่างในสุกรกลุ่มที่มีปัญหาและกลุ่มปกติ ขณะที่ความสูงของเซลล์เยื่อบุใน UTJ และแอมพูลล่าของสุกรกลุ่มที่มีปัญหาความแตกต่าง (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับสุกรกลุ่มปกติ เมื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด พบว่า เยื่อบุท่อนำไข่ทุกส่วนของสุกรสาวทดแทนที่มีปัญหาไม่เป็นสัดและผสมไม่ติดโดยส่วนใหญ่ พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากเยื่อบุท่อนำไข่ของสุกรปกติอย่างชัดเจน สรุปได้ว่าพารามิเตอร์ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจความผิดปกติของท่อนำไข่สุกรสาว คือความสูงของเยื่อบุเซลล์ รวมทั้งลักษณะพยาธิสภาพทั่วไปภายใต้กล้องจุลทรรศน์แสงแสว่างและกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษาบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุท่อนำไข่ที่สามารถพบได้ในสุกรสาวทดแทนที่ถูกคัดทิ้งจากฟาร์มสุกรบางแห่งของประเทศไทย ซึ่งมีปัญหาผสมไม่ติดและไม่เป็นสัดโดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลทำให้ท่อนำไข่ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The most common reason for culling sows and gilts was reproductive disorders. Its cause is often focusing on the uterus and the ovary whereas the oviduct is not well described. The aim of this study was to investigate the morphological changes of the oviducts from 30 culled replacement gilts comparing to the oviducts from 12 normal sows. Blood samples and female genital organs were taken immediately after slaughter. Post-mortem examinations were made on genital organs and oviductal samples from three different parts (UTJ, isthmus and ampulla) were collected and fixed for analyzing by histological and scanning electron microscopic (SEM) methods. The culled replacement gilts collected for the present study were repeat breeding (n = 9) and anestrus (n = 21). Observations indicate that the most pathological changes (64%) were found in the repeat breeding gilts which comprised par-oviductal cyst and hydrosalpinx associated with the abnormalities of ovary and uterus. The female hormonal levels by Chemiluminescent Microparticle Immunoassay (CMIA) detected from replacement gilts were corresponded to the macroscopic ovaries which represented follicular and luteal phases or prepubertal ovarian appearance. Microscopic examination of the oviductal epithelium by H&E staining reveals that the characteristics of secretory and ciliated cells similar to the normal sow oviducts. However, seven gilts of both repeat breeding and anestrus groups showed the pathological lesions, for instance, the sloughing epithelium, vascular dilatation and cysts in the muscosal fold. The other methods examined the gilt oviducts in this study were the amount of nucleated and cytoplasmic protrusions, the distribution of leukocytes in the epithelium and the PAS staining demonstrated the variable results and were not statistical significantly different in both replacement and normal group. A significant decrease (P<0.05) in the height of epithelium was observed in UTJ and ampulla of replacement gilts compared to normal group. The results from scanning electron microscopy obviously demonstrated the abnormalities of epithelial cells which found in three segments of anestrus and repeat breeding gilts. In conclusion, the height of epithelium and the microscopic pathological changes by light and electron microscopy are the important parameters for indicating the oviduct abnormalities. In addition, the results suggest the oviductal epithelium of culled replacement gilts with repeat breeding and anestrus problems in some commercial sine farms of Thailand was changed and these could be involved in the proper functions of the pig oviduct. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en |
dc.format.extent |
2915379 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
สุกร -- ระบบสืบพันธุ์ |
en |
dc.subject |
รังไข่ |
en |
dc.subject |
เนื้อเยื่อวิทยา |
en |
dc.subject |
จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน |
en |
dc.title |
การศึกษาโครงสร้างของท่อนำไข่สุกรสาวทดแทนที่ถูกตัดทิ้ง โดยใช้วิธีทางเนื้อเยื่อวิทยาและจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
The Morphological studies of infertile replacement gilt oviducts using histological and scanning electron microscopic examination |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
fvetpth@chulkn.chula.car.ac.th |
|
dc.email.author |
Kriengyot.S@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Padet.T@Chula.ac.th |
|