dc.contributor.advisor |
ขำคม พรประสิทธิ์ |
|
dc.contributor.author |
พงศธร สุธรรม |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-01-10T06:34:07Z |
|
dc.date.available |
2019-01-10T06:34:07Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61132 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยฉบับนี้ มุ่งเน้นการศึกษาบริบทของการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดระยอง บริบทของหนังตะลุง คณะ ส.ศิษย์กระบกขึ้นผึ้ง และการวิเคราะห์ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงคณะ ส.ศิษย์กระบกขึ้นผึ้ง ด้วยมูลเหตุที่ว่าการแสดงหนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ หากแต่ได้มีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมมาสู่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ณ จังหวัดระยอง จึงเป็นประเด็นที่มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับการศึกษาค้นคว้าเก็บข้อมูล เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ทางศิลปวัฒนธรรม และที่สำคัญ คือ วงการดนตรีไทย ผลการศึกษาบริบทของการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดระยอง และบริบทของหนังตะลุงคณะ ส.ศิษย์กระบกขึ้นผึ้ง พบว่าหนังตะลุงคณะ ส.ศิษย์กระบกขึ้นผึ้งเป็นหนังตะลุงคณะแรกของจังหวัดระยอง ที่ได้รับอิทธิพลมาจากการแสดงหนังตะลุงทางภาคใต้ โดยย่าแดง ชาวระยองก็นำรูปแบบดั้งเดิมมาประยุกต์ให้มีเอกลักษณ์เหมาะสมกับสภาพทางสังคมของชาวระยอง ได้อย่างสนิทสนมในมิติต่างๆ ทางวัฒนธรรม ซึ่งมีทั้งหมด ๖ ประการ คือ ลวดลายบนตัวหนังตะลุง การขับบท หน้าทับเฉพาะ พิธีกรรม วรรณกรรม และภาษา หนังตะลุงคณะนี้จึงมีชื่อเสียงโด่งดังในจังหวัดระยองและจังหวัดใกล้เคียง การถ่ายทอดไปยังบุคคลในท้องถิ่นกันอย่างแพร่หลาย และได้รับการสืบทอดมาจนกระทั่งนับปัจจุบัน ผลการวิเคราะห์ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงคณะ ส.ศิษย์กระบกขึ้นผึ้ง พบว่าเครื่องดนตรีประกอบการแสดงดังกล่าว มีเฉพาะเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เครื่องดนตรีถูกสร้างขึ้นด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีความเรียบง่ายและสามารถตอบสนองความบันเทิงไปในแบบของชาวระยองได้อย่างชัดเจนหนังตะลุงระยองจึงเป็นการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบจังหวะประกอบจังหวะให้กับการขับร้องของนายหนังตะลุง เพลงที่ใช้ในการขับร้องเป็นเพลงประเภทเพลงลูกทุ่งและเพลงพื้นบ้านการบรรเลงดนตรีจะมีรูปแบบที่ผสมผสานระหว่าง ๒ ภูมิภาค การบรรเลงดนตรีจะเป็นไปในวิถีของระยองจากการวิเคราะห์ท่วงทำนองการขับปรายหน้าบทแล้วพบว่าเป็นการขับบทกลอนที่มีการกำหนดเสียงหลักให้อยู่ในเสียงโด เร มี ซอล การบังคับเสียงดังกล่าวจึงบังเกิดเป็นเสน่ห์ของสำเนียงภาษาที่สามารถบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวระยองได้เป็นอย่างดี |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This research emphasizes on studying the contextual determination behind the shadow theatre performance in Rayong province. The subject for this case study is the performing group called Sor Sitkrabokkhuenphueng by analyzing the group’s musical components in their performances. The reason behind this choice of study is to provide a further understanding of the southern Thai shadow theatre that transferred from its area of origin to the eastern region of Thailand, the province of Rayong, and developed its very own characteristics and uniqueness. Therefore, it is an interesting and fruitful topic, suitable for researching and gathering data sources, which shall ultimately create the new academic-cultural knowledge of the traditional Thai music in other provinces. The studies of the shadow theatre in the Royong province and the contextual development of the Sor Sitkrabokkhuenphueng performing group suggest that the performing group, which is the first performing group ever found in this province, influenced by the southern style shadow theatre, originally introduced by the great master, Ya Daeng. The Royong people adopted the original style and harmoniously applied it in order to suit the cultural preference of the locals in every artistic aspect and cultural dimension. This shadow theatre performing group became famous whether in Rayong and the nearby provinces. Their style of performance inherited through generations until now. The analysis on the musical components of Sor Sitkrabokkhuenphueng shadow theatre reveals that all the musical instruments in their performance are entirely rhythm instruments. Locally, these musical equipments manufactured by the intellect of the Rayongians. They clearly reflected the local ideology of simplicity and beauty in arts and music. Thus, the Rayongian shadow theatre’s style of performance is to create the musical rhythm for the singer. The songs used in this shadow theatre are folk songs and traditional-local songs of Rayong, which are suitable for the Rayongian audiences’ habit and preference. The analysis of the singing in this performance shows that the poem song contains its main tones in do, re, me, and so. With this direction of musical tones, the music for this shadow theatre beautifully created a charming and unique musical accent that characterized the special cultural-musical identity of the Rayong people. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1394 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ดนตรีประกอบการแสดง -- ไทย -- ระยอง |
en_US |
dc.subject |
หนังตะลุง |
en_US |
dc.subject |
Dramatic music -- Thailand -- Rayong |
en_US |
dc.title |
วิเคราะห์ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงคณะ ส.ศิษย์กระบกขึ้นผึ้ง จังหวัดระยอง |
en_US |
dc.title.alternative |
An analysis of music performance accompanying Sor Sitkrabokkhuenphueng’s shadow theatre troupe in Rayong Province |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ดุริยางค์ไทย |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Kumkom.P@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2012.1394 |
|