Abstract:
ปัจจุบันการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีประชากรต่างชาติต่างภาษาอาศัยอยู่หนาแน่น เนื่องจากเป็นพื้นที่ศูนย์รวมความเจริญในหลายๆ ด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ประกอบกับการขยายตัวของชุมชนเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นรัฐบาลจึงมีการวางนโยบายทางด้านการคมนาคมเพื่อรองรับปัญหาการจราจรดังกล่าว โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและการเชื่อมต่อของการเดินทางที่มีประสิทธิภาพหน้าที่พื้นฐานของระบบป้ายสัญลักษณ์ คือการชี้บ่งประโยชน์ใช้สอยและนำทางยิ่งในสถานที่เป็น สถานที่สาธารณะ มีผู้ใช้งานต่างเพศต่างวัย ต่างการศึกษาต่างอาชีพ รวมถึงต่างภูมิลำเนา ยิ่งต้องมีการ ออกแบบที่ส่งเสริมการใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นระบบป้ายสัญลักษณ์จึงเป็นเส้นทางหนึ่งของการเชื่อมประสานทางกายภาพที่เปรียบเสมือนผู้ชี้นำเส้นทางต่างๆ ให้ไปถึงยังจุดมุ่งหมายเป็นการสื่อสารความสัมพันธ์ ระหว่างแผนที่ระบบ สัญลักษณ์ทางด้านการ ออกแบบใช้งาน เพื่อสร้างต้นแบบมาตรฐานการใช้ระบบป้ายสัญลักษณ์ในการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนเข้าด้วยกัน นับเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้ง เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป ในการกำหนดแนวทางการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์นั้น ประกอบไปด้วยแผนที่ ชุดภาพสัญลักษณ์ และป้าย โดยมีองค์ประกอบในงานป้ายสัญลักษณ์เป็นตัวกำหนด เช่นการกำหนดการใช้ชุดตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การกำหนดชุดสีที่จะใช้กับเส้นทางชุดสัญลักษณ์ภาพ โดยมีงานออกแบบดังนี้ 1.สัญลักษณ์ภาพประกอบด้วยชุดสัญลักษณ์ภาพกลุ่ม A (แบบปกติ) และชุดสัญลักษณ์ภาพแบบกลุ่ม B (แบบเส้นกรอบ) ซึ่งเป็นชุดข้อมูลเดียวกัน แต่สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทในการใช้งานวัสดุและการผลิตของระบบป้ายสัญลักษณ์ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยชุดสัญลักษณ์ภาพทั้งหมด ประกอบด้วยสัญลักษณ์บอกทิศทาง จำนวน 8 ภาพ,สัญลักษณ์การให้บริการ จำนวน 6 ภาพ,สัญลักษณ์ประเภทระบบขนส่ง จำนวน 10 ภาพ,สัญลักษณ์บอกสถานที่สำคัญ จำนวน 10 ภาพ 2.ระบบกริดไอโซเมตริก ถูกนำมาใช้กับแผนที่เพื่อสร้างความรู้สึกและการรับรู้ที่เป็น 3 มิติ เส้นตรงแนวทิศเหนือ-ใต้ ถูกแทนที่ด้วย เส้นเอียง 30 องศา และเส้นตรงแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก ถูกแทนที่ด้วยเส้นเอียง-30 องศา เพื่อลดปัญหาการระบุชื่อสถานีบนเส้นแนวนอนที่ซ้อนทับกัน จะมีเพียงบางส่วนของสายสีแดงเข้มและสีเขียวเข้มที่ต้องใช้ชื่อสถานีเป็นตัวเอียง 3.แผนที่แสดงภาพรวมของเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางแต่ละสายที่เลือกมาเป็นกรณีศึกษา 4 ระบบคือ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร รถไฟฟ้าชานเมือง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อแสดงการเชื่อมต่อภายในและภายนอกระบบขนส่งมวลชนทางราง ได้แก่ สถานีขนส่ง/รถทัวร์ รถไฟ รถตู้ เรือด่วน รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แสดงตำแหน่งของสถานที่สำคัญหลักๆ ในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งตำแหน่งท่าอากาศยานและที่จอดรถสาธารณะทั้งนี้แผนที่ได้สร้างการรับรู้ในการเชื่อมต่อขึ้นมา 3 แบบได้แก่ วงกลมสีขาว () คือจุดเชื่อมต่อภายในระบบเดียวกัน เช่น ระหว่างสายสีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้มซึ่งเป็นรถไฟฟ้า BTS วงกลมสีขาวเชื่อมกันคือจุดเชื่อมต่อระหว่างระบบที่ต่างกัน เช่น ระหว่างสายสีแดงเข้มและสีเขียวเข้ม ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองและระบบไฟฟ้า BTS ตามลำดับ และการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ และสถานที่สำคัญโดยการวางสัญลักษณ์ภาพ นอกจากนี้ยังมีการอ้างอิงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ คือแม่น้ำเจ้าพระยา และระบุทิศทางในแผนที่อีกด้วย4.แสดงภาพการพัฒนางานออกแบบ ตั้งแต่การเลือกใช้ระบบกริดสำหรับแผนที่และสัญลักษณ์ภาพ จุดเชื่อมต่อ และส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบ รวมทั้งแบบตัวอักษรแผนภาพเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางแต่ละสายเป็นการนำเสนอข้อมูลที่เน้นเฉพาะสาย สำหรับใช้กับงานระบบป้ายสัญลักษณ์ที่อยู่ในระบบขนส่งสายนั้นๆ แผนภาพแสดงเส้นทางเหล่านี้ สามารถสร้างการรับรู้ในการเชื่อมกับระบบอื่น ๆ ให้แก่ผู้ที่อยู่ในระบบนั้นๆ ได้ โดยใช้วงกลมที่เป็นสีของระบบอื่นระบุตำแหน่งที่มีการเชื่อมต่อแผนภาพเส้นทางชนิดนี้ ยังเพิ่มพื้นที่ในการใส่ข้อมูลอื่นๆ เช่นสถานที่สำคัญ ที่จอดรถสาธารณะ สถานีขนส่ง ท่าเรือด่วน ฯลฯ ที่ละเอียดขึ้นจากแผนที่ภาพรวมอีกด้วยคู่มือแสดงให้เห็นส่วนประกอบของระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับระบบคมนาคมกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ แผนที่ ระบบกริดของแผนที่ ระบบสี เส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางแต่ละสาย แบบตัวอักษร ชุดสัญลักษณ์ภาพ เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้งานหรือพัฒนาต่อ สามารถศึกษาส่วนประกอบต่างๆ เพิ่มเติมได้