dc.contributor.advisor |
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ |
|
dc.contributor.author |
สิรินทร นรินทร์ศิลป์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-01-29T09:28:41Z |
|
dc.date.available |
2019-01-29T09:28:41Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61166 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en_US |
dc.description.abstract |
จังหวัดสมุทรสาครมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรและแหล่งประมง ส่งผลให้มี โรงงานอุตสาหกรรมประเภทดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก เกิดแรงงานที่มีความต้องการที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยสำหรับแรงงานจึงมี ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการอยู่อาศัยของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและประมง ขนาดใหญ่ในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร โดยศึกษาสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงาน ลักษณะทางกายภาพและสภาพการอยู่อาศัย ของแรงงาน ศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยศึกษาแรงงานที่ทำงานในโรงงานขนาดใหญ่ 3 แห่ง ในเทศบาลนครสมุทรสาคร ซึ่งมีแรงงานรวมกันทั้งหมดประมาณ 3,997 คน โดยการสุ่มตัวอย่างทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ จำนวน 400 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่าแรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและประมงขนาดใหญ่ในเทศบาลนครสมุทรสาครมี สัดส่วน เป็นแรงงานไทย ร้อยละ 60 และเป็นแรงงานข้ามชาติ ร้อยละ 40 ของแรงงานทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.8) อยู่ในช่วง อายุ 31-40 ปี (ร้อยละ 59.0) เป็นแรงงานไม่จดทะเบียน (ร้อยละ 52.0) มีระดับการศึกษาประถมศึกษา (ร้อยละ 35.8) มีสถานภาพสมรสแล้ว (ร้อยละ 74.3) มีบุตร 1-2 คน (ร้อยละ 48.5) มีสมาชิกในที่พักอาศัย 3-4 คน (ร้อยละ 34.0) มีระดับรายได้ครัวเรือนอยู่ในช่วง 5,000-10,000 บาท/เดือน (ร้อยละ 52.0) ซึ่งร้อยละ 38.9 มีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายและสามารถเก็บออมได้ แรงงานไทยส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับ เพื่อนบ้านมาก (ร้อยละ 56.3) และจะเข้าร่วมกิจกรรม (ร้อยละ 64.6) ในขณะที่แรงงานข้ามชาติ จะมีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านน้อย (ร้อยละ 55.0) และไม่เข้าร่วมกิจกรรม (ร้อยละ 79.4) ที่อยู่อาศัยของแรงงานไทยส่วนใหญ่ เป็นการเช่าที่ปลูกบ้าน (ร้อยละ 44.2) โดยเสียค่าเช่าที่ดินประมาณ 2,000-3,000 บาท/ปี ในขณะที่แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยโดยการเช่าหอพัก/อพาร์ทเม้นต์ (ร้อยละ 31.9) ค่าเช่าห้องประมาณ 2,000-3,000 บาท/เดือน สภาพที่อยู่อาศัยปัจจุบันของแรงงานทั้งสองประเภทอยู่ในสภาพพอใช้ (ร้อยละ 54.5) ส่วนใหญ่เป็นอาคาร1-2 ชั้น (ร้อยละ 91.5) ก่อสร้างด้วย อิฐ/คอนกรีต (ร้อยละ 65.5) ส่วนใหญ่มีขนาดแปลงที่ดินน้อยกว่า 10 ตร.วา (ร้อยละ 38.6) และมีขนาดห้องที่อยู่อาศัยเพียง 3-10 ตร.ม (ร้อยละ 39.7) ที่มี 1 ห้องอเนกประสงค์ ใช้พักผ่อน/หลับนอน (ร้อยละ 57.5) และใช้ห้องน้ำร่วมกัน (ร้อยละ 65.0) ปัญหาที่อยู่อาศัยของแรงงานทั้งสอง กลุ่มคือ ปัญหาสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยที่เสื่อมโทรม โดยมีทั้งปัญหา น้ำขัง น้ำเน่าเสีย และขยะ (ร้อยละ 78) ปัญหาที่อยู่อาศัยมีสภาพ ไม่มั่นคงแข็งแรงและ มีสภาพทรุดโทรมมาก (ร้อยละ 69.5) ปัญหาที่ต่างกันคือ แรงงานไทยจะมีปัญหาการเงินสำหรับที่อยู่อาศัย (ร้อยละ 30.8) คือ ค่าเช่าสูงเกินกว่าร้อยละ 30 ของรายได้ ส่วนแรงงานข้ามชาติ มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยมากที่สุด (ร้อยละ 34.9) ปัญหาความปลอดภัยนี้ ก็เป็นปัญหาของแรงงานไทยเช่นกัน ผลการศึกษา สรุปได้ว่าการมีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและประมงขนาดใหญ่เข้าไปตั้งกิจการในพื้นที่ได้ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงของเมืองเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดที่อยู่อาศัยของแรงงานที่มักมีที่มีสภาพเสื่อมโทรม มีปัญหาความปลอดภัย ปัญหาคุณภาพชีวิต และสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัย ดังนั้นหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาชน ควรมีส่วนเกี่ยวข้องใน การรับรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกัน และควรต้องมีการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยสำหรับแรงงานควบคู่กับเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรมีส่วนในการจัดให้มีที่อยู่อาศัยสำหรับแรงงานของตน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Samutsakorn Province’s developmental and strategic goals include expansion of the agricultural products processing industry and the fishery industry. This has led to the establishment of a significant number of factories in the area which has, in turn, stimulated demand for workers’ housing near these factories. The provision of accommodation for workers in these factories is an important issue. This study explores the living conditions of workers at large-scale food processing and fishery factories in Samutsakorn City Municipality by examining their economic and social status, and other relevant demographic factors. Four hundred workers were randomly selected for the study from the 3,997 Thai and migrant workers at 3 large factories in Samutsakorn City Municipality. The study examines some of their problems and provides recommendations for improving and developing housing for factory workers. The results indicate that Thais comprise 60 percent of the workforce, with the remaining 40 percent being made up of migrant workers. The majority of these factory workers are female (57.8 percent) in the 31-40-year old age group (59.0 percent). More than half of the workers are illegal migrants (52.0 percent). Many workers only have a primary school level of education (35.8 per cent) while 74.3 percent are married, 48.5 percent have 1-2 children, and 34.0 percent have 3-4 family members in their household. Just over half of the sampled workers have household incomes of 5,000-10,000 baht/month (52.0 percent), but only 38.9 percent indicated that their income was sufficient to cover their expenses and to allow them to save some money (38.9 percent). In regard to the level of their relationships with neighbors, slightly more than half of the Thai workers reported high-level relationships with their neighbors (56.3 percent) and a willingness to participate in activities (54.6 percent), whereas migrant workers had lower level relationships with their neighbors (55.0 percent) and expressed a reluctance to participate in most activities (79.4 percent). Many Thai workers rent plots of land, construct their own houses (44.2 percent), and pay land rent of approximately 2,000-3,000 baht/year. All migrant workers pay rent for dormitory-style accommodation or an apartment (31.9 percent), at the rate of approximately 2,000-3,000 baht/month. Currently, the living conditions for both types of workers are rated as fair (54.5 percent). Their living spaces have 1-2 floors (91.5 percent), with brick walls that are plastered and painted, in a reinforced concrete skeleton (65.5 percent). Frequently the land is less than 40 square meters (38.6 percent). The size of the room may be only 3-10 square meters (39.7 percent), with 1 bedroom (57.5 percent) and a shared bathroom (65.0 percent). Significantly, 30.8 percent of Thai workers reported financial problems. They think that their rent is too costly, as it is greater than 30 percent of their income. Migrant workers face an additional problem regarding the lack of secure accommodation (34.9 percent) because they are unregistered (illegal) and are not protected by Thai laws. Migrant workers, therefore, are concerned about their personal security and that of their property. Security issues also concern Thai workers since the large number of illegal migrants living in these areas makes some Thais feel unsafe. In summary, the establishment of large-scale food processing and fishery factories in this area has had a significant local impact on the physical environment, economy, and society. The physical characteristic of workers’ accommodation has resulted in feelings of insecurity, a reduction in the quality of life, and a decrease in the amenity of the residential environment. Therefore, the relevant organizations and agencies, including the government, the private sector and civil society, should participate in a process to define and solve these problems through appropriate and effective methods of planning, development and regulation. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1653 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
อุตสาหกรรมอาหาร -- ไทย -- สมุทรสาคร -- ลูกจ้าง |
en_US |
dc.subject |
อุตสาหกรรมอาหาร -- ไทย -- สมุทรสาคร -- ลูกจ้าง -- ที่อยู่อาศัย |
en_US |
dc.subject |
อุตสาหกรรมอาหาร -- ลูกจ้าง -- ที่อยู่อาศัย |
en_US |
dc.subject |
Food industry and trade -- Thailand -- Samut Sakhon -- Employees |
en_US |
dc.subject |
Food industry and trade -- Thailand -- Samut Sakhon -- Employees -- Dwellings |
en_US |
dc.subject |
Food industry and trade -- Employees -- Dwellings |
en_US |
dc.title |
สภาพการอยู่อาศัยของแรงงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและประมงขนาดใหญ่ในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร |
en_US |
dc.title.alternative |
Living conditions of workers in large-scale food processing and fishery factories in Samutsakorn Municipality, Samutsakorn Province |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เคหการ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Kundoldibya.p@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2010.1653 |
|