dc.contributor.advisor | ชัญญพร จาวะลา | |
dc.contributor.author | ญาณกร ชลานุสนธิ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-02-01T05:17:10Z | |
dc.date.available | 2019-02-01T05:17:10Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61181 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคำบอกทิศทาง “LI” “NEI” “ZHONG” ในภาษาจีนกลางกับคำภาษาไทยที่มีลักษณะเดียวกัน ทั้งในด้านลักษณะทางวากยสัมพันธ์และความหมาย โดยใช้ทฤษฎีอรรถศาสตร์ปริชานมาวิเคราะห์และอธิบายความหมาย ผลการศึกษาพบว่าในด้านลักษณะทางวากยสัมพันธ์ คำบอกทิศทาง “LI” “NEI” “ZHONG” กับคำบุพบท “ใน” “ข้างใน” “ภายใน” ต้องประกอบร่วมกับคำหรือวลีอื่น ๆ โดยมีลักษณะการประกอบร่วมที่เหมือนกัน 3 ประเภท คือ เมื่อประกอบกับ “คำนาม (สามานยนาม)” “คำบอกสถานที่” “นามวลี (สามานยนามเป็นความหมายหลัก)” และแตกต่างกัน 9 ประเภท คือ เมื่อประกอบกับ “คำนาม (วิสามานยนาม อาการนาม)” “คำบอกเวลา” “คำกริยา และกริยาวลี” “คำคุณศัพท์” “คำสรรพนาม” “คำบุพบท” “คำวิเศษณ์” “นามวลี (วิสามานยนาม หรืออาการนามเป็นความหมายหลัก)” และ “วิเศษณ์วลี” ในด้านความหมายพบว่าคำบอกทิศทาง “LI” “NEI” “ZHONG” กับคำบุพบท “ใน” “ข้างใน” และ “ภายใน” มีความหมายเหมือนกัน 2 ความหมาย คือ เมื่อบ่งถึง “ตำแหน่งภายใน ของพื้นที่ 3 มิติ (สิ่งก่อสร้าง สิ่งของ หรืออวัยวะร่างกาย)” และ “ตำแหน่งภายในของพื้นที่มโนทัศน์ 3 มิติ” และมีความหมายที่แตกต่างกัน 16 ความหมาย คือ เมื่อบ่งถึง “ตำแหน่งภายในของพื้นที่ 3 มิติ (ทรัพยากรธรรมชาติ และอาหาร)” “ตำแหน่งภายในของพื้นที่ 2 มิติ” “ตำแหน่งภายในของพื้นที่ 1 มิติ” “ตำแหน่งภายในของพื้นที่ไร้มิติ” “ภายในขอบเขตทางสังคม” “ภายในขอบเขตของเวลา” “ภายในขอบเขตของความหมายเปรียบเปรย” “ภายในขอบเขตของจำนวนพหูพจน์” “ภายในแหล่งที่มาของข่าวสาร ความรู้” “ภายในสภาพหรือลักษณะ” “ภายในกระบวนการของการกระทำ” “หน่วยงาน องค์กร หรือสมาชิกที่อยู่ในหน่วยงาน องค์กร” “เครื่องแต่งกายที่สวมใส่” “การเป็นเจ้าของ” “วัยหรือช่วงอายุ” และ “บ่งผู้เสริม” | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research are to study and compare the syntactic and semantic features of the direction words “LI” “NEI” and “ZHONG” in Mandarin Chinese and their Thai equivalents by employing a cognitive semantics approach to analyze and explain the meaning of each. Syntactically, the direction words “LI” “NEI” “ZHONG” and the preposition “NAI” “KHANGNAI” “PHAINAI” in Thai possess similar syntactic features, which are often used in combination with a word or phrase. By contrasting “LI”“NEI”“ZHONG” in Mandarin Chinese and "“NAI” “KHANGNAI” “PHAINAI” in Thai, there are 3 similar syntactic features in combination with “common noun”, “location word”, common noun phrase”. However, there are 9 syntactic features that differ in combination with “noun (proper, abstract noun)”, “time word”, “verb and verb phrase”, “adjective”, “pronoun”, “preposition”, “adverb”, “noun phrase” and “adverb phrase”. Semantically, the direction words “LI” “NEI” “ZHONG” and the preposition “NAI” “KHANGNAI” “PHAINAI” have 2 similar meanings, wherein an object lies “within the boundaries of three-dimensional space (building, thing, body), and “conceptual-three-dimensional space”. However, there are 16 meanings that differ when indicating that an object lies within the boundaries of “three-dimensional space (natural resources, food)”, “two-dimensional space”, “one-dimensional space”, “zero-dimensional space”, “human society”, “time”, “metaphorical meaning” “a plural number”, “information sources”, “a condition or feature”, “an action process”, “members or departments of an administrative district”, “clothing”, “possession”, “age” and “complement meaning of verbs”. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.557 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษาจีน -- คำและวลี | en_US |
dc.subject | ภาษาไทย -- คำและวลี | en_US |
dc.subject | Chinese language -- Terms and phrases | en_US |
dc.subject | Thai language -- Terms and phrases | en_US |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบคำบอกทิศทาง “LI” “NEI” “ZHONG” ในภาษาจีนกลางกับคำภาษาไทยที่มีลักษณะเดียวกัน | en_US |
dc.title.alternative | Comparative study of mandarin Chinese direction words “LI” “NEI” “ZHONG” and their Thai equivalents | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาจีน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.557 |