Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทสำหรับเด็กไทยผ่านพฤติกรรมการมอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือ เด็กไทยอายุ 12 เดือน จำนวน 30 คน และเด็กไทยอายุ 18 เดือน จำนวน 30 คน จากครอบครัวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพในงานวิจัยนี้ได้แก่ 1.วิธีการแสดงภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Familiarization) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Jankowski & Feldman (2002) 2.วิธีการถ่ายทอดข้ามหมวดการรับรู้ (Cross-modal transfer) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Feldman, Wallance และ McCarton (1991) 3.วิธีการเปรียบเทียบการมองภาพ 2 ภาพ (Visual-paired comparison) พัฒนาตามแนวคิดของ Rose, Feldman และ Jankowski (2001) และ มีการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือนี้โดยวิธีการหาความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินหรือสังเกตและวัดความตรงตามโครงสร้าง
ในการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการทางสมองและระบบประสาททั้ง 3 การประเมินมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินในระดับที่สูง (r= .903 -.914) วิธีการแสดงภาพอย่างต่อเนื่องมีความตรงตามโครงสร้างที่วิเคราะห์ค่าสถิติด้วย t-test พบว่าเด็กอายุ 18 เดือนมีความเร็วในการประมวลผลดีกว่าเด็กอายุ 12 เดือน (t = -3.098, p < .005)