dc.contributor.advisor |
ตรีศิลป์ บุญขจร |
|
dc.contributor.advisor |
พัชนี ตั้งยืนยง |
|
dc.contributor.author |
นัยน์พัศ อธิษฐ์พัส |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-02-26T13:20:42Z |
|
dc.date.available |
2019-02-26T13:20:42Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61257 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเสรีภาพที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง และนวนิยายของมั่วเหยียนทั้งหมด 7 เรื่อง ได้แก่ ตำนานรักทุ่งสีเพลิง ลำนำกระเทียม อกโตสะโพกใหญ่ ป่าชายเลน ทัณฑ์ไม้จันทน์ ความเหนื่อยล้าแห่งชีวิตและความตาย และกบ และเพื่อศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมจีนที่สัมพันธ์กับแนวคิดเสรีภาพในวรรณกรรมดังกล่าว
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความย้อนแย้งของเสรีภาพเกิดขึ้นจากเสรีภาพที่มีความหลากหลายและเลื่อนไหลแตกต่างกันในแต่ละยุค กล่าวคือ นวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง นำเสนอเสรีภาพของสังคมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาทิ เสรีภาพการประกอบอาชีพ เสรีภาพทางการศึกษา เสรีภาพในการสมาคม และเสรีภาพการแต่งงาน เป็นต้น และอุดมการณ์ “เบญจสัมพันธ์” ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้า พ่อกับลูก สามีกับภรรยา พี่กับน้อง และเพื่อนกับเพื่อน พันธนาการความสัมพันธ์นอกจากสร้างภาวะความย้อนแย้งของเสรีภาพแล้ว ยังเป็นสาเหตุของการเรียกร้องเสรีภาพ
ส่วนนวนิยายของมั่วเหยียนนำเสนอเสรีภาพในบริบทสังคมนิยมที่ตั้งอยู่บนรากฐานความเท่าเทียมตามกฎหมาย อาทิ เสรีภาพการประกอบอาชีพ เสรีภาพการแต่งงาน เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และสิทธิความเท่าเทียม เป็นต้น แต่อิทธิพลของอุดมการณ์ “เบญจสัมพันธ์” และระบบทุนนิยมที่ยังคงฝั่งแน่นอยู่ในสังคม เป็นปัจจัยให้วิถีชีวิตของชาวจีนยังคงดำเนินไปตามครรลองแบบเก่า การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปตามกรอบเสรีภาพและแสดงการต่อสู้และต่อรอง จึงนำมาซึ่งภาวะความย้อนแย้งของเสรีภาพ |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research are to analyze the concept of freedom which appears in the novel entitled The Dream of the Red Chamber and the seven novels by Mo Yan, namely: Red Sorghum, The Garlic Ballads, Big Breasts & Wide Hips, Red Forest, Sandalwood Death, Life and Death Are Wearing Me Out, and Frog; and to study the social and cultural contexts related to the concept of freedom in the novels.
The research has found that the paradox of freedom is derived from the diversity of freedom and different flows in each era. The novel The Dream of the Red Chamber presents the freedom of the society in absolute monarchy such as freedom of occupation, freedom of education, freedom of association and freedom of marriage, etc. and the “five relationships” ideology are the relationship of ruler to ruled, father to son, husband to wife, elder brother to younger brother, friend to friend. Relationship bondage not only creates the paradox of freedom but is also the cause of claims for freedom.
As for Mo Yan’s novels, they present freedom in socialist context based on the principle of equality according to law, such as freedom in earning a living, freedom of marriage, freedom of one’s life and body, and equality rights, etc. However, the influence of the “five relationships” ideology and the capitalist system is firmly embedded in the society. And this is the factor that keeps the Chinese still follow their old way of life. Failure to accept changes in the framework of freedom and the attempt to struggle and negotiate generates the paradox of freedom. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1078 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
เสรีภาพ |
|
dc.subject |
ปรัชญาขงจื๊อ |
|
dc.subject |
ปฏิทรรศน์ |
|
dc.subject |
Liberty |
|
dc.subject |
Philosophy, Confucian |
|
dc.subject |
Paradox |
|
dc.subject |
Cao, Xueqin, approximately 1717-1763. Hong lou meng |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.title |
ความย้อนแย้งแห่งเสรีภาพในนวนิยายเรื่อง ความฝันในหอแดง และนวนิยายของมั่วเหยียน |
|
dc.title.alternative |
The paradox of freedom in the Dream of the Red Chamber and Mo Yan’s novels |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Trisilpa.B@Chula.ac.th,trisilpachula@yahoo.com |
|
dc.email.advisor |
Patchanee.T@Chula.ac.th |
|
dc.subject.keyword |
เสรีภาพ |
|
dc.subject.keyword |
ความย้อนแย้ง |
|
dc.subject.keyword |
เบญจสัมพันธ์ |
|
dc.subject.keyword |
freedom |
|
dc.subject.keyword |
paradox |
|
dc.subject.keyword |
five relationships |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.1078 |
|