dc.contributor.advisor |
จักรกริศน์ เนื่องจำนงค์ |
|
dc.contributor.advisor |
สมชาย จันทร์ผ่องแสง |
|
dc.contributor.author |
รพีพัฒน์ สันโดษ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-02-26T13:23:51Z |
|
dc.date.available |
2019-02-26T13:23:51Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61291 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กากชา ต่อประสิทธิภาพการใช้อาหาร การย่อยได้ปรากฏ การเปลี่ยนแปลงของเมทาโบไลท์ในเลือด และการผลิตก๊าซมีเทน ในอาหารที่ใช้เลี้ยงแพะนมลูกผสม วางแผนการวิจัยแบบสลับ (3 x 3 crossover design) โดยใช้แพะนมลูกผสมพันธุ์ซาแนนจำนวน 9 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 30 ± 3.50 กิโลกรัม เป็นแม่แพะที่ผ่านการคลอดมาแล้ว (multiparous) และอยู่ในช่วงให้ผลผลิตน้ำนมหลังคลอด (lactation) การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยในช่วง 14 วันแรกจะเป็นช่วงของการปรับตัว ช่วงที่เหลืออีก 7 วันจะเป็นช่วงของการเก็บตัวอย่างและข้อมูล แพะแต่ละตัวได้รับอาหารทั้งสามสูตรที่มีการเสริมกากชาลงในสัดส่วนที่ 0 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในรูปของอาหารผสมเสร็จ (Total mixed ration; TMR) (กลุ่มที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ) มีการคำนวณระดับโปรตีนและพลังงานเท่ากันทุกสูตร (isonitrogenous and isocaloric diets) ทำการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ อาหาร เลือด ปัสสาวะ มูล น้ำนม และของเหลวจากกระเพาะรูเมน เพื่อที่จะประเมินค่าพารามิเตอร์ที่สังเกตหลายชนิด ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในกลุ่มทดลองของปริมาณการกินได้ ผลผลิตน้ำนม ค่าเมทาโบไลท์ในเลือด (กลูโคส ไตรกลีเซอไรด์ โปรตีนรวม) ค่าพีเอชในกระเพาะรูเมน กรดไขมันระเหย (volatile fatty acids; VFAs) ค่าอัลลานโทอิน (allantoin) ค่าสมดุลไนโตรเจนและผลผลิตก๊าซมีเทน ส่วนประกอบของโปรตีนในน้ำนมในกลุ่มที่ 3 มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 1 และ 2 ค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้งในกลุ่มที่ 3 สูงกว่าในกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ 1 ส่วนกลุ่มที่ 2 มีค่าการย่อยได้ของสารอินทรีย์ โปรตีนและ NDF ต่ำที่สุดในทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ 3 มีค่าการย่อยได้ของ NDF และ ADF สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น
จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า สามารถใช้กากชาได้ถึงระดับ 10 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในสูตรอาหาร เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารที่ใช้เลี้ยงแพะนมลูกผสมผสมซาเนนได้ โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อปริมาณการให้ผลผลิตและนิเวศวิทยาในกระเพาะรูเมน อย่างไรก็ตาม การเสริมกากชาที่ระดับ 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในสูตรอาหารไม่ส่งผลต่อการผลิตก๊าซมีเทน |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this study aimed to determine effects of tea waste supplementation on productive performance, nutrient digestibility, blood metabolites and methane production in crossbred dairy goats. Nine multiparous crossbred lactating goats (Saanen x Native), with the initial body weight of 30 ± 3.50 kg, were randomly assigned to 3 x 3 crossover design. The experiment consisted of 2 periods with the first 14 d for adaptation and the last 7 d for data and sample collection. Each goat was received 3 dietary treatments with tea waste at 0%, 5% and 10% dry matter inclusion in total mixed ration (TMR) diets (T1, T2 and T3 respectively). All diets were isonitrogenous and isocaloric diets. Several kinds of samples i.e. feed, blood, urine, feces, milk and ruminal fluid were collected to evaluate observation parameters. There was no significant difference in feed intake, milk yield, blood metabolites (glucose, triglyceride, total protein), ruminal fluid pH, volatile fatty acids (VFAs), allantoin, nitrogen balance and methane production among treatments. T3 had a significant effect (p<0.05) on protein composition in milk compared with T1 and T2. The digestibility of dry matter in T3 was higher (p<0.05) than that of T2 but not different from T1. T2 had the lowest digestibility of organic matter, protein and neutral detergent fiber (NDF) among groups. However, T3 had the highest digestibility of NDF and acid detergent fiber (ADF) among groups.
In conclusion, tea waste up to 10% (DM basis) could be supplemented as a protein source in diet of crossbred dairy goats without a negative effect on productive performance and rumen ecology. However, the supplementation of tea waste at 5% and 10% (DM basis) did not affect the methane production. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1519 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
น้ำนมแพะ |
|
dc.subject |
มีเทน |
|
dc.subject |
การหมักในกระเพาะรูเมน |
|
dc.subject |
แทนนิน |
|
dc.subject |
Goat milk |
|
dc.subject |
Rumen fermentation |
|
dc.subject |
Methane |
|
dc.subject |
Tannins |
|
dc.subject.classification |
Agricultural and Biological Sciences |
|
dc.title |
ผลของการเสริมกากชาต่อสมรรถภาพการผลิต การย่อยได้ปรากฏ และ การผลิตก๊าซมีเทนของแพะนมลูกผสม |
|
dc.title.alternative |
Effects of supplementation of tea waste on productive performance, nutrient digestibility, and methane production of crossbred lactating goat |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อาหารสัตว์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Chackrit.N@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Somchai.C@Chula.ac.th |
|
dc.subject.keyword |
แพะนมลูกผสม |
|
dc.subject.keyword |
ก๊าซมีเทน |
|
dc.subject.keyword |
น้ำนม |
|
dc.subject.keyword |
การหมักย่อยในกระเพาะรูเมน |
|
dc.subject.keyword |
แทนนิน |
|
dc.subject.keyword |
กากชา |
|
dc.subject.keyword |
Crossbred |
|
dc.subject.keyword |
dairy goat |
|
dc.subject.keyword |
Methane |
|
dc.subject.keyword |
Milk |
|
dc.subject.keyword |
fermentation |
|
dc.subject.keyword |
Tannin |
|
dc.subject.keyword |
Tea watse (TW) |
|
dc.subject.keyword |
Rumen |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.1519 |
|