DSpace Repository

ปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะแรก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนกพร จิตปัญญา
dc.contributor.author กุลธิดา หุมอาจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-02-26T13:31:17Z
dc.date.available 2019-02-26T13:31:17Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61342
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะแรก ได้แก่ ระดับฮีโมโกลบิน ภาวะโภชนาการ อาการนอนไม่หลับ และกิจกรรมทางกาย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดแตกและตีบตันครั้งแรก อายุระหว่าง 18-59 ปี มีระยะเวลาการเจ็บป่วยตั้งแต่ 3 เดือนจนถึง 1 ปี เพศชายและเพศหญิงที่มาเข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมประสาทและศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 100 ราย ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการเจ็บป่วย ภาวะโภชนาการ อาการนอนไม่หลับ กิจกรรรมทางกาย และความเหนื่อยล้า ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .86, .80, .86 และ .78 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย ค่าสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ค่าสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ร้อยละ 63 ของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะแรกมีความเหนื่อยล้า (Mean = 4.42, S.D. = 1.63) 2. ระดับฮีโมโกลบินและอาการนอนไม่หลับสามารถร่วมกันทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะแรกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 30 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ (Zความเหนื่อยล้า ) = -.42Z ระดับฮีโมโกลบิน + .21Z อาการนอนไม่หลับ
dc.description.abstractalternative This research aimed to investigate predicting factors of fatigue in post-stroke patients in early phase, including hemoglobin level, nutritional status, insomnia and physical activity. One hundred patient with ischemic and hemorrhagic stroke were recruited by a purposive sampling. Participants were followed up at out-patient departments of stroke clinics from Chulalongkorn Memorial Hospital and Police Hospital. The research instruments included the demographic data questionnaire and the illness data form, Fatigue Severity Index, The mini nutritional assessment, Insomnia Severity Index and Global Physical Activity Questionnaire. These instruments were tested for their content validity by a panel of experts. Instrument was tested by using reliability Cronbach's alpha coefficients obtained at .86, .80, .86 and .78, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, Point Biserial correlation coefficients, Pearson's product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression. The major findings were as follows: 1. 63% of post-stroke patients in early phase had fatigue (Mean = 4.42, S.D. = 1.63) 2. Hemoglobin levels and insomnia were statistically significant predictors of fatigue in post-stroke patients in early phase at the level of 05. The power predictor was 30%. The equation derived from the standardized score was: (ZFatigue) = -.42Z hemoglobin levels + .21Z insomnia
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.965
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
dc.subject ความล้า
dc.subject ฮีโมโกลบิน
dc.subject โภชนาการ
dc.subject Cerebrovascular disease -- Patients
dc.subject Fatigue
dc.subject Hemoglobin
dc.subject Nutrition
dc.subject.classification Nursing
dc.title ปัจจัยทำนายความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองระยะแรก
dc.title.alternative Factors predicting fatigue in post-stroke patients in early phase
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor chanokporn.j@chula.ac.th
dc.subject.keyword ความเหนื่อยล้า
dc.subject.keyword ระดับฮีโมโกลบิน
dc.subject.keyword ภาวะโภชนาการ
dc.subject.keyword อาการนอนไม่หลับ
dc.subject.keyword กิจกรรมทางกาย
dc.subject.keyword FATIGUE
dc.subject.keyword HEMOGLOBIN
dc.subject.keyword NUTRITION
dc.subject.keyword INSOMNIA
dc.subject.keyword PHYSICAL ACTIVITY
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.965


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record