dc.contributor.advisor | Jongjit Angkatavanich | |
dc.contributor.author | Pattaraporn Panpitpate | |
dc.contributor.other | Chulalongkorn University. Faculty of Allied Health Sciences | |
dc.date.accessioned | 2019-02-26T13:32:18Z | |
dc.date.available | 2019-02-26T13:32:18Z | |
dc.date.issued | 2015 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61349 | |
dc.description | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2015 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบผลของการดื่มเครื่องดื่มที่มีกรดอะมิโนโซ่กิ่งสูง นมวัว หรือเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬา ต่อสมรรถภาพการเล่นกีฬาในนักฟุตบอลชายจำนวน 49 คน อายุ 16-18 ปี ของทีมโรงเรียนมัธยมในจังหวัดระยองจำนวน 4 ทีม ซึ่งการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ single-blinded crossover trial โดยนักกีฬาจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬา (140 กิโลแคลอรี่ ; คาร์โบไฮเดรต 34.0 กรัม ; ไขมัน 0.001 กรัม) 2) นมวัว (170 กิโลแคลอรี่ ; คาร์โบไฮเดรต 9.0 กรัม ; โปรตีน 10.0 กรัม โดยมี กรดอะมิโนโซ่กิ่ง 1.5 กรัม; ไขมัน 10.0 กรัม) และ 3) เครื่องดื่มที่มีกรดอะมิโนโซ่กิ่งสูง (170 กิโลแคลอรี่ ; คาร์โบไฮเดรต 25.9 กรัม; โปรตีน 10.8 กรัม โดยมีกรดอะมิโนโซ่กิ่ง 4.5 กรัม; ไขมัน 2.8 กรัมt) ในปริมาตร 250 มล. โดยนักกีฬาผู้เข้าร่วมจะได้รับเครื่องดื่มหลังสิ้นสุดการซ้อมทุกวันเป็นเวลา 10 วันสำหรับแต่ละกลุ่ม โดยจะมีช่วงพัก 1 สัปดาห์ก่อนจะเปลี่ยนกลุ่ม ก่อนที่จะได้รับเครื่องดื่มแต่ละชนิดนักกีฬาทุกคนจะต้องได้รับการประเมินปริมาณไขมันในร่างกาย ความอ่อนตัว ความทนทานของกล้ามเนื้อ กำลังกล้ามเนื้อ ความเร็ว และการบาดเจ็บ ในระหว่างที่ได้รับเครื่องดื่มนักกีฬาผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับแบบบันทึกการรับประทานอาหาร (3-day food record) อีกด้วย และจะประเมินอีกครั้งเมื่อครบระยะเวลาการศึกษาของแต่ละกลุ่มเครื่องดื่ม จากผลการศึกษาพบว่าปริมาณไขมันใต้ผิวหนังเพิ่มขึ้นในกลุ่มเครื่องดื่มที่มีกรดอะมิโนโซ่กิ่ง 0.36±1.38% เมื่อเทียบกับกลุ่มนมวัว 0.15±0.85% ในขณะที่กลุ่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬามีปริมาณไขมันใต้ผิวหนังลดลง 0.35±0.92% นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มนมวัวและกลุ่มเครื่องดื่มที่มีกรดอะมิโนโซ่กิ่งสูงมีความมีความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น 0.88±2.00 ซม. และ 0.04±2.49 ซม. ตามลำดับ แต่ลดลงในกลุ่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬา 0.14±1.98 ซม. ในการทดสอบความทนทานของกล้ามเนื้อโดยการวิดพื้นพบว่าในกลุ่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬาและกลุ่มเครื่องดื่มที่มีกรดอะมิโนโซ่กิ่งสูงเพิ่มขึ้น 3.76±8.50 ครั้ง และ 0.33±9.10 ครั้ง ตามลำดับ แต่ลดลงในกลุ่มนมวัว 0.47±4.34 ครั้ง นอกจากนั้นเครื่องดื่มทั้งสามชนิดไม่มีผลต่อกำลังกล้ามเนื้อ (p > 0.05) การทดสอบความเร็วในนักกีฬาพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระยะ 5 ม. 10ม. และ 20 ม.ดังจะเห็นได้จากกลุ่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬามีความเร็วลดลงที่ระยะ 5 ม.0.13±0.26 วินาที ที่ระยะ 10 ม. 0.11±0.22 วินาที และที่ระยะ 20 ม. 0.15±0.23 วินาที เมื่อเทียบกับกลุ่มนมวัวที่ลดลงที่ระยะ 5 ม.0.02±0.11 วินาที ที่ระยะ 10 ม. 0.02±0.14 วินาที และที่ระยะ 20 ม.0.03±0.15วินาที (p<0.05) สำหรับการประเมินการบาดเจ็บพบว่าลดลงในกลุ่มนมวัวเมื่อเปรียบเทียบแบบก่อนและหลัง (p < 0.05) และไม่พบความแตกต่างในกลุ่มเครื่องดื่มที่กรดอะมิโนโซ่กิ่งสูงหรือกลุ่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬา บริเวณที่พบการบาดเจ็บคือ สะโพก เข่า และข้อเท้าด้านซ้าย กล่าวโดยสรุปเครื่องดื่มทั้งสามชนิดมีผลต่อสมรรถภาพการเล่นกีฬาในนักฟุตบอลที่แตกต่างกันทั้งในด้านที่เพิ่มสมรรถภาพและลดสมรรถภาพการเล่นกีฬา | |
dc.description.abstractalternative | This study investigated the comparative effects of high branched-chain amino acid drink, cow milk or sports drink on the performance of 49 male football players aged between 16 and 18 years old in 4 school teams in Rayong province of Thailand. This is a single-blinded crossover trial with 3 subgroups:1) sports drink (140 kcal; 34 g Carbohydrate(CHO); 0.001 g Fat), 2) Cow milk (170 kcal; 9.0 g CHO; 10.0 g Fat; 10 g Protein including 1.5 g Branched-chain amino acids(BCAA) and 3) Branched chain amino acid (BCAA) (168 kcal; 25.9 g CHO; 2.8 g Fat; 10.8 g Protein including 4.5 g BCAA), which were administered in 250 ml package. Each group received a supplement drink after the completion of their match training program every day, for 10 days per supplement with 1-week washout period. Before and after each period these tests were measured: body fat composition, flexibility, muscular endurance, muscle power, speed and injury, and a 3-day food record. The results showed that the BCAA group significantly increased in body fat at 0.36±1.38% compared to cow milk group at 0.15±0.85%, while there was a decrease of 0.35±0.92% in the sports drink group. Flexibility test showed the modest significant increase in milk group at 0.88±2.00cm and 0.04±2.49cm in BCAA group, but lowered in sports drink group by 0.14±1.98cm. For the endurance test by push-ups there were increases of 3.76±8.50 and 0.33±9.10 times in sports drink group and BCAA group respectively, while a decrease was seen in cow milk group of 0.47±4.34 times. Sprint time showed mild significant increase in sports drink group. It was higher between pre and post intervention at 5 m 0.13±0.26 sec, 10 m 0.11±0.22 sec and 20 m 0.15±0.23 sec compared to cow milk group at 0.02±0.11 sec, 0.02±0.14 sec and 0.03±0.15sec, respectively. No significant disparity was observed for muscle power. Evaluation of injuries revealed a significant decrease in cow milk group between pre and post intervention, meanwhile, no significant difference was observed in sports drink group or BCAA group. The hips, knees and ankles were common injury spots. Muscle pain was aggravated when performing sport (p<0.05). In conclusion, branched-chain amino acid drink, sports drink and cow milk had mixed effects on physical performance, either beneficial or undesirable, in male football players. | |
dc.language.iso | en | |
dc.publisher | Chulalongkorn University | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.62 | |
dc.rights | Chulalongkorn University | |
dc.subject | Amino acids | |
dc.subject | Milk | |
dc.subject | Physical fitness | |
dc.subject | Nutrition | |
dc.subject | Functional foods | |
dc.subject | กรดอะมิโน | |
dc.subject | น้ำนม | |
dc.subject | สมรรถภาพทางกาย | |
dc.subject | โภชนาการ | |
dc.subject | อาหารฟังก์ชัน | |
dc.subject.classification | Nursing | |
dc.title | Comparative effects of high branched-chain amino acid drink, cow milk, or sports drink on performance in male football players | |
dc.title.alternative | การเปรียบเทียบผลของการดื่มเครื่องดื่มที่มีกรดอะมิโนโซ่กิ่งสูง นมวัว หรือเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับนักกีฬา ต่อสมรรถภาพการเล่นกีฬาในนักฟุตบอลชาย | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | Master of Science | |
dc.degree.level | Master's Degree | |
dc.degree.discipline | Food and Nutrition | |
dc.degree.grantor | Chulalongkorn University | |
dc.email.advisor | jongjit.a@chula.ac.th | |
dc.subject.keyword | BRANCHED-CHAIN AMINO ACID | |
dc.subject.keyword | COW MILK | |
dc.subject.keyword | SPORTS DRINK | |
dc.subject.keyword | FOOTBALL PLAYERS | |
dc.subject.keyword | PERFORMANCE | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.62 |