DSpace Repository

รูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ดวงเดือน อ่อนน่วม
dc.contributor.author วารี ถิระจิตร
dc.contributor.author รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์
dc.contributor.author พิตรวัลย์ โกวิทวที
dc.contributor.author ดาริกา ยศวัฒน
dc.contributor.author มลิวัลย์ ลับไพรี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-03-06T09:40:05Z
dc.date.available 2008-03-06T09:40:05Z
dc.date.issued 2529
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6171
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัย: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะสร้างรูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา โดยใช้โปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษที่สร้างขึ้นในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) เป็นตัวแบบ วิธีดำเนินการ: การวิจัยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ 1. สร้างรูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา โดยใช้หลักการ/แนวคิดที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กสามารถพิเศษ เป็นแนวทางในการสร้าง 2. ทดลองรูปแบบที่สร้างขึ้นในข้อ 1 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) โดยคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมในโปรแกรมได้ 9 คน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบส่งเสริมการเรียน (enrichment activities) รวมทั้งหมด 13 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ในเวลาเย็นหลังเลิกเรียนแล้ว คือ เวลา 15.30 -16.30 น. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองรูปแบบได้แก่ แบบสอบสมรรถภาพทางสมอง Standard Progressive Matrices ของ Raven แบบสอบการคิดอย่างสร้างสรรค์ Torrance Test of Creative Thinking ของ Torrance แบบสอบถามครู แบบสอบถามผู้ปกครอง แบบสอบถามนักเรียน แบบสำรวจตนเองของนักเรียน และแบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียน 3. สังเคราะห์รูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษตามหลักการ/แนวคิด และการทดลองในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประดม เข้าด้วยกัน แล้วสร้างเป็นรูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา) ผลการวิจัย: 1. ได้รูปแบบโปรแกรมการศึกษาตามหลักการ/แนวคิด ด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษ 2. จากการทดลองรูปแบบโปรแกรมในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) ผลการประเมินโปรแกรมสรุปได้ดังนี้ 2.1 สถานที่นักเรียนทุกคนพอใจสภาพห้องเรียนมาก 2.2 ระยะเวลา นักเรียนทุกคนเห็นว่าการเรียนสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษาเหมาะสมดีแล้ว ส่วนผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นว่า ทุกอย่างเหมาะสมเช่นกัน ยกเว้นมีผู้ปกครอง 1 คน เห็นว่าควรเพิ่มเป็นเรียนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และควรเรียนตลอดปี และมีผู้ปกครอง 3 คนเห็นว่า ควรขยายเวลาเป็น สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ครึ่ง หรือ 2-3 ชั่วโมง 2.3 ลักษณะของโปรแกรม จากลักษณะของโปรแกรมที่ถาม 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบเรียนพร้อม ๆ กันเป็นกลุ่มเล็กประมาณ 10 คน แบบเรียนตัวต่อตัวกับอาจารย์ในวิชาที่สนใจ และแบบแยกนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-3 คน แล้วเรียนวิชาที่สนใจร่วมกัน พบว่าแบบสุดท้ายเป็นแบบที่มีนักเรียนชอบมากที่สุด 2.4. ความเหมาะสมของนักเรียนในโปรแกรม นักเรียน 3 คน เห็นว่าตนเองเหมาะสมที่จะอยู่ในโปรแกรม อีก 8 คน เห็นว่าเหมาะสมปานกลาง ส่วนอาจารย์ประจำชั้นเห็นว่านักเรียน 8 คน เหมาะสมมากที่อยู่ในโปรแกรมส่วนอีก 1 คน เหมาะสมปานกลาง 2.5. ด้านการเรียนการสอน นักเรียนทุกคนพอใจการเรียนการสอนในระดับมาก ส่วนผู้ปกครอง 2 คน มีความพอใจระดับมาก และ 6 คน พอใจระดับปานกลาง 2.6 ลักษณะของกิจกรรมที่นักเรียนชอบ นักเรียนชอบกิจกรรมที่มีลักษณะแปลกใหม่ ไม่เคยพบเห็นในชั้นเรียน เรียนสนุกเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้คิดและได้ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ได้ความรู้ทางวิชาการ เช่น คิดคำนวณได้ รู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2.7 การนำบทเรียนไปใช้ นักเรียนส่วนใหญ่ คือ 6 คน เคยได้มีโอกาสนำเรื่องที่เรียนไปใช้ ได้แก่ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ การสร้างงานศิลปะโดยอาศัยหลักคณิตศาสตร์ การใช้เครื่องคิดเลข 2.8 ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ปกครอง 3 คน เห็นว่านักเรียนได้รับประโยชน์มากจากการเข้าร่วมในโปรแกรมอีก 5 คน เห็นว่าได้รับประโยชน์ปานกลาง ส่วนอาจารย์ประจำชั้นเห็นว่านักเรียนได้รับประโยชน์มาก อีก 2 คน เห็นว่าได้รับประโยชน์ปานกลาง 2.9 ความต้องการเข้าร่วมในโปรแกรม หากโรงเรียนจัดกิจกรรมเช่นนี้อีก นักเรียนทุกคนต้องการเข้าร่วมในโปรแกรมอีก ผู้ปกครองทุกคนก็ต้องการให้บุตรหลานเข้าร่วมในโปรแกรมอีกเช่นเดียวกัน 3. การสังเคราะห์รูปแบบโปรแกรมฯ ตามหลักการ/แนวคิดกับการทดลองเข้าด้วยกัน ทำให้ได้รูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา en
dc.format.extent 4861866 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์ลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การศึกษาพิเศษ en
dc.title รูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา : รายงานการวิจัย en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Duangduen.O@chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record