Abstract:
จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2545 โดยทำการตรวจตัวอย่างอุจจาระไก่พื้นเมือง (ไก่บ้าน) ของเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงปล่อยในชนบทและตัวอย่างอุจจาระไก่เนื้อในฟาร์ม (ไก่ฟาร์ม) ที่เลี้ยงในระบบอุตสาหกรรมพบว่าความชุกของเชื้อซาลโมเนลล่าเท่ากับ 1 และ 5% ตามลำดับ โดยพบเชื้อซาลโมเนลล่าในตัวอย่างเนื้อไก่บ้าน ตัวอย่างเนื้อไก่จากซุปเปอร์มาร์เก็ตและจากตลาดสดเท่ากับ 13, 19 และ 64% ตามลำดับ ซึ่งซีโรวาร์ของเชื้อซาลโมเนลล่าที่พบในแต่ละกลุ่มตัวอย่างมีความหลากหลายแต่ซีโรวาร์ที่พบสูงถึง 43.5% ในตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์ม คือ S. Enteritidis ส่วนในตัวอย่างเนื้อไก่จากซุปเปอร์มาร์เก็ตและจากตลาดสดพบว่าเป็น S. Enteritidis 16 และ 9.2% ตามลำดับ ทั้งนี้ การปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่าในตัวอย่างเนื้อไก่จากซุปเปอร์มาร์เก็ตและจากตลาดสดพบว่าลดลงกว่าที่ตรวจพบในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งพบสูงถึง 48 และ 90% ตามลำดับ สำหรับอัตราการดื้อยาของเชื้อซาลโมเนลล่าที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มพบว่าดื้อต่อยา Ampicillin 21.7%, Chloramphenicol 17.4%, Kanamycin 17.4%, Nitrofurantoin 13%, Tetracycline 17.4%, Nalidixic acid 78.3%, Ciprofloxacin 8.7%, Furazolidone 17.4% และ Sulfamethoxazole 13% โดยมีความไวรับ 100% ต่อยา Sulfamethoxazole+Trimethoprim ทั้งนี้ เชื้อซาลโมเนลล่าที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านพบว่ามีอัตราการดื้อต่อยาต้านจุลชีพ Ampicillin, Tetracycline, Ciprofloxacin, Furazolidone และ Sulamethoxazole สูงกว่าเชื้อที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มซึ่งแตกต่างจากข้อมูลที่ตรวจพบในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านมีอัตราการดื้อต่อยาต่ำกว่ามาก การตรวจหาเชื้อเอ็นเดอโรค๊อคคัยในตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านและไก่ฟาร์มพบว่าเป็นEnterococcus fecalis 46 และ 41% และ E. faecium 42 และ 36% ตามลำดับ โดยเชื้อเอ็นเดอโรค๊อคคัสที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านมีอัตราการดื้อต่อยา Chloramphenicol, Kanamycin, Tetracycline, Erythromycin, Streptomycin, Nitrofurantoin และ Tylosin ต่ำกว่าเชื้อที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มมาก ยกเว้นการดื้อต่อยา Vancomycin ซึ่ง E. fecalis และ E. faecium ที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มมาก ยกเว้นการดื้อต่อยา Vancomycin ซึ่ง E. fecalis และ E. faecium ที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่บ้านพบ 4 และ 8.8% ตามลำดับ ในขณะที่เชื้อที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระไก่ฟาร์มพบ 2 และ 0.8% ตามลำดับ ผลจากการวิจัยนี้แสดงนัยว่าการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่ายังคงอยู่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้การดื้อต่อยาของเชื้อซาลโมเนลล่าต่อยากลุ่ม Fluoroquinolones ยังคงสูงมาก ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการรณรงค์ให้มีการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรอบคอบและเหมาะสมในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อป้องกันและชลอปัญหาเชื้อดื้อยาแก่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งในสถาบันการศึกษาสัตวแพทย์