Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเลือกลักษณะองค์การที่ต้องการ และผลของความต้องการส่วนบุคคลและเพศที่มีต่อการเลือกลักษณะองค์การที่ต้องการร่วมงานด้วย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 216 คน กลุ่มตัวอย่างจะต้องตอบแบบสำรวจลักษณะความต้องการส่วนบุคคลและลักษณะองค์การที่ต้องการร่วมงานด้วย ซึ่งเป็นแบบมาตรวัด 7 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการเป็นอย่างยิ่งที่จะทำงานในองค์การที่มีลักษณะกลุ่มนิยม มีความเหลื่อมล้ำของอำนาจต่ำ และมีความเป็นหญิง รองลงมาได้แก่ องค์การที่มีความเป็นชาย และมีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนต่ำ รู้สึกเฉยๆ ที่จะทำงานในองค์การที่มีการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนสูง และมีลักษณะปัจเจกนิยม แต่ไม่ต้องการเป็นอย่างยิ่งที่จะทำงานในองค์การที่มีความเหลื่อมล้ำของอำนาจสูง ความต้องการส่วนบุคคลมีผลต่อการเลือกลักษณะองค์การที่ต้องมาร่วมงานด้วย โดยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการประสบความสำเร็จสูงต้องการทำงานด้วยมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการประสบความสำเร็จต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ องค์การที่มีความเหลื่อมล้ำของอำนาจต่ำ (Ms = 6.23, 5.86, t[subscript .05(199.46)] = 3.01) มีความเป็นหญิง (Ms = 6.18, 5.88, t[subscript .05(214) = 2.43) และมีความเป็นชาย (Ms = 5.65, 5.02, t[subscript .05(214) = 4.77) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการไมตรีสัมพันธ์สูงและกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการไมตรีสัมพันธ์ต่ำ พบว่า ลักษณะองค์การที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการไม่ตรีสัมพันธ์สูงต้องการทำงานด้วยมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการไมตรีสัมพันธ์ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ องค์การที่มีลักษณะกลุ่มนิยม (Ms = 6.31, 6.00, t[subscript .05(214) = 2.43) มีความเหลื่อมล้ำของอำนาจต่ำ (Ms = 6.30, 5.80, t[subscript .05(194.52) = 4.14) มีความเป็นชาย (Ms = 6.23, 5.85, t[subscript .05(203.66) = 2.11) และมีความเป็นหญิง (Ms = 5.57, 5.13, t.05(214) = 3.26) เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจสูงและกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจต่ำ พบว่า ลักษณะองค์การที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการทำงานด้วยมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ องค์การที่มีลักษณะปัจเจกนิยม (Ms = 3.55, 3.23, t[subscript .05(205) = 2.30) และมีความเหลื่อมล้ำของอำนาจสูง (Ms = 2.07, 1.65, t[subscript .05(181.08) = 2.96) แต่ลักษณะองค์การที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจสูงมีความต้องการทำงานด้วยน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอำนาจต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) คือ องค์การที่มีลักษณะกลุ่มนิยม (Ms = 6.00, 6.30, t[subscript .05(205) = -2.16) กลุ่มตัวอย่างชายและหญิงแสดงความต้องการทำงานในองค์การที่มีลักษณะต่างๆ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นองค์การที่มีลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนต่ำ (Ms = 4.80, 5.12, t[subscript .05(214) = -2.21) โดยกลุ่มตัวอย่างชายรู้สึกเฉยๆ แต่กลุ่มตัวอย่างหญิงต้องการ กลุ่มตัวอย่างชายและหญิงที่มีลักษณะความต้องการส่วนบุคคลแต่ละด้าน (ความต้องการประสบความสำเร็จ ความต้องการไมตรีสัมพันธ์ และความต้องการอำนาจ) ระดับเดียวกัน มีแนวโน้มจะเลือกองค์การที่ต้องการทำงานด้วยไม่แตกต่างกัน