Abstract:
การแยกแลคติกแอซิดแบคทีเรียจากลำไส้ไก่ที่มีสุขภาพแข็งแรงจากตลาดสดแหล่งต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 54 ตัวอย่าง ได้เชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย จำนวนทั้งสิ้น 28 สายพันธุ์ และเมื่อนำมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อทดสอบ Bordetella avium, Listeria monocytogenes, Pasteurella multocida, Proteus vugalis, Pseudomonas aeruginose, Salmonella enteritidis, Salmonella typhimurium และ Staphylococcus aureus พบว่าส่วนน้ำเลี้ยงเชื้อของแลคติกแอซิดแบคทีเรียจำนวน 6 สายพันธุ์ สามารถยับยั้งเชื้อทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง โดยดูความกว้างของบริเวณยับยั้ง และเมื่อนำเชื้อทั้ง 6 สายพันธุ์ มาทำการจัดกลุ่มตามหลักอนุกรมวิธาน สามารพจัดอยู่ในกลุ่มของ Lactobacillus acidophilus 2 สายพันธุ์, Lactobacillus bulgaricus 1 สายพันธุ์, Lactobacillus fermentum 1 สายพันธุ์, Lactobacillus casei Subsp. Tolerans 1 สายพันธุ์, Lactobacillus jensenii 1 สายพันธุ์ และเมื่อนำเชื้อ Lactobacillus spp. แบบผสมไปทดลองเลี้ยงไก่ปรากฏว่า เชื้อในสกุล Lactobacillus fermentum ไม่สามารถเจริญอยู่รอดได้ในลำไส้ของไก่ และการศึกษาผลการให้ Lactobacillus spp. แบบผสมต่อสมรรถภาพในการเจริญเติบโตของไก่พบว่า ไก่กลุ่มทดสอบที่ให้กิน Lactobacillus spp. แบบผสมมีน้ำหนักตัวมากกว่าไก่กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในเรื่องของประสิทธิภาพการใช้อาหารพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อทดสอบผลการท้าทายด้วยเชื้อ Salmonella typhimurium พบว่า ไก่กลุ่มที่ได้รับ Lactobacillus spp. แบบผสมสามารถลดการเป็นพาหะของโรคติดเชื้อ Salmonella บางชนิด ผลที่ได้รับจากการทดลอง อาจกล่าวได้ว่าการใช้ Lactobacillus spp. แบบผสมมีแนวโน้มที่จะช่วยให้สมรรถภาพในการผลิตของไก่เพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกับสารปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโตอื่นๆ และมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้ทดแทนสารปฏิชีวนะที่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้บริโภค