dc.contributor.advisor | มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์ | |
dc.contributor.advisor | คเชนทร์ ตัญศิริ | |
dc.contributor.author | ภคภต เทียมทัน | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-09-14T02:16:27Z | |
dc.date.available | 2019-09-14T02:16:27Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62958 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหมวดคำ หน้าที่ และปริบทการปรากฏของคำว่า "บน" ในภาษาไทย รวมทั้งศึกษาความหมายและมโนทัศน์ กระบวนการและกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย รวมถึงพัฒนาการด้านความหมาย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2559) จำนวน 2,441 แห่ง ตามแนวคิดอรรถศาสตร์ปริชาน (cognitive semantics) ประกอบกับแนวคิดการกลายเป็นคำไวยากรณ์ (grammaticalization) และแนวคิดกระบวนการเกิดคำใหม่ (lexicalization) ผลการวิจัยมี 4 ประการ คือ ประการที่ 1 คำว่า “บน” ปรากฏในหลากหลายปริบท สามารถทำหน้าที่ได้ 4 หน้าที่ ได้แก่ ส่วนหลัก ส่วนขยาย ส่วนเชื่อม และส่วนเติมเต็ม อีกทั้งยังสามารถจำแนกหมวดคำได้ 4 หมวด ได้แก่ คำนาม คำคุณศัพท์ คำบุพบท และคำกริยาวิเศษณ์ ประการที่ 2 คำว่า “บน” จำแนกความหมายได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ ความหมายเกี่ยวกับบริเวณพื้นที่และความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง ความหมายเกี่ยวกับบริเวณพื้นที่ปรากฏความหมาย ‘บริเวณพื้นที่ส่วนที่สูงขึ้นไปหรือเหนือขึ้นไป’ และความหมาย ‘สถานภาพสูงกว่าหรืออำนาจเหนือกว่า’ ส่วนความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งปรากฏความหมาย ‘ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่สิ่งหนึ่งอยู่สูงกว่าหรือเหนือกว่าอีกสิ่งหนึ่ง’ ความหมาย ‘ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่สิ่งหนึ่งอยู่ภายในอีกสิ่งหนึ่ง’ และความหมาย ‘ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่สิ่งหนึ่งอยู่ประชิดข้างอีกสิ่งหนึ่ง’ ประการที่ 3 การเปลี่ยนแปลงด้านความหมายของคำว่า “บน” ปรากฏกระบวนการที่เกี่ยวข้อง 4 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการอุปลักษณ์ กระบวนการนามนัย กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ และกระบวนการเกิดคำใหม่ ส่วนกลไกในกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องมี 5 กลไก ได้แก่ กลไกการขยายความหมายเชิงอุปลักษณ์ กลไกการจางลงทางความหมาย กลไกการคงเค้าความหมายเดิม กลไกการวิเคราะห์ใหม่ และกลไกการอนุมาน ประการที่ 4 พัฒนาการด้านความหมายของคำว่า “บน” แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงจากแวดวงความหมายหรือมโนทัศน์ที่มีความเป็นรูปธรรมไปสู่แวดวงความหมายหรือมโนทัศน์ที่มีความเป็นนามธรรม | |
dc.description.abstractalternative | The study aims to investigate word classes, functions and contexts of the word /bon/ in Thai, along with its meanings and concepts as well as processes and mechanisms of semantic change and development from Sukhothai period to the reign of King Rama IX of Rattanakosin period (2016 A.D.), using cognitive semantics, grammaticalization, and lexicalization as conceptual frameworks. There were 2,441 tokens of the word /bon/ in total, according to this study. It was found that, firstly, the word /bon/ occurred in various distributions, functioning as a head, a modifier, a connector, and a complement. In connection with word classes, it was identified as a noun, an adjective, a preposition, and an adverb. Next, the meanings of the word /bon/ can be classified into two groups. The first group denoted spatial concepts including an area higher or above a reference level and higher or more powerful status. The rest denoted three spatial relations between an entity and another including an entity higher than or above another, an entity inside another, and an entity beside/against but supported by another entity. Then, the semantic change of the word /bon/ involved metaphor, metonymy, grammaticalization, and lexicalization. In addition, the mechanisms involved in grammaticalization were metaphorical extension, semantic bleaching, persistence, reanalysis, and inference. Finally, the meaning development of the word /bon/ also exhibited the change from a concrete meaning to an abstract one. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1041 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | อรรถศาสตร์ | |
dc.subject | ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์ | |
dc.subject | Semantics | |
dc.subject | Thai language -- Semantics | |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | |
dc.title | พัฒนาการของคำว่า “บน” ในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน | |
dc.title.alternative | Development of the word /bon/ in Thai : a cognitive semantic study | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | Mingmit.S@chula.ac.th | |
dc.email.advisor | Kachen.t@ku.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1041 |