DSpace Repository

อิทธิพลของอำนาจและสถานะต่อความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น : ความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่นและการแพร่ทางอารมณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประพิมพา จรัลรัตนกุล
dc.contributor.advisor กฤษณ์ อริยะพุทธิพงศ์
dc.contributor.author ณัฐพัชร์ สิมะรังสฤษฏิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2019-09-14T02:26:37Z
dc.date.available 2019-09-14T02:26:37Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63010
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของอำนาจและสถานะต่อความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ซึ่งวัดด้วยความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่นและการแพร่ทางอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นิสิต ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 99 คน กลุ่มตัวอย่างจะถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขการทดลอง 4 เงื่อนไขในการวิจัย อันได้แก่ กลุ่มเงื่อนไขอำนาจและสถานะสูง กลุ่มเงื่อนไขอำนาจสูงแต่สถานะต่ำ กลุ่มเงื่อนไขอำนาจต่ำแต่สถานะสูง และกลุ่มเงื่อนไขอำนาจและสถานะต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่มีอำนาจสูงจะได้สิทธิ์ในการจัดสรรเงินในกลุ่ม ในขณะที่กลุ่มที่มีอำนาจต่ำจะร่วมการทดลองโดยไม่ได้รับสิทธิ์นั้น ส่วนเงื่อนไขสถานะสูง การตัดสินใจแบ่งเงินของกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการยอมรับจากสมาชิกทุกคนในกลุ่ม แตกต่างจากเงื่อนไขสถานะต่ำที่สมาชิกทุกคนไม่ยอมรับการแบ่งเงินของกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่างดูวิดีทัศน์สื่ออารมณ์กระตุ้นอารมณ์ 4 อารมณ์ คือ สุข เศร้า โกรธและกลัว และวัดการแพร่ทางอารมณ์หลังรับชมวิดีทัศน์ และทำงานจับคู่คำคุณศัพท์ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบสองทาง (Two-way MANOVA) พบว่า อำนาจและสถานะไม่มีอิทธิพลใดต่อตัวแปรความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่น แต่สถานะมีอิทธิพลทางบวกต่อการแพร่ทางอารมณ์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานะสูงได้รับการแพร่ทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีสถานะต่ำทั้งในทุกอารมณ์ที่ระดับ .01
dc.description.abstractalternative This research examined the effects of power and status on two dimensions of empathy: perspective taking and emotional contagion. Ninety-nine undergraduate students from Chulalongkorn university participated in the current study. The participants were randomly assigned into one of these four conditions in a 2 (high power vs. low power) x 2 (high status vs. low status) between subjects design. Those in the high-power condition were allowed to control over a money allocation task while those in the low power condition completed the task without controlling for the outcome. In the high-status condition, participants were informed that all people in their group accepted their decision making about the allocation of the money. In contrast, those in the low status condition were informed that their group members did not accept their money allocation. Two forms of empathy were measured by using stimuli videos relating to specific emotions (joy, sadness, anger and fear) and matching tasks. The results from Two-way MANOVA indicated that no effects of power and status on perspective taking were found. However, status had a positive impact on emotional contagion in all four emotions.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.746
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject อำนาจ (สังคมศาสตร์)
dc.subject อำนาจ (สังคมศาสตร์) -- แง่จิตวิทยา
dc.subject การร่วมรู้สึก
dc.subject การแพร่ระบาดทางอารมณ์
dc.subject Power (Social sciences)
dc.subject Power (Social sciences) -- Psychological aspects
dc.subject Empathy
dc.subject Emotional contagion
dc.subject.classification Psychology
dc.title อิทธิพลของอำนาจและสถานะต่อความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น : ความสามารถในการเข้าใจทัศนะผู้อื่นและการแพร่ทางอารมณ์
dc.title.alternative The Effect Of Power And Status On Empathy : Perspective Takingand Emotional Contagion
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Prapimpa.J@chula.ac.th
dc.email.advisor Kris.Ar@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.746


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record