DSpace Repository

แนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วัชรพงศ์ รติสุขพิมล
dc.contributor.author จิรภัทร สุคันธมาลา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-09-14T02:31:46Z
dc.date.available 2019-09-14T02:31:46Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63041
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การท่องเที่ยวของจังหวัดน่านเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกอย่างมากในปัจจุบัน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยระหว่างปี 2552-2560 สูงเป็นอันดับ 3 ของ 9 จังหวัดภาคเหนือ นอกจากนี้ จังหวัดน่านยังถูกเลือกให้เป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาด โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จากศักยภาพของจังหวัดน่านข้างต้นนี้ จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์หลักในการวิจัยที่ต้องการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแนวโน้มในการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจในการชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว โดยการใช้แบบจำลองอรรถประโยชน์ ที่มีตัวแปรอิสระเป็นปัจจัยด้านความพึงพอใจ ปัจจัยเชิงพฤติกรรมการท่องเที่ยวในอดีต และคุณลักษณะส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ขณะที่ตัวแปรตามคือแนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บแบบสอบถาม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวทั้งหมด 302 คน    ผลการศึกษาที่ได้ พบว่า ปัจจัยด้านความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อแนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน ความพึงพอใจในปัจจัยด้านที่พักส่งผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อแนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ อีกทั้ง ความพึงพอใจในสิ่งอำนวยความสะดวกของการท่องเที่ยวยังส่งผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวที่มีพฤติกรรมชอบท่องเที่ยวภูเขาในอดีต มีความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในทางตรงกันข้าม นักท่องเที่ยวที่พิจารณาอุณหภูมิของสถานที่ท่องเที่ยวก่อนเดินทางอยู่บ่อยครั้ง มีความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
dc.description.abstractalternative Tourism in Nan is positively changing nowadays. This is caused by an increasing in the number of Thai tourists which is the third highest rate in 9 provinces of northern region from 2009-2017. It was also selected by Tourism Authority of Thailand to be one of Thailand’s 12 Hidden Gems. From these potentials, the main purpose of this study was to investigate factors affecting tendency to revisit and intention to invite other tourists. The paper applied utility model predicting tourists' preferences and behaviors towards revisiting and inviting by considering ordered logit for estimating the main model. The data came from primary source by interviews of 302 Thai tourists in Nan. The results indicated that satisfaction in cultural & historical or natural attractions significantly affects tendency to revisit and intention to invite other tourists. Moreover, satisfaction in attractions was ranked the third among preference factors. Similarly, satisfaction in accommodations significantly influenced tendency to revisit. In addition, satisfaction in conveniences, mountain travel, and consideration of temperature significantly affected intention to invite other tourists.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.619
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Economics
dc.title แนวโน้มในการท่องเที่ยวซ้ำ และความตั้งใจที่จะชักชวนผู้อื่นให้มาท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน
dc.title.alternative Tendency to Revisit and Intention to Invite Other Tourists: A Case Study of Nan
dc.type Thesis
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Watcharapong.R@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.619


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record