dc.contributor.advisor |
สุมนทิพย์ จิตสว่าง |
|
dc.contributor.author |
ฉัตรวดี ศิริโภค |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-09-14T02:39:25Z |
|
dc.date.available |
2019-09-14T02:39:25Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63116 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาเรื่องบทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ : ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของท่าอากาศยาน ปัญหาอุปสรรคของท่าอากาศยาน และการพัฒนาแนวทางของท่าอากาศยาน ในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรม ข้ามชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุอาชญากรรมข้ามชาติที่เกิดขึ้น ณ ท่าอากาศยาน รวมทั้งการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานของพนักงานตรวจค้นภายในท่าอากาศยาน และทำการสัมภาษณ์ประชาชนผู้มาใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ผลการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมการบินยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญของกลุ่มองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งกลุ่มก่อการร้าย นอกจากนี้การหลั่งไหลของชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคง การกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่ท่าอากาศยาน ประกอบด้วย การลักลอบขนงาช้าง การลักลอบขนสัตว์ป่า การลักลอบขนยาเสพติด การเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการกระทำที่เป็นการแทรกแซงอันมิชอบด้วยกฎหมาย (Acts of Unlawful Interference) เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าผู้มาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีความเชื่อถือและวางใจในมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินั้น พนักงานตรวจค้นจะต้องมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการคัดกรองวัตถุต้องสงสัยมิให้มีการนำออกไปจากราชอาณาจักร โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชนบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนที่สามารถช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องกันอาชญากรรมให้กับท่าอากาศยาน อย่างไรก็ตามมีกฎหมายที่บังคับใช้กับมาตรการระบบรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งการก่อการร้ายในเขตอากาศยาน ที่เป็นกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นควรมีการทบทวนและหาแนวทางในการปฎิบัติให้แก่ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่อาจต้องมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตามระดับความเสี่ยงของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง รวมถึงท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ ทอท. จะต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมในอนาคต |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research is to study the airport’s roles, the problems and obstacles, and the developing approaches in term of the prevention of transnational organized crime.
This study base on the case of Suvanabhumi International Airport, the qualitative research method, was used for this study by analyzing both qualitative and the descriptive data namely documentary research, related laws collecting, the executives in-depth interviews of the related agencies, who is responsible for the transnational crimes used to occur at the airports, observation of the operation of airport security screening officers, and the airport users interview.
From the study, it is found that the aviation industry is the main target for the transnational crimes and the terrorists. From the data analysis, a massive influx of tourists into Thailand causes such security problems as the transnational crimes have been continuing take place in the airports; for example, elephant tusks smuggling, wildlife smuggling, drugs smuggling, illegal immigration, the acts of unlawful interference, etc. The airport take an important role to prevent transnational crime, screening employees of the airport shall do their duty carefully, this is important to screen suspicious object not to be smuggled from the Kingdom. The advanced technology applied to increase security capability shall be in accordance with International Civil Aviation Organization : ICAO). In addition, the community around the airport should be encouraged for participation to create a good relationship between the communities that can protect the airport from cirminals. However, it was shown by the study that passengers of Suvarnabhumi International Airport trust and have confidence in the airport security measures because there are both national laws and international laws which are enforced for the security measures and the airside terrorism. Therefore, Airport of Thailand Public Company Limited (AOT) must establish the standard operational procedure of airport security measures and review it regularly. The security measures must be applied for all airports under AOT. The security measures may be increased for some airports depending on their risk levels. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1473 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
อาชญากรรมข้ามชาติ |
|
dc.subject |
อาชญากรรมข้ามชาติ -- การป้องกัน |
|
dc.subject |
การป้องกันอาชญากรรม |
|
dc.subject |
ท่าอากาศยาน |
|
dc.subject |
Transnational crime |
|
dc.subject |
Transnational crime -- Prevention |
|
dc.subject |
Crime prevention |
|
dc.subject |
Airports |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
บทบาทของท่าอากาศยานในการป้องกันการกระทำผิดขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ:
ศึกษากรณีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ |
|
dc.title.alternative |
Role of the airport in the prevention of transnational organized crime : a case study of Suvarnabhumi International Airport |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.keyword |
ท่าอากาศยาน |
|
dc.subject.keyword |
องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ |
|
dc.subject.keyword |
ก่อการร้าย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.1473 |
|