dc.contributor.advisor | นราพงษ์ จรัสศรี | |
dc.contributor.author | ภัทรฤทัย กันตะกนิษฐ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-09-14T02:49:56Z | |
dc.date.available | 2019-09-14T02:49:56Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63167 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ สื่อสารสนเทศ การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน และประสบการณ์ของผู้วิจัย พิจารณาข้อมูลเชิงทฤษฎีเชื่อมโยงในประเด็นของรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ การสร้างสรรค์ และแนวคิดการแสดงนาฏยศิลป์ วิเคราะห์ข้อมูล ทดลองพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์เรียบเรียงข้อมูล แสดงขั้นตอนและผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแสดงผลงานสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ที่ปรากฏคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยการคัดเลือกนักแสดงที่มีความหลากหลายในทักษะการเต้นร่วมสมัยและแนวเต้นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้เสียงไวโอลินบรรเลงสดและเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ใช้พื้นที่ในและนอกวงกลมโดยมีเก้าอี้ 9 ตัววางเป็นวงกลมกลางเวที สวมใส่ชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเหมาะสมกับสรีระและลีลานาฏยศิลป์ของนักแสดง ออกแบบแสงให้เห็นมิติของร่างกาย นำเสนอเป็น 3 องก์การแสดง ประกอบด้วย องก์ 1 ยุคบุกเบิก แบ่งเป็น 4 ฉาก คือ ฉาก 1 แนวคิดของลอย ฟูลเลอร์ (Loie Fuller) ฉาก 2 แนวคิดของอิสดอรา ดันแคน (Isadora Duncan) ฉาก 3 แนวคิดของรุท เซนต์เดนนีส (Ruth St Denis) ต่อเนื่องถึงฉาก 4 แนวคิดของเดนนีส-ชอร์น (Denis Shawn) องก์ 2 ยุคสมัยใหม่ศิลปินรุ่น 1 และ 2 แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก 1 แนวคิดของมาธา เกรแฮม (Matha Graham) ฉาก 2 แนวคิดของดอริช ฮัมเฟรย์ (Doris Humphrey) ฉาก 3 แนวคิดของเมอร์ซ คันนิงแฮม (Merce Cunningham) และฉาก 4 แนวคิดของโฮเซ ลีมอน (Jose Limon) องก์ 3 ยุคหลังสมัยใหม่ แบ่งเป็น 4 ฉาก ได้แก่ ฉาก 1 แนวคิดของลูซินดา ไซล์ส (Lucinda Childs) ฉาก 2 แนวคิดของเดวิด กอร์ดอน (David Gordon) ฉาก 3 แนวคิดของสตีฟ แพกซ์ตัน (Steve Paxton) และฉาก 4 แนวคิดของทวีลา ธาร์ฟ (Twyla Tharp) และแนวคิดที่ได้หลังการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์ ประกอบไปด้วยประเด็นที่สำคัญ ประการ ได้แก่ 1) ทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ด้านลีลานาฏยศิลป์ 2) ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยด้านศิลปะและนาฏยศิลป์ 3) แนวคิดของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน 4) คำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ นำมาบูรณาการสร้างผลงานที่มีทักษะหลากหลายโดยไม่ซ้ำแบบใคร 5) ความคิดหลากหลายในงานนาฏยศิลป์ ให้ข้อมูลใหม่ทางด้านการเต้นและการแสดงกับผู้ชม 6) ประสบการณ์ของผู้วิจัย ที่เคยพบมาในด้านต่าง ๆ ผลของงานวิจัยครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยโดยครบถ้วน และคาดว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ทำวิจัยในรุ่นต่อไปได้นำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาเนื้อหาของงานวิจัยในอนาคตต่อไป | |
dc.description.abstractalternative | This study aims to find the pattern and the concepts obtained after the creation of dance from modern and postmodern theories. In this study, several processed were used as following; a creative and qualitative research model with the process of surveying and collecting documentary data, interviewing, observation of information media, seminars, experiences of researchers artist criteria to link the issues of the form of dance performances, dance creation, and the concept of performing dance into the process of data analysis, the development of creative work, the compiled information, the show steps, and the results. The results of the study indicated that the performance model of creative dance works that appeared in accordance with the artist's standard criteria by selecting actors, using live violin and newly composed songs. Moreover, it used the area inside and outside the circle with nine chairs placed in a circle in the middle of the stage. The performance was related to wearing everyday life dresses, suitable for performers’ body and dance style in three acts. Act 1, Pioneering era was divided into 4 scenes through the concepts of 1) Loie Fuller, 2) Isadora Duncan, 3) Ruth St Denis, and 4) Denis Shawn. Act 2, Modern Era was divided into 4 scenes through the concept of 1) Mata Graham, 2) Doris Humphrey, 3) Merce Cunningham, and 4) Jose Limon. Act 3, Postmodern era was divided into 4 scenes through the concept of 1) Lucinda Childs, 2) David Gordon, 3) Steve Paxton, and 4) Twyla Tharp and the concept in the creation of the modern theory and postmodern dance, which consists of: (1) dancing diversity, (2) changing in the Art era, (3) concepts of dance artists, 4) unique creativity, (5) various ideas in dances and (6) a researcher’s experiences in various fields to design and solve problems. The results of this study are in accordance with the research objectives. In addition, it is expected to be useful for the further studies to develop the content of future | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1359 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | |
dc.title | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากทฤษฎีสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ทางด้านนาฏยศิลป์ | |
dc.title.alternative | The creation of a dance from modern and postmodern dance theory | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1359 |