DSpace Repository

ดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยดนตรีสร้างสรรค์: ดุลยภาพลีลาเสียงแห่งวงเชมเบอร์อองซอมเบลอร่วมสมัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธงสรวง อิศรางกูร ณ อยุธยา
dc.contributor.author อนันตญา รอดเทียน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-09-14T02:50:02Z
dc.date.available 2019-09-14T02:50:02Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63176
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การบรรเลงเดี่ยวเปียโนเป็นการแสดงออกถึงความสามารถและศักยภาพของผู้บรรเลง ผู้วิจัยได้ศึกษาและบรรเลงเดี่ยวเปียโนมาโดยตลอดทำให้มีความสนใจในการบรรเลงเปียโนในมิติที่แตกต่างจากเดิม จึงเริ่มทำการศึกษาบทเพลงประเภทเชมเบอร์อย่างจริงจัง งานวิจัยดนตรีสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาศักยภาพในการบรรเลงเปียโนในด้านต่าง ๆ ของผู้แสดง เช่น เทคนิคการบรรเลง และการตีความบทเพลง 2) เผยแพร่บทประพันธ์ประเภทรวมวงขนาดเล็กที่สำคัญแก่ผู้สนใจ 3) เผยแพร่บทประพันธ์ของไทยที่มีเอกลักษณ์ไปสู่สากลโลก และ 4) รวบรวมข้อมูลบทเพลง ผู้วิจัยได้คัดเลือกบทประพันธ์เชมเบอร์ที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญต่อวรรณกรรมในยุคบาโรก ยุคคลาสสิก ยุคโรแมนติก และยุคปัจจุบัน โดยแบ่งออกตามประเภทของเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการบรรเลง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ และกลุ่มเครื่องผสม ทำการวิเคราะห์และตีความบทเพลง ฝึกซ้อม และจัดการแสดง 3 รายการ โดยใช้ชื่อว่า ดุษฎีนิพนธ์การแสดงดนตรี ‘ดุลยภาพลีลาเสียงแห่งเชมเบอร์อองซอมเบลอร่วมสมัย’ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอในรูปแบบวิทยานิพนธ์ ผลจากการวิเคราะห์และตีความบทเพลงใน 3 การแสดงพบว่า การสื่อสารระหว่างผู้บรรเลงเป็นสิ่งจำเป็นในการบรรเลงบทเพลงสำหรับวงเชมเบอร์ เพื่อให้ผลงานแสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้วิจัย ผู้วิจัยทำการตีความบทเพลง ออกแบบเครื่องดนตรีที่เหมาะสมกับแนวทำนองหลักและแนวบรรเลงประกอบ เลือกใช้เปียโนแทนการใช้ฮาร์ปซิคอร์ด รวมถึงคิดค้นการบรรเลงดังเบา และเปลี่ยนอัตราความเร็วของบทเพลง เพื่อปรับรูปประโยคให้มีความไพเราะมากขึ้นโดยใช้เทคนิค การสร้างสรรค์ลีลาลักษณะการบรรเลง (Creative Dramatic Articulation)
dc.description.abstractalternative The creative music research aims to study create inventional interpretation of the Contemporary Chamber Ensemble Music in performing the piano in different dimensions was then formed; therefore, the Chamber music has been seriously studied. The melodic harmonization is used in the style of rhythmical interdependence (a contrapuntal tune) with a rich display of various instrumental colours, in which the performers are able to fully express their emotions to create a unique identity for the chamber music that is interestingly distinct from that of the symphony. The purpose of this thesis is to present 3 newly creative and inventional interpretations of the world standard chamber music within 3 DOCTORAL PIANO RECITALS; ‘THE BALANCE OF SOUND STYLES OF THE CONTEMPORARY CHAMBER ENSEMBLE.’ The researcher selected the famous chamber compositions, which are important to the literature from the Baroque, the Classical, through the Romantic eras until the present. They were categorized into 3 types according to the instrumental balancing used for the performance: a group of string instruments, woodwind instruments, and mixed instruments – in order to gather informatic contents from referencing the related literatures, history, and the results obtained from 3 creative presenting recitals through analyzing music, designing the appropriate instrumental to highlight theme and accompaniment part, using piano in place of harpsichord, and creating the dynamics and tempi to create dramatic articulation.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1372
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title ดุษฎีนิพนธ์งานวิจัยดนตรีสร้างสรรค์: ดุลยภาพลีลาเสียงแห่งวงเชมเบอร์อองซอมเบลอร่วมสมัย
dc.title.alternative Doctoral creative music research : the panchromatic sound characterizing of the contemporary chamber ensemble
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ศิลปกรรมศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1372


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record