dc.contributor.advisor |
เพ็ญพักตร์ อุทิศ |
|
dc.contributor.advisor |
สุนิศา สุขตระกูล |
|
dc.contributor.author |
ศโรชา บุญยัง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-09-14T02:53:39Z |
|
dc.date.available |
2019-09-14T02:53:39Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63209 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเชิงคุณภาพ ตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ ทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 20-59 ปี ที่เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยใน มากกว่า 1 ครั้ง ไม่มีโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย และไม่มีภาวะถอนพิษแอลกอฮอล์ รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีแนวทางการสัมภาษณ์ร่วมกับการบันทึกเสียง นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีของ Colaizzi จนข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 ราย
ผลการวิจัยพบว่า ความหมายของการตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ คือ ความคิด ความรู้สึกที่มีต่อตนเองว่าเป็นคนไม่ดีเพราะติดแอลกอฮอล์ การตีตราตนเองเริ่มจากการที่ตนเองต้องเผชิญกับปฏิกิริยาต่างๆ จากครอบครัวและสังคม แล้วนำปฏิกิริยาที่ตนเองได้รับรู้ให้เข้ามามีผลต่อความคิด ความรู้สึกภายในของตนเอง และสุดท้ายยอมรับว่าตนเองไม่ดีจริงตามที่คนอื่นว่า สำหรับประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การรับรู้มุมมองจากครอบครัวและสังคม 2) การยอมรับตนเองตามที่สังคมมอง และ 3) ผลกระทบจากการยอมรับ (การตีตราตนเอง)
ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับพยาบาลและทีมสุขภาพในการพัฒนากระบวนการบำบัดรักษา และวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่มีการตีตราตนเอง อันจะนำไปสู่การป้องกันการกลับดื่มซ้ำต่อไป |
|
dc.description.abstractalternative |
This qualitative research is based on Husserl's phenomenological concept. The objective is to describe the self-stigma experiences in persons with alcohol dependence, men and women between the ages of 20-59 years, who had experienced more than one admission to inpatient and rehabilitation treatment, no comorbid of psychiatric disorders and without alcohol withdrawal syndrome. Data was collected using in-depth interviews according to interviews guidelines along with audio recording. Verbatim transcription of interview data and Colaizzi method analysis was conducted until the data saturation was achieved from 15 informants.
Findings revealed that the meaning of self-stigma in persons with alcohol dependence was “the ideas, feelings towards themselves that they are bad people due to alcohol dependence”. Self-stigma started from the fact that they had to face various reactions from family and society and then adopted the reactions that they had perceived to affect their inner thoughts and finally accepted that they are not as good as others say. The self-stigma experiences in persons with alcohol dependence consisted of 3 major themes: 1) perception of family and social perspective, 2) self-acceptance as perceived by society, and 3) effect from self-acceptance (self-stigma).
The results of this research reflect the thoughts, feelings, and experiences of self-stigma in alcohol dependence which is basic knowledge for nurses and health care team in the development of appropriate treatment processes and care plan to meet with the needs of alcohol dependence people who have stigmatized themselves in order to prevent alcohol relapse in the future. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1004 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ |
|
dc.subject |
ผู้ติดสุรา |
|
dc.subject |
ความรู้สึกเป็นตราบาป |
|
dc.subject |
Drinking of alcoholic beverages |
|
dc.subject |
Alcoholics |
|
dc.subject |
Stigma (Social psychology) |
|
dc.title |
ประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์ |
|
dc.title.alternative |
Self-stigma experiences in persons with alcohol dependence |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
พยาบาลศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.1004 |
|