Abstract:
ในการป้องกันการฟอกเงินอันเกี่ยวกับธุรกรรมในตลาดทุนของประเทศไทย ประเทศไทยเป็นสมาชิกของกลุ่มความร่วมมือต่อต้านการฟอกเงินเอเชียแปซิฟิก (APG) ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขในการบังคับให้สมาชิกปฏิบัติตามข้อแนะนา 40 ประการของคณะทางานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน (FATF) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีอำนาจในการตรวจสอบการดำเนินงานของทุกๆประเทศให้ปฏิบัติตามข้อแนะนาของ FATF ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการฟอกเงินอันเกี่ยวกับธุรกรรมในตลาดทุนได้แก่ การจัดให้มีนโยบายในการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงและระบุตัวตนเกี่ยวกับลูกค้า การรายงานการทำธุรกรรมทางการเงิน การรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรต้องสงสัยและการเก็บรักษาข้อมูล จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า บทบัญญัติของมาตรการดังกล่าว ยังมีความกระจัดกระจาย โดยอยู่ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กฎกระทรวง กฎหมายลำดับรองและแนวทางปฏิบัติซึ่งออกโดยสำนักงาน.กลต. และมาตรการดังกล่าวยังไม่มีบทบัญญัติในการดำเนินการและบทลงโทษอย่างชัดเจนจากการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียพบว่า ในการดำเนินการดังกล่าวมีบทบัญญัติของกฎหมายและบทลงโทษอย่างชัดเจนในการดำเนินการ อีกทั้งบทบัญญัติของกฎหมายยังกำหนดให้ผู้กำกับดูแลตลาดทุนและหน่วยงานเฉพาะ มีอำนาจในการป้องกันและตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการเพื่อป้องกันการฟอกเงินและบทบัญญัติของกฎหมายยังมีความสอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานที่ FATF กำหนดส่งผลให้การดำเนินการตามมาตรการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นวิทยานิพนธ์เล่มนี้ จึงชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของตัวบทกฎหมายและการดำเนินการตามมาตรการ รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการฟอกเงินอันเกี่ยวกับธุรกรรมในตลาดทุนของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ครอบคลุมรวมทั้งยังมีความล้าหลังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลตามที่ FATF กำหนด ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ