dc.contributor.advisor |
จันทกร แจ่มไพบูลย์ |
|
dc.contributor.author |
อรรถวุฒิ เลิศพิมลชัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-11-05T09:49:16Z |
|
dc.date.available |
2019-11-05T09:49:16Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63826 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
en_US |
dc.description.abstract |
หลักการและเหตุผล: โรคไตเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งจะมีความเสื่อมเพิ่มขึ้นและไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติ สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากได้ เนื่องจากภาวะคั่งยูเรียในเลือด ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงมีข้อสันนิษฐานว่าคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังอาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าคนปกติ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างโรคไตเรื้อรังกับโรคปริทันต์อักเสบ รวมทั้งเปรียบเทียบสภาวะปริทันต์และหาอัตราเสี่ยงของการเป็นโรค ปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเทียบกับคนปกติ วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 5,125 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจสภาวะปริทันต์ การจำแนกประเภทของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังใช้การประเมินจากค่าอัตราการกรองของกรวยกรองไต ซึ่งคำนวณจากระดับครีเอตินินในเลือดร่วมกับการตรวจโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ขณะที่การจำแนกระดับความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบอาศัยค่าเฉลี่ยระดับยึดของอวัยวะปริทันต์ทางคลินิก ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของโรคไตเรื้อรังกับโรคปริทันต์อักเสบด้วยการทดสอบไคสแควร์ รวมทั้งทำการเปรียบเทียบระดับความรุนแรงและค่าการกระจายตัวของโรคระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังกับคนปกติ ด้วยการทดสอบทางสถิติของครัสคาลและวัลลิส และทำการวิเคราะห์หาอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ด้วยสถิติสมการความถดถอยโลจิสติกแบบหลายตัวแปร ผลการศึกษา: มีกลุ่มตัวอย่างที่มีข้อมูลครบถ้วนทั้งสิ้น 3,206 คน มีอายุระหว่าง 39-73 ปี พบว่า โรคไตเรื้อรังกับโรคปริทันต์อักเสบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทั้งระดับปานกลางและระดับรุนแรง จะมีความชุกของโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าในกลุ่มคนปกติ นอกจากนี้พบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะมีค่าเฉลี่ยระดับยึดอวัยวะปริทันต์ และค่าการกระจายตัวของโรคปริทันต์อักเสบสูงกว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และพบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะมีอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคปริทันต์มากกว่าคนปกติ 1.24-1.55 เท่า อย่างไรก็ตามภายหลังการวิเคราะห์หาอัตราเสี่ยงปรับ โดยการควบคุมปัจจัยด้านเพศ อายุ เศรษฐานะ การศึกษา การสูบบุหรี่และโรคเบาหวาน ไม่พบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีความเสี่ยงในการโรคปริทันต์อักเสบแตกต่างจากคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: โรคไตเรื้อรังมีความสัมพันธ์ แต่ไม่เป็นอิสระกับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะทั้งสองโรคมีหลายปัจจัยร่วมที่เหมือนกัน โดยผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีสภาวะปริทันต์ที่ไม่ดีเมื่อเทียบกับคนปกติ ดังนั้นควรมีการสนับสนุนให้มีการใส่ใจถึงสภาวะปริทันต์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีสุขภาพช่องปากดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นไปด้วย |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Background: Chronic kidney disease (CKD) which is a progressive and irreversible loss of functioning nephrons, can have effects on the oral health. Since uremic condition impairs the immune system, it is suggested that subjects with CKD would have a higher risk of periodontitis compared with individuals without CKD. Objectives: To determine the association between CKD and periodontitis, as well as to compare periodontal status and analyze the risk of periodontitis between subjects with and without CKD. Methods: The population in our study consisted of 5,125 employees of the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). Subjects underwent history taking, physical and periodontal examination. The status of chronic kidney disease was stratified according to the level of glomerular filtration rate (GFR) which was calculated from serum creatinine level and the amount of protein found in urine. The severity of periodontal disease was categorized by the mean clinical attachment level (CAL). The association between CKD and periodontitis was analyzed using Chi-square test. The differences in severity and extent of periodontitis between CKD and normal subjects were then determined using Kruskal-Wallis test. Multivariable logistic regression models were used to estimate odds ratios for periodontitis using subjects without CKD as the referent group. Results: Of 3,206 subjects (age 39-73 years), the result showed an association between CKD and periodontitis (p<0.01). Both moderate and severe CKD groups had higher prevalence of periodontitis compared to non-CKD group. Moreover, the mean CAL and the extent of periodontitis also statistically increased in subjects with CKD (p<0.01). CKD cases were approximately 1.24-1.55 fold more likely to have moderate and severe periodontitis compared with non-CKD cases. However, multivariate models were not significant after adjusting for gender, age, income, education, smoking and diabetes. Conclusion: CKD was not independently associated with periodontitis possibly from sharing common risk factors. However, the periodontal status in CKD subjects was worse than those without CKD. Therefore, periodontal care should be recommended to patients with CKD to maintain their oral health which may lead to improve patient’s quality of life. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2221 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
โรคปริทันต์อักเสบ |
en_US |
dc.subject |
ไตวายเรื้อรัง |
en_US |
dc.subject |
ไต -- โรค |
en_US |
dc.subject |
Periodontitis |
en_US |
dc.subject |
Chronic renal failure |
en_US |
dc.subject |
Kidneys -- Diseases |
en_US |
dc.title |
ความเสี่ยงของโรคปริทันต์อักเสบในคนเป็นโรคไตเรื้อรัง |
en_US |
dc.title.alternative |
Risk of periodontitis in subjects with chronic kidney disease |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ปริทันตศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Chantrakorn.C@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2011.2221 |
|