dc.contributor.advisor |
สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน |
|
dc.contributor.author |
ภูมิฐาน สิริเลอสรวง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-11-06T08:42:49Z |
|
dc.date.available |
2019-11-06T08:42:49Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63849 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
en_US |
dc.description.abstract |
นโยบายที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ด้านหลัก ได้แก่ (1) นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว และ (2) นโยบายฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนนักท่องเที่ยวและคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญในการวางแผนและดูแลแหล่งท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก การพัฒนาการท่องเที่ยวจะต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานทั้ง 2 ด้านไปพร้อมๆกัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนนักท่องเที่ยวและสภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว และศึกษาการดำเนินนโยบายร่วมกันอย่างเหมาะสมระหว่างนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและนโยบายฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่าในระยะสั้นการเปลี่ยนแปลงจำนวนนักท่องเที่ยวและคุณภาพสิ่งแวดล้อมมี 2 แบบ คือ (1) เพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียงอย่างเดียว และ (2) เพิ่มขึ้นสลับลดลงส่วนแนวโน้มในระยะยาวแบ่งเป็น2 รูปแบบคือ(1)เปลี่ยนแปลงจนเข้าใกล้สภาวะคงตัว และ(2) เปลี่ยนแปลงจนออกห่างจากสภาวะคงตัว สำหรับในกรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด หากไม่มีการดำเนินนโยบายใดๆ การปรับตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มผันผวนลดลงเข้าใกล้สภาวะคงตัว โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 325,288คนต่อปี และคุณภาพน้ำร้อยละ 60.68แต่หากมีการดำเนินนโยบายที่เหมาะสม จะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ798,000 ต่อปี และมีคุณภาพน้ำที่ระดับร้อยละ60.25 โดยนโยบายที่เหมาะสมคือ ในช่วงแรก ควรมีการฟื้นฟูคุณภาพน้ำมากและส่งเสริมการท่องเที่ยวน้อย หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ลดการฟื้นฟูคุณภาพน้ำและเพิ่มการส่งเสริมการท่องเที่ยวสลับกันเพื่อลดความผันผวนที่จะเกิดขึ้น และในสภาวะคงตัวจะมีค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการท่องเที่ยว 2 ล้านบาทต่อปี และต้นทุนการฟื้นฟูคุณภาพน้ำ 336 ล้านบาทต่อปี และได้รับรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจากการไม่มีนโยบายประมาณร้อยละ 46.21 |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Tourism policy can be separated in to 2 categories: (1) tourism promotion policy, and (2) environmental quality restoration policy.Both policies should be employed optimally in tourism development. Policy planner has to take into account the interaction between number of tourist and environmental quality carefully. This thesis studies the relationship between number of tourist and quality of the environment and finds the possible optimal policies between tourism promotion and restoration ones. The result shows that in the short run a change in the number of tourist and quality of environment can be either monotonic or oscillatory. In the long run, the adjustment can be both converge to steady state or diverge out of steady state. In case of KhaoLaemYa- Moo KohSamed national park, without any policy, the number of tourist and water quality oscillate and converge to the steady state of 325,288 tourists per year and 60.68% of water quality respectively. With optimal policy, the steady state number of tourist increases to 798,000 tourists per year, while the quality of water is almost indifferent. The optimal policy calls for the high level of environmental restoration with low level of promotion expenditure in the beginning period. These expenditures oscillate over time until reaching the steady state. At the steady state, the budget for tourism promotion is approximately 2 million baht per year and the budget for water quality restoration is approximately 336 million baht per year. The net benefit would increase approximately 46.2% compared to the case without policy. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1827 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การท่องเที่ยว -- นโยบายของรัฐ |
en_US |
dc.subject |
การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว -- นโยบายของรัฐ |
en_US |
dc.subject |
Travel -- Government policy |
en_US |
dc.title |
การวิเคราะห์เชิงพลวัตของการดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและนโยบายฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างเหมาะสม |
en_US |
dc.title.alternative |
A dynamic analysis of optimal joint promotion and environmental restoration policies in tourism |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Sittidaj.P@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2012.1827 |
|