dc.contributor.advisor |
มาลินี อาชายุทธการ |
|
dc.contributor.author |
วิชัย สวัสดิ์จีน |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-11-08T09:55:54Z |
|
dc.date.available |
2019-11-08T09:55:54Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63881 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงโขนเยาวชนร่วมสมัย คณะโขนจิ๋วบ้านยิ้ม ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 – พ.ศ.2553 โดยมุ่งศึกษาประวัติความเป็นมาของคณะโขนจิ๋วบ้านยิ้ม องค์ประกอบและการจัดการการแสดง รวมถึงวิธีแสดง ซึ่งเน้นการแสดงชุด “นั่งดูโขน นอนดูหนัง เอนหลังดูหุ่น” เป็นสำคัญ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ การสำรวจ การสัมภาษณ์บุคคลผู้เกี่ยวข้องในคณะ โขนจิ๋วบ้านยิ้ม และสังเกตการณ์การแสดงในโอกาสต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่าคณะโขนจิ๋วบ้านยิ้มก่อตั้งในปีพ.ศ.2535 โดยนายประเสริฐ สุวรรณวัฒน์ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการในคณะ อีกทั้งมีนางเอื้อมพร สุวรรณวัฒน์ (ภรรยา) เป็นผู้ช่วยดูแล ในรายละเอียดส่วนต่าง ๆ นายประเสริฐได้นำประสบการณ์ด้านศิลปะทั้งด้านงานช่างศิลป์และด้านการแสดงโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้ช่วยกิจการในคณะหุ่นกระบอกดนตรีไทยสุวรรณวัฒน์ของบิดา (นายยุ้ย สุวรรณวัฒน์) ซึ่งทำให้ นายประเสริฐมีความชำนาญในการแสดงหุ่นกระบอกเรื่องรามเกียรติ์ และได้นำมาประยุกต์ให้มีความใกล้เคียงกับการแสดงโขนแบบจารีต โดยปรับให้เข้ากับบุคลิกตามธรรมชาติของผู้แสดงซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลบ้านยิ้ม (อายุ 3 - 5 ปี) ต่อมาเปิดรับผู้แสดงที่เป็นเยาวชนภายนอก ทำให้ช่วงอายุของผู้แสดงเพิ่มขึ้น (อายุ 3 - 12 ปี) ลักษณะการแสดงในช่วงแรกของคณะโขนจิ๋วบ้านยิ้มเป็นเพียงการแสดงโขนโดยเยาวชนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 โรงเรียนอนุบาลบ้านยิ้มได้ปิดตัวลง นายประเสริฐ จึงมีเวลาในการสร้างสรรค์หุ่นละครเล็ก และหนังใหญ่ขึ้น และนำมาแสดงแทรกในการแสดงโขน ตอนหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา ซึ่งเป็นการนำการแสดง 3 ประเภทที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ มาเรียงร้อยเป็นการแสดงชุดเดียวกัน โดยใช้ชื่อชุด การแสดงว่า “นั่งดูโขน นอนดูหนัง เอนหลังดูหุ่น” การแสดงชุดนี้ได้ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ ขึ้นใหม่ แต่ยังบ่งบอกถึงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติได้อย่างดี จึงถือเป็นการแสดงในลักษณะนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยเรียกว่า “การแสดงโขนเยาวชนร่วมสมัย” งานวิจัยฉบับนี้เป็นการนำเสนอการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยศิลป์ โดยศิลปินยุคปัจจุบัน ที่อาศัยรากฐานทางศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานรวมทั้งใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการขัดเกลาเยาวชนในชุมชนให้รู้จักจริยธรรมในการพัฒนาตน พัฒนาชุมชน และพัฒนาชาติ ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งให้ศิลปินรุ่นหลังได้นำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this thesis was to study the contemporary youth khon performed by Khon Jew Baan Yim Troup during 1992 - 2010 in three areas: history, composition and performance management including methods of performance focused on a set of performance entitled “Sitting Watching Khon, Lying Watching Grand Shadow Playing, Relaxing Watching Puppet.” Data were collected from document, surveying, interviewing and observing. The reason of the study were as follow: Khon Jew Baan Yim Troup founded in 1992 by Mr.Prasert Suwanwat. He was the controller and supervisor. Mrs.Aeumporn Suwanwat was in charge of general details. Mr.Prasert Suwanwat’s art experience in artistic craft and performance was brought into use especially his experience in the troup of Suwanwat Thai Musical Puppet owned by his father, Mr.Yui Suwanwat. Mr.Prasert Suwanwat’s skills in puppet performance of Ramayana were applied with traditional khon adjusting to natural characters of performer which were student aged 3 - 5 years from Baan Yim Nursery School. Later the performer were outside youth aged 3 - 12 years. The performance in the early period was only khon performance. In 2001 Baan Yim Nursery School closed. Mr.Prasert Suwanwat spent his time creating puppets and grand shadow playing. Puppets and grand shadow playing were inserted in the performance of khon entitled “Hnuman and Nang Supanmajcha” this was the presentation of three performances which had been the ancient cultural bases in one set entitled “Sitting Watching Khon, Lying Watching Grand Shadow Playing, Relaxing Watching Puppet.” The new arrangement had been newly created but still reflected the natural culture. The performance was a contemporary dance called “Contemporary Youth Khon Performance.” This thesis was the presentation of dancing creativity by present day artists based on Thai art and culture as main factor using art as device in teaching youth in the community to know morality in self development, community development and nation development. This thesis was expected to be the guide line for later artists to applied in their future work. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.534 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
โขน |
en_US |
dc.subject |
การรำ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
นาฏศิลป์ไทย |
en_US |
dc.subject |
Khon (Dance drama) |
en_US |
dc.subject |
Dance -- Thailand |
en_US |
dc.subject |
Dramatic arts, Thai |
en_US |
dc.title |
โขนเยาวชนร่วมสมัย : คณะโขนจิ๋วบ้านยิ้ม |
en_US |
dc.title.alternative |
Youth contemporary Khon : Khon Jew Baan Yim Troupe |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
นาฏยศิลป์ไทย |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Malinee.A@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2010.534 |
|