Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมกับผลการดำเนิน งานและกระแสเงินสดของกิจการในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้แนวคิดว่าการรวมธุรกิจจะก่อเกิดผลดีในรูปแบบต่าง ๆ แก่องค์กร โดยค่าความนิยมที่เกิดขึ้น นั้นเป็นการย้ายไปเพื่อคาดหวังถึงกำไรส่วนเกินหรือผลประโยชน์ทีคาดว่าจะได้รับในอนาคต จาก การศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยในช่วง พ.ศ. 2543-2547 พบกลุ่มตัวอย่างจำนวน 76 บริษัท คิดเป็นข้อมูลในการศึกษา 224 ข้อมูล ยกเว้น กลุ่มธุรกิจการเงิน และบริษัทที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ ออกเป็น 2 ประเภทคือ (1) สถิติเชิงพรรณนาเป็นการทดสอบข้อมูลให้อยู่ในรูปของการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติเชิงอนุมาน เป็นการทดสอบสมมติฐานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 95%เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมกับ ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งเป็นการวัดผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับในรูปของเกณฑ์คงค้าง และเกณฑ์เงินสด ตามลำดับ โดยมีอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี อัตราส่วนแสดงสภาพหนี้ และประเภทอุตสาหกรรม เป็นตัวแปรควบคุม ผลการวิจัยพบว่าค่าความนิยมที่รับรู้และแสดงอยู่ในงบการเงิน ณ งวดปัจจุบัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานในอนาคตทั้ง 3 ปี ซึ่งวัดโดยการเปลี่ยนแปลงของกำไร (ขาดทุน) สุทธิก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย แต่ค่าความนิยมจะไม่มี ความสัมพันธ์กับกระแสเงินสดในอนาคต ที่วัดด้วยการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสด จากกิจกรรม ดำเนินงานตลอด 3 ปี ดังนั้นค่าความนิยมที่เกิดขึ้นในวันรวมธุรกิจ ซึ่งทำการตัดจำหน่ายตามระยะ เวลาของผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ถือเป็นการรับรู้ผลประโยชน์ที่มิได้แสดงไว้เป็นตัวเงินตาม กระแสเงินสด เช่น การเพิ่มโอกาสทางการตลาด ศักยภาพในการผลิต เสริมสร้างกลยุทธ์ หรืออื่น ๆ โดยที่ผลประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้เกิดผลการดำเนินงานในภาพรวมผ่านรูปแบบของกำไรจากการดำเนินงานตามเกณฑ์คงค้าง