dc.contributor.advisor | พงศ์พรต ฉัตราภรณ์ | |
dc.contributor.author | ศันสนีย์ สุริยเชิดชูสกุล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | |
dc.date.accessioned | 2008-03-26T11:08:06Z | |
dc.date.available | 2008-03-26T11:08:06Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.isbn | 9741767501 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6392 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมกับผลการดำเนิน งานและกระแสเงินสดของกิจการในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้แนวคิดว่าการรวมธุรกิจจะก่อเกิดผลดีในรูปแบบต่าง ๆ แก่องค์กร โดยค่าความนิยมที่เกิดขึ้น นั้นเป็นการย้ายไปเพื่อคาดหวังถึงกำไรส่วนเกินหรือผลประโยชน์ทีคาดว่าจะได้รับในอนาคต จาก การศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยในช่วง พ.ศ. 2543-2547 พบกลุ่มตัวอย่างจำนวน 76 บริษัท คิดเป็นข้อมูลในการศึกษา 224 ข้อมูล ยกเว้น กลุ่มธุรกิจการเงิน และบริษัทที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ ออกเป็น 2 ประเภทคือ (1) สถิติเชิงพรรณนาเป็นการทดสอบข้อมูลให้อยู่ในรูปของการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติเชิงอนุมาน เป็นการทดสอบสมมติฐานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ 95%เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมกับ ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งเป็นการวัดผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับในรูปของเกณฑ์คงค้าง และเกณฑ์เงินสด ตามลำดับ โดยมีอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี อัตราส่วนแสดงสภาพหนี้ และประเภทอุตสาหกรรม เป็นตัวแปรควบคุม ผลการวิจัยพบว่าค่าความนิยมที่รับรู้และแสดงอยู่ในงบการเงิน ณ งวดปัจจุบัน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานในอนาคตทั้ง 3 ปี ซึ่งวัดโดยการเปลี่ยนแปลงของกำไร (ขาดทุน) สุทธิก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย แต่ค่าความนิยมจะไม่มี ความสัมพันธ์กับกระแสเงินสดในอนาคต ที่วัดด้วยการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสด จากกิจกรรม ดำเนินงานตลอด 3 ปี ดังนั้นค่าความนิยมที่เกิดขึ้นในวันรวมธุรกิจ ซึ่งทำการตัดจำหน่ายตามระยะ เวลาของผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ถือเป็นการรับรู้ผลประโยชน์ที่มิได้แสดงไว้เป็นตัวเงินตาม กระแสเงินสด เช่น การเพิ่มโอกาสทางการตลาด ศักยภาพในการผลิต เสริมสร้างกลยุทธ์ หรืออื่น ๆ โดยที่ผลประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้เกิดผลการดำเนินงานในภาพรวมผ่านรูปแบบของกำไรจากการดำเนินงานตามเกณฑ์คงค้าง | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to investigate the relationship between goodwill from business combination activities and future operating performance and future cash flows of the listed firms in the Stock Exchange of Thailand. Based on the concept that the business combination activities could provide some advantages for the combined firms, goodwill is a form of rewards the acquirers paid in exchange for excess profits and future benefits. The data were obtained from the secondary data sources in the period from 2000 to 2004. There were 224 firm-year observations collected from 76 listed firms, excluding firms in the financial sectors and the firms under the rehabilitation process. The statistical techniques used in this study consists of 1) the descriptive statistics{7f2014}frequency, percent, minimum, maximum, mean, and standard deviation of the sample data, and 2) the inferential statistics{7f2014}the multiple regression analysis at 95% confidence interval{7f2014}for the hypothesis testing purpose, in order to explain the relationship between goodwill and future operating performance and future cash flows. The control variables are the market to book ratio, the leverage ratio, and the types of industry sectors. The results indicate that the currently recognized goodwill presented in the financial statements is statistically related to the future operating performance, as measured by the change in the earnings before interest, tax, depreciation, and amortization expense, for the 1-year to 3-year period in the future. The results, however, suggest no significant relationship with the future cash flows, as measured by the change in the cash flows from operating activities. Goodwill from the business combination activities, therefore, bring in some forms of nom-monetary benefits as the increased market share, the production efficiency, the strategic enhancement, etc. | en |
dc.format.extent | 2056882 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | บริษัทมหาชน | en |
dc.subject | งบกระแสเงินสด | en |
dc.subject | งบการเงิน | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมกับผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | The relationship between goodwill and future operating performance and cash flows of listed firms in the stock exchange of Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fcompct@phoenix.acc.chula.ac.th |