DSpace Repository

โลกของชาวมอแกน : มองจากความรู้พื้นบ้านเกี่ยวกับทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.advisor นฤมล อรุโณทัย
dc.contributor.author พลาเดช ณ ป้อมเพชร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-02-06T03:43:27Z
dc.date.available 2020-02-06T03:43:27Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741745818
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64131
dc.description วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract ในอดีตชาวมอแกนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ดำรงวิถีชีวิตร่อนเร่ทางทะเล ใช้ชีวิตอยู่ในเรือบนเกาะและแถบ ชายฝั่งทะเลอันดามัน ความคุ้นเคยและผูกพันกับทะเลที่สืบทอดมาเป็นเวลาหลายร้อยปีทำให้ชาวมอแกนปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศทางทะเล สั่งสมความรู้พื้นบ้าน สร้างระบบคิดและระบบคุณค่าที่สอดคล้องกับธรรมชาติและส่งผลให้สังคมมอแกนอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้โดยไม่ทำลายระบบนิเวศอันละเอียดอ่อนของแนวปะการัง ป่าชายเลน และระบบนิเวศชายฝั่งทะเลโดยรวม รายงานชิ้นนี้นำเสนอความรู้และความเช้าใจในโลก ธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างชาวมอแกนกับนิเวศทางทะเล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึง “ โลก ” ของชาวมอแกนผ่านทางความรู้พื้นบ้านทางนิเวศของพวกเขาเอง รายงานนี้เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าโดยใช้วิธีสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในกลุ่มชาวมอแกน (Moken) ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ปัจจุบันหมู่เกาะสุรินทร์มีประชากรชาว มอแกนราว 150 คน หรือประมาณ 40 หลังคาเรือน ในปัจจุบันแม้ว่าชาวมอแกนจะตั้งหลักแหล่งมากขึ้น แต่ก็ยังคงใช้ชีวิตหากินอยู่กับทะเล การศึกษาพบว่า “ โลกของชาวมอแกน ” มีสภาพที่หดแคบและถูกจำกัดลงเนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปคือมีการตั้งหลักแหล่งที่ถาวรมากขึ้น การเดินทางทางทะเลจำกัดลง ความรู้พื้นบ้านด้านนิเวศทางทะเลสะท้อนให้เห็นปรากฎการณ์ของการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจาก มอแกนรุ่นใหม่หันมาพึ่งพาอุทยานแห่งชาติและอาศัยการรับจ้างทำงานรายวันในฤดูท่องเที่ยวเป็นช่องทางในการทำมาหากิน ดังนั้นจึงพบว่า “ช่องว่าง” ของความรู้พื้นบ้านขยายเพิ่มขึ้นระหว่าง มอแกนรุ่นใหม่ (อายุน้อยกว่า 25 ปี) และรุ่นเก่า (อายุมากกว่า 25 ปี) มอแกนรุ่นเก่ามีความรู้และความทรงจำที่ดีเยี่ยมเกี่ยวกับพื้นที่ทำมาหากินทั้งบนบกและในทะเล ครอบคลุมเกาะต่างๆในทะเลอันดามันหลายสิบเกาะ สามารถจำแนกแยกแยะการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางระบบนิเวศของพื้นที่ รวมทั้งยึดมั่นในความเชื่อและจารีตเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล ความรู้และความทรงจำนี้สืบทอดจากบรรพบุรุษและสั่งสมมาจากประสบการณ์ ปัจจุบันการเดินทางและทำมาหากินทางทะเลถูกจำกัดลงเนื่องจากเหตุปัจจัยหลายประการ ทำให้ความรู้พื้นบ้านด้านนิเวศทางทะเลลดความหมายและความสำคัญลง และทำให้ความรู้นี้ขาดการสืบสานต่อ ผลที่ตามมาก็คือความละเอียดอ่อนในด้านการดำรงวิถีที่สอดคล้องกับธรรมชาติก็ลดลงและอัตลักษณ์ของมอแกนที่ผูกโยงกับวิถีเร่ร่อนทางทะเลแบบตั้งเดิมก็ลดความหมายลงไปด้วยเช่นกัน en_US
dc.description.abstractalternative The Moken are ethnic group of sea nomads or sea gypsies who spend their lives in boats, on the islands and coastal regions along the Andaman Sea. Their familiarity with the sea for centuries enables the Moken to adapt their way of life with marine ecological system, to accumulate traditional knowledge, to create thinking (concept) and value systems that made the Moken lives in conjunction with nature without destroying the fragile ecological system of coral reefs, the mangrove forest and the marine coastal environment as a whole. This report aims to present the knowledge and understanding of the Moken about the world, nature and their relationship with marine ecological system, the reflection of their “world” through their traditional marine ecological knowledge. This report is the result of research using participant observation method among the Moken group living in the national park at Surin Islands,Tambon Koh Prathong, Amphur Khuraburi, Phang-nga Province. At present there are about 150 Moken people or 40 households at Surin Islands. Although they are semi-settled, the sea is still their means of subsistence. The study found that Moken’s world is smaller and restricted due to changing lifestyle with more permanent settlement. Traditional marine ecological knowledge reflects clearly “the wide gap” between young Mokens (under 25years) and older Mokens (25 years up). Young Mokens depend on modem means by making their living as daily workers at the park during high-season. While the older Mokens who inherit centuries old traditional knowledge can make differentiation in the exploitation of diversified ecological system, and closely follow the code of conduct in the extraction of marine resources. Today, as the Moken become more sedentary due to many factors, their traditional marine ecological knowledge is left insignificant and unattended resulting in regrettable discontinued of this invaluable knowledge, they may not able to maintain their sustainable way of living and thus can lose their identity as sea nomads eventually. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject มอแกน -- ไทย -- พังงา en_US
dc.subject มอแกน -- ความเป็นอยู่และประเพณี en_US
dc.subject นิเวศวิทยาทะเล en_US
dc.subject อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ en_US
dc.subject Moken (Southeast Asian people) -- Thailand -- Phang-nga en_US
dc.subject Moken (Southeast Asian people) -- Social life and customs en_US
dc.subject Marine ecology en_US
dc.subject Surin Islands National Park (Thailand) en_US
dc.title โลกของชาวมอแกน : มองจากความรู้พื้นบ้านเกี่ยวกับทะเลและพื้นที่ชายฝั่ง en_US
dc.title.alternative The world according to the Moken : reflections from traditional marine ecological knowledge en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name มานุษยวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline มานุษยวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Amara.P@chula.ac.th
dc.email.advisor Narumon.H@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record