dc.contributor.advisor |
ชมภูนุช กลิ่นวงษ์ |
|
dc.contributor.author |
มุฑิตา พิทักษณ์ตรัยรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-02-26T01:59:17Z |
|
dc.date.available |
2020-02-26T01:59:17Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64250 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
en_US |
dc.description.abstract |
กะปิ เป็นอาหารหมักพื้นเมืองที่ใช้ปรุงแต่งอาหารให้เกิดรสชาติ ส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการทำกะปิคือ กุ้งเคยกับเกลือ ซึ่งชนิดของกุ้งเคยที่นิยมนำมาทำกะปิ แบ่งออกเป็น 2 สกุล ได้แก่ สกุลอะซิเตสและสกุลมีโซโพดอพซิส งานวิจัยนี้ได้สนใจทำการจำแนกชนิดของกุ้งเคยในกะปิทั้งหมด 8 ตัวอย่าง จาก 3 แหล่ง คือ กะปิคลองโคน (จังหวัดสมุทรสงคราม) และกะปิชลบุรี (จังหวัดชลบุรี) และกะปิเทพา (จังหวัดสงขลา) โดยใช้เทคนิคดีเอ็นเอบาร์โค้ดและใช้ยีน cytochrome c oxidase subunit I (COI) ในการระบุชนิดกุ้งเคย เนื่องจากยีน COI มีความแตกต่างมากเพียงพอที่จะสามารถระบุชนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันและต่างชนิดกันออกจากกันได้ รวมถึงได้ทำการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนไขมันทั้งหมด โซเดียมคลอไรด์และโอเมก้า 3 ในกะปิด้วยวิธีมาตรฐาน AOAC จากผลการวิเคราะห์พบว่า กะปิคลองโคน (KK3) มีปริมาณโปรตีนและปริมาณไขมันทั้งหมดสูงที่สุด มีค่าเท่ากับร้อยละ 29.76 และ 3.17 ตามลำดับ กะปิเทพา (TP1) มีปริมาณโซเดียมสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 33.38 และกะปิชลบุรี (SR3) มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 0.86 เมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์แล้วพบว่า กุ้งเคยในกะปิ KK3, TP1 และ SR3 คือ Acetes japonicas จากการทดลองอาจสรุปได้ว่า เทคนิคดีเอ็นเอบาร์โค้ดมีความเหมาะสมที่จะใช้ในการระบุชนิดของกุ้งเคยอย่างรวดเร็วในผลิตภัณฑ์กะปิ และพบว่ากะปิต่างชนิดที่มี Acetes japonicas เป็ส่วนประกอบ จะให้คุณค่าทางโภชนาการในปริมาณที่ต่างกัน ซึ่งอาจเป็นผลจากปริมาณกุ้งเคยและกระบวนการในการทำกะปิที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Shrimp paste is a traditional fermented food which is used to add flavor to food. The main components in shrimp paste are krill and salt. The type of krill that can make shrimp paste is divided into 2 genera: Acetes and Mesopodopsis. This research has identified 8 samples of krill in shrimp paste from 3 sources: Klong Kone shrimp paste (Samut Songkhram province), Chonburi shrimp paste (Chonburi province), and Tepa shrimp paste (Songkhla province). By using the DNA barcoding technique and the cytochrome c oxidase subunit I (COI) gene to identify krill species, because the COI gene has a large enough difference to be able to identify the same species and different species. Including analysis of protein content, total fat, sodium chloride and omega 3 in shrimp paste with AOAC standard method. From the results, it was found that Klong Kone shrimp paste (KK3) had the highest protein and total fat which is 29.76 and 3.17 percent respectively. Tepa shrimp paste (TP1) had the highest sodium, is 33.38 percent and Chonburi shrimp paste (SR3) had the highest omega 3, is equal to 0.86 percent. The analysis of nucleotide sequences indicated that the specie of krill in shrimp paste KK3, TP1 and SR3 is Acetes japonicus. From the experiment, it may be concluded that the DNA barcode technique is appropriate to applied for rapid krill species identification in shrimp paste products and found that different types of shrimp paste containing Acetes japonicus will provide different nutrients because it may be the effect from the quantities of krill and the process of making shrimp paste differentially in each locality. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.title |
การจำแนกชนิดของกุ้งเคยสกุลอะซิเตสและสกุลมีโซโพดอพซิสในกะปิพื้นเมืองด้วยเทคนิคดีเอ็นเอบาร์โค็ด |
en_US |
dc.title.alternative |
Identification of krill genera Acetes and Mesopodopsis in Thai local shrimp paste by DNA barcoding technique |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Chompunuch.V@Chula.ac.th |
|