DSpace Repository

การเปรียบเทียบคำหลังกริยา qilai ในภาษาจีนกลางกับคำภาษาไทยในลักษณะเดียวกัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประพิณ มโนมัยวิบูลย์
dc.contributor.author ศศรักษ์ เพชรเชิดชู
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-02-29T04:11:53Z
dc.date.available 2020-02-29T04:11:53Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743340521
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64267
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 en_US
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบคำหลังกริยา qilai ในภาษาจีนกลางกับคำภาษาไทยในลักษณะเดียวกัน และเพื่อศึกษารูปแบบการใช้คำหลังกริยา qilai ในโครงสร้างประโยคต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า คำหลังกริยา qilai ควรแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ คำหลังกริยา qilai1คำหลังกริยา qilai2 และคำหลังกริยา qilai3 ตามความหมายที่เพิ่มให้กับคำกริยาที่อยู่ข้างหน้าคำหลังกริยา qilai1 สามารถเพิ่มความหมายที่หลากหลายให้กับคำกริยาที่เกิดข้างหน้า เพื่อแสดงการเกิดขึ้นของการเปลี่ยนแปลง คำหลังกริยา qilai1 สามารถเทียบได้กับคำว่า ขึ้น ขึ้นมา ไว้ และคำอื่นๆ ในภาษาไทย คำหลังกริยา qilai2 ทำหน้าที่เสมือนคำช่วยกริยาบ่งกาลแสดงการเกิดขึ้นและดำเนินต่อไปซึ่งจะสามารถเทียบได้กับคำว่า ขึ้น ขึ้นมา และเริ่ม แต่ในบางครั้งก็ไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทยใดๆเมื่อถอดความเป็นภาษาไทย คำหลังกริยา qilai3 แสดงการสมมติ คาดคะเน ซึ่งสามารถถอดคำเป็นสำนวนแสดงการสมมติในภาษาไทยได้หลากหลาย เช่น ถ้า...แล้ว เมื่อ...เวลาที่...และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับบริบท en_US
dc.description.abstractalternative This is a study to compare the post-verbal ‘qilai’in Mandarin Chinese with its Thai equivalents and to analyze various kinds of sentences consisting of the post-verbal ‘qilai’. It is found that the post-verbal ‘qilai’ can be classified into three major types : qilail, qilai2 and qilai3, depending on the meaning it adds to the preceding verbs. Firstly, qilail can add variety of meanings to the preceding verbs to show the occurrance of the changes. Qilail can translate into Thai by these kinds of words: /khŵn/, /khŵnma:/, /wáj/, and others. Secondly. qilai2 marks the inchoative or ingressive aspect and may be translate into Thai by using these kinds of words: /khŵn/, /khŵnma:/, and / ɤ̂r:m/ but in some places does not need to be translated into any Thai words. Finally, qilai3 may be used to show expressions of supposition which can be translated into many Thai expressions, like /thâ:....lέ:w/, /muiâ.../, /we:la:thi:.../ and others depending on the context. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.247
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ en_US
dc.subject ภาษาจีน -- คำกริยา en_US
dc.subject ภาษาจีน -- การใช้ภาษา en_US
dc.subject Comparative linguistics
dc.subject Chinese language -- Verb
dc.subject Chinese language -- Usage
dc.title การเปรียบเทียบคำหลังกริยา qilai ในภาษาจีนกลางกับคำภาษาไทยในลักษณะเดียวกัน en_US
dc.title.alternative A comparison of the post-verbal 'qulai' in Mandarin Chinese and its Thai equivalents en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาจีน en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor prapin.m@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1999.247


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record