DSpace Repository

การจัดการทุนทางสังคมในชุมชนเมือง : ศึกษากรณีเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์บางซื่อพัฒนา

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.author กนกรัตน์ กิตติวิวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-02T03:10:37Z
dc.date.available 2020-03-02T03:10:37Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741300875
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64270
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
dc.description.abstract งานศึกษาวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาเรื่อง ทุนทางสังคมของชุมชนเมืองในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยได้ทำการศึกษาผ่านโครงการเพื่อการลงทุน ทางสังคม ในด้านการส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชน เนื่องจากกลุ่มคนจนเมืองเหล่านี้มักเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาศและหลุดลอดตาข่ายสวัสดิการภาครัฐเสมอมา โดยกำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1.เพื่อศึกษาทุนทางสังคมในมิติของความสัมพันธ์ของสมาชิก ในชุมชนแออัดการผูกโยงกันด้วยความสัมพันธ์และพื้นฐานความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน 2. เพื่อศึกษากระบวนการทำงานในรูปองค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชนภายใต้กิจกรรมการลงทุนเพื่อสังคมว่านำไปสู่การเพิ่มทุนทางสังคม 3. เพื่อศึกษาลักษณะของทุนทางสังคมนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ในการศึกษาได้ใช้แนวคิด 3 แนวคิด คือ 1. แนวคิดเรื่องทุนทางสังคม 2. แนวคิดเรื่องชุมชนเข้มแข็งและ 3. แนวคิดเรื่องเครือข่ายสังคม โดยเลือกศึกษากรณีเครือข่ายกลุ่ม ออมทรัพย์บางซื่อพัฒนา ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มออมทรัพย์จำนวน 14 กลุ่ม จากนั้น เลือกศึกษาเจาะลึกเพียง 1 ชุมชน คือ ชุมชนพระรามหก ผลการศึกษา พบว่า การมีเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม ที่สมาชิกมีความสัมพันธ์เชิงซ้อนต่อกันนั้นนับเป็นต้นทุนทางสังคมที่สำคัญของชาวชุมชนเมือง โดยผ่านการตอบแทนและการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตลอดทั้งกระบวนการเกื้อกูลกันและกัน ด้วยความสัมพันธ์เช่นนี้ทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่รอดได้ในสภาวะที่ฝืดเคือง นอกจากนี้การมีค่านิยมร่วมกันในเรื่องการมีเครดิตที่ดีหรือการเป็นผู้นำเชื่อถือนั้น มีส่วนอย่างสำคัญในการเกื้อหนุนกองทุนสวัสดิการในชุมชน สำหรับการศึกษากระบวนการทำงานระดับองค์กรเครือข่าย พบว่า วิธีการดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิด เฉพาะผลด้านบวกในความหมายของการเพิ่มทุนทางสังคม หรือทำให้ชาวบ้านมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นขึ้นเท่านั้น หากแต่การเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันอาจเกิดผลด้านลบต่อองค์กรหรือต่อความสัมพันธ์ของสมาชิกได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งกลุ่มพวกพ้อง หรือความหวาดระแวงระหว่างสมาชิก ซึ่งลักษณะดังกล่าวถือเป็นข้อจำกัดในการพัฒนากลุ่มที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีผลอย่างสำคัญในการพัฒนาองค์กรชาวบ้านให้เติบโตและเข้มแข็งต่อไป
dc.description.abstractalternative This research aims at studying social impact of the economic crisis in terms of social capital in urban communities through Social Investment Fund (SIF): Menu 5 emergency community welfare for the vulnerable groups. The poor in urban communities usually lack opportunities and do not have access to government welfare programs. The objectives of the research are: 1. To study effects of social capital in the form of people's relation in slums and mutual help in community activities among people. 2. To study community organization and community network and how SIF leads to the increase of social capital. 3 To study the characteristics of social capital that brings about community empowerment. Three main concepts of the research are: 1. social capital 2. Community empowerment and 3. social network. A ca se study of Bang Sue Pattana Savings Group Network, formed by 14 saving groups, is chosen for the study and Rama VI Community is selected as ca se study. Research findings indicate that social network is com posed of pluralistic relationship among community members. These relationship are essential social capital for members in urban communities which can be seen in exchange in mutual system. With this type of relationship, community members can survive crisis. Moreover, since community members value good credits and trust 1 these values function in supporting welfare funds in the community. At the network level, while cooperation among members can be observed as positive impact, factions and conflicts are seen as negative impact.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ทุนทางสังคม -- ไทย
dc.subject เครือข่ายสังคม -- ไทย
dc.subject กองทุน -- ไทย
dc.subject ชุมชนเมือง -- ไทย
dc.subject องค์กรชุมชน
dc.subject การพัฒนาชุมชน -- ไทย
dc.title การจัดการทุนทางสังคมในชุมชนเมือง : ศึกษากรณีเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์บางซื่อพัฒนา
dc.title.alternative The management of social capital in urban communities : a case study of Bang Sue Pattana Savings group network
dc.type Thesis
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สังคมวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record