dc.contributor.advisor |
ธรรมนูญ หนูจักร |
|
dc.contributor.author |
ศศิวิมล ภู่ศรี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-03-12T07:59:43Z |
|
dc.date.available |
2020-03-12T07:59:43Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64344 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
en_US |
dc.description.abstract |
ได้พิสูจน์ทราบเอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในพริกแกงเหลืองและส่วนประกอบย่อยของพริกแกงเหลือง โดยประยุกต์ใช้เทคนิคเทคนิคเฮดสเปซโซลิดเฟส ไมโครเอกซ์แทรกชัน (HS-SPME) ร่วมกับแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี (GC-MS) ซึ่งใช้คอลัมน์คะปิลารีประเภท HP-5MS (30m × 0.25mm × 0.25 μm) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมตัวอย่างด้วย HS-SPME คือ สกัดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการสกัด 60 นาที จากนั้นสารที่ถูกสกัดมาได้จะถูกปลดปล่อยในส่วนฉีดสารที่อุณหภูมิ 250 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที โปรแกรมอุณหภูมิเตาอบของเครื่อง GC คือเริ่มต้นที่ 50 องศาเซลเซียส ถึง 200 องศาเซลเซียส ที่อัตรา 3 องศาเซลเซียสต่อนาที จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิจนถึง 250 องศาเซสเซียส ที่อัตรา 50 องศาเซสเซียสต่อนาที และคงที่อุณหภูมิสุดท้ายไว้ 2 นาที ซึ่งระบุเอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายสำคัญได้ 131 สาร ได้แก่แอลกอฮอล์ แอลดีไฮด์ คีโตน เอสเทอร์ อีเทอร์ สารประกอบซัลเฟอร์ และไฮโดรคาร์บอน จากการเปรียบเทียบกับแมสสเปกตรัมและยืนยันด้วยค่า linear retention index (LRI) ของสารกับฐานข้อมูล NIST17 ซึ่งสารระเหยง่ายหลักของแกงเหลืองมาจากกระเทียมและขมิ้น จากการจัดกลุ่มข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) สามารถจำแนกกลุ่มของพริกแกงเหลืองที่ศึกษาได้เป็น 3 กลุ่มซึ่งกระจายตัวในบริเวณที่แตกต่างกันของ PCA พล็อต ดังนั้นจึงบ่งชี้ได้ว่าสามารถใช้วิธี HS-SPME-GC-MS ร่วมกับเคโมเมทริกซ์ในการ ระบุสารระเหยง่าย และพิสูจน์เปรียบเทียบพริกแกงเหลืองจากต่างแหล่งที่มาได้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Volatile compounds in yellow curry paste and the individual ingredients were identified by headspace solid phase microextraction (HS-SPME) combined with gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) using a capillary column of HP-5MS (30 m × 0.25 mm × 0.25 μm). HS-SPME was performed using extraction temperature of 60 °C for 60 minutes. The extracted compounds were then desorbed at the GC inlet at 250 °C for 5 min. The GC oven temperature was programmed from 50 to 200 °C at 3 °C/min and then from 200 °C to 250 °C at 50 °C/min and hold at 250 °C for 2 min. 131 volatile compounds were identified including alcohols, aldehydes, ketones, esters, ethers, sulfur compounds and hydrocarbons by comparing their mass spectra and linear retention indices (LRI) with those from the NIST17 database. The main compounds detected in yellow curry paste were the constituents of the garlic and turmeric. By using principal component analysis (PCA), all the yellow curry pastes were classified into three groups within different regions in the PCA plots. This indicates that HS-SPME-GC-MS combined with chemometrics can be used to determine the volatile compounds and differentiate yellow curry pastes from different sources. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.title |
การพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในแกงเหลืองโดยใช้เทคนิคเฮดสเปซโซลิดเฟส ไมโครเอกซ์แทรกชัน-แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี |
en_US |
dc.title.alternative |
Characterization of volatile compounds in yellow curry by headspace solid phase microextraction–gas chromatography–mass spectrometry |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Thumnoon.N@Chula.ac.th |
|